การคำนวณปริมาณพลังงานในอาหารสัตว์
สาเหตุที่ปริมาณพลังงานในอาหารสัตว์มีความสำคัญเป็นเพราะ...
เผยแพร่แล้ว 20/11/2021
สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Español และ English
เส้นใยอาหาร (dietary fiber) ได้รับความสนใจจากนักโภชนาการและสัตวแพทย์มานานหลายปีในฐานะส่วนประกอบของอาหารและอาหารเสริมโดยถูกนำมาใช้เพื่อปรับสภาพของอุจจาระและช่วยในการควบคุมน้ำหนัก จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่าเส้นใยอาหารยังส่งผลต่อเชื้อจุลชีพในอาศัยในทางเดินอาหาร (gastrointestinal microbiome) ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆอีกด้วย (แปลโดน น.สพ. พีระ มานิตยกุล
การจะระบุว่าสารใดคือเส้นเส้นใยอาหารนั้นทำได้ยากแต่มักจะจัดเอาตามคุณสมบัติเช่น ความสามารถในการละลายน้ำ ความหนืด และความสามารถในการถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร อาหารแมวสำเร็จรูปในท้องตลาดมักประกอบด้วยเส้นใยอาหารสองชนิดขึ้นไป
เส้นใยอาหารชนิดที่ถูกย่อยสลายได้ช้าเช่นเซลลูโลสสามารถเพิ่มปริมาณอาหารภายในทางเดินอาหารได้โดยที่ไม่เกิดพลังงานส่วนเกิน
การศึกษาเพิ่มเติมพบว่าประโยชน์ของเส้นใยอาหารต่อแมวที่เป็นเบาหวานยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่แนะนำให้อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและเส้นใยอาหารปริมาณต่ำ
คำแนะนำด้านโภชนาการในการรักษาอาการท้องผูกมีความหลากหลายมาก มีทั้งแนะนำให้อาหารที่ย่อยง่ายและมีเส้นใยอาหารต่ำในขณะที่อีกด้านหนึ่งแนะนำให้อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงหรือมีการเสริมใยอาหาร
เส้นใยอาหารมักถูกจำแนกตามคุณสมบัติเช่น การละลายน้ำได้ ความหนืดและการถูกย่อยสลายในลำไส้ ในตารางที่ 1 ได้ รวบรวมคุณสมบัติของเส้นใยอาหารที่พบได้บ่อยในอาหารสัตว์ การที่จะระบุผลของเส้นใยอาหารจากแต่ละแหล่งต่อสุขภาพสัตว์นั้นทำได้ยากและอาหารแมวสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายมักประกอบไปด้วยเส้นใยอาหารสองชนิดขึ้นไป ยกตัวอย่างเช่นเส้นใยอาหารที่ถูกย่อยสลายได้ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของแบคทีเรียในทางเดินอาหารส่วนล่างทำให้เกิดการสร้างกรดไขมันสายสั้น 3 กรดไขมันเหล่านี้จะถูกดูดซึมส่งผลต่อโครงสร้างและการทำงานของเซลล์ลำไส้ เส้นใยอาหารที่ถูกย่อยสลายไม่ได้จะเพิ่มมวลและปริมาตรของอุจจาระทั้งยังลดระยะเวลาที่อุจจาระผ่านลำไส้ 3 เส้นใยอาหารที่มีความหนืดสูงมักเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของอุจจาระทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น มีความเป็นไปได้สูงที่ชนิดและปริมาณของเส้นใยอาหารที่หลากหลายจะส่งผลต่อประชากรจุลชีพในทางเดินอาหารแต่ว่าการศึกษาเกี่ยวกับไมโครไบโอมยังอยู่ในระยะแรกเริ่ม 4 รูปที่ 1แสดงการละลายน้ำได้และความหนืดของเส้นใยอาหารแต่ละชนิด ตารางที่ 1 แสดงคุณสมบัติของเส้นใยอาหารที่นิยมใช้ในอาหารสัตว์
แหล่ง/ชนิดเส้นใยอาหาร | ความสามารถในการละลายน้ำ | ความหนืด | ความสามารถในการถูกหมัก/ย่อยสลายโดยแบคทีเรียในทางเดินอาหาร |
---|---|---|---|
Beet pulp | Low | Low | Moderate |
Bran | Low | Low | Moderate |
Cellulose | Low | Low | Low |
Guar gum | High | High | High |
Pectin | High | High | High |
Psyllium | Moderate | High | Moderate |
Soybean hulls | Low | Low | Low |
โรคอ้วนเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทางสัตวแพทย์ในทวีปอเมริกาเหนือ มีการประมาณว่าร้อยละ 35.1 ของแมวที่โตเต็มวัยจะมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน 5 (รูปที่ 2) โรคอ้วนเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดโรคอื่นตามมาเช่นเบาหวาน โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเกี่ยวกับกระดูก และความผิดปกติของผิวหนัง
เส้นใยอาหารได้ถูกนำมาใช้เพื่อการควบคุมน้ำหนักทั้งในสุนัขและแมว เส้นใยชนิดที่ถูกย่อยสลายได้ช้าเช่นเซลลูโลส หรือ เปลือกถั่วลิสงพบว่าสามารถเพิ่มปริมาตรของอาหารในทางเดินอาหารได้ดีโดยไม่ทำให้ปริมาณพลังงานที่ได้จากอาหารเพิ่มขึ้น การเพิ่มใยอาหารในอาหารสำเร็จรูปจะเป็นประโยชน์ในการลดพลังงานจากอาหารที่สัตว์กินเข้าไป การใช้ใยอาหารหลายชนิดผสมกันยังมีส่วนช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารขยายซึ่งจะกระตุ้นความอิ่มผ่านสารสื่อ cholecystokinin กระเพาะอาหารใช้เวลาในการบีบตัวนานขึ้น เพิ่มระยะเวลาที่อาหารอยู่ในลำไส้ 6 ผลของเส้นในอาหารที่มีต่อการกินอาหารในแมวยังไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจนแต่คาดว่าอาหารที่มีใยอาหารผสมอยู่ด้วยอาจลดการกินที่มากเกินไปทำให้ป้องกันการเกิดโรคอ้วนในแมวได้ 7
พฤติกรรมการขออาหารจากเจ้าของมีส่วนทำให้เจ้าของใจอ่อนและทำให้การลดความอ้วนไม่ประสบความสำเร็จ มีแนวคิดว่าการให้อาหารสำเร็จรูปที่มีการเสริมเส้นใยอาหารจะช่วยให้อิ่มมากขึ้นจนถึงจุดที่ลดพฤติกรรมการขออาหารได้ ในการศึกษาเพื่อประเมินวิธีการลดความอ้วนในแมวที่เป็นโรคอ้วนพบว่าแมวมีพฤติกรรมการขออาหารลดลง (สังเกตจากพฤติกรรมการส่งเสียงร้องและการเข้าหาเจ้าของ) เมื่อให้อาหารที่ประกอบด้วยเส้นใยอาหารชนิดที่จับกับน้ำได้ดีเทียบกับการให้อาหารที่มีเส้นใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำเป็นหลัก ดังนั้นทั้งปริมาณและชนิดของเส้นใยอาหารจึงมีผลต่อความอิ่มของสัตว์
ถึงแม้ว่าการเสริมเส้นใยอาหารจะมีส่วนช่วยในการคุมน้ำหนักของแมวได้ แต่พึงระวังว่าการเสริมเส้นใยอาหารสามารถลดการดูดซึมโปรตีนได้ด้วย อาหารเพื่อการลดน้ำหนักจึงต้องชดเชยจุดนี้โดยการเพิ่มปริมาณโปรตีนในอาหาร นอกจากนี้สัดส่วนของเส้นในอาหารที่ถูกย่อยได้ช้าและเร็วยังมีความสำคัญเพราะหากมีเส้นใยอาหารชนิดที่ถูกย่อยได้เร็วปริมาณมากพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการอิ่มอาจพบผลข้างเคียงเช่นท้องอืดและถ่ายเหลว 9 โดยรวมแล้วถึงแม้จะยังมีข้อมูลไม่มากนักในแมวและมีผลข้างเคียงบางประการ การเติมเส้นใยอาหารลงในอาหารสำเร็จรูปอาจเป็นประโยชน์ในการลดน้ำหนักในสัตว์ที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน
การใช้โภชนบำบัดเพื่อจัดการภาวะท้องผูกมีหลากหลายรูปแบบ ผู้ทำการศึกษาบางคนแนะนำให้ใช้อาหารที่ย่อยได้ง่าย มีปริมาณเส้นใยอาหารต่ำ ในขณะที่บางคนแนะนำให้ใช้อาหารที่มีปริมาณเส้นใยอาหารสูงหรือใช้เส้นใยอาหารเป็นอาหารเสริม 17 เส้นใยอาหารแต่ละชนิดรวมถึงปริมาณที่ใช้จะส่งผลต่อการทำงานของลำไส้ใหญ่แตกต่างกันไป เซลลูโลสซึ่งถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียได้ยากจะทำหน้าที่ยาระบายโดยการทำให้อุจจาระจับตัวเป็นก้อน ทำให้ช่องว่างในลำไส้ขยายขนาด และทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวในลำไส้ได้เร็วขึ้น 17 อย่างไรก็ตามชนิดและความยาวของเซลลูโลสส่งผลต่อเนื้อของอุจจาระ 18 ใยอาหารชนิดอื่นเช่น psyllium จะก่อให้เกิดลักษณะเจลเหนียวจากการที่สามารถเข้าจับกับน้ำได้ดีซึ่งช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านในลำไส้ได้ดีขึ้น อาหารที่ถูกย่อยและดูดซึมได้ง่าย มีปริมาณใยอาหารต่ำจะทำให้ปริมาณอุจจาระลดลงแต่ไม่ได้ส่งผลกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้หรือการเคลื่อนผ่านของอุจจาระในลำไส้ 17 การขาดน้ำเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะท้องผูก การให้อาหารกระป๋องจะทำให้สัตว์ได้รับน้ำมากขึ้นร่วมกับการป้อนน้ำหากจำเป็น อย่างไรก็ตามอาหารกระป๋องมีชนิดและปริมาณของใยอาหารแตกต่างกันและอาจไม่เหมาะสมกับแมวทุกตัวที่มีภาวะท้องผูก
มีการศึกษาเพียงชื้นเดียวที่ติดตามผลของอาหารสำเร็จรูปในแมวที่มีภาวะท้องผูก 19 การศึกษานี้เป็นการติดตามทางคลินิกโดยไม่มีกลุ่มควบคุม แมวที่มีภาวะท้องผูกจำนวน 66 ตัวได้รับอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดที่มีปริมาณใยอาหารพอเหมาะโดยมี psyllium เป็นใยอาหารที่มีปริมาณมากที่สุด และยังมีใยอาหารจากแหล่งอื่นเช่น chicory fructo-oligosaccharides mannan-oligosaccharides ข้าว และข้าวโพด ทำการประเมินลักษณะของอุจจจาระและอาการทางคลินิกที่แสดงออกโดยการสังเกตจากเจ้าของและสัตวแพทย์ พบว่ามีแมว 56 ตัวที่อยู่จนจบการทดลองและทุกตัวกินอาหารที่กำหนดโดยมีลักษณะอุจจาระที่ดีขึ้น แมวเกือบทุกตัวที่ได้รับยาเพื่อรักษาภาวะท้องผูกสามารถลดหรือหยุดยาได้ ถึงแม้จะไม่มีกลุ่มควบคุมในการศึกษานี้แต่ผลการศึกษาที่เป็นไปในทางที่ดีสนับสนุนให้ใช้อาหารที่อุดมด้วย psyllium เป็นทางเลือกในการจัดการแมวที่มีภาวะท้องผูกหรือท้องผูกเรื้อรัง 19
อาหารสำเร็จรูปสำหรับควบคุมก้อนขนมีวางจำหน่ายโดยมีความหลากหลายของชนิดและปริมาณเส้นใยอาหารที่ใส่ลงไป จากการสำรวจอาหารแมวที่อ้างว่าสามารถปริมาณลดก้อนขนทั้งชนิดแห้งและเปียกที่มีจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีความหลากหลายในชนิดของเส้นใยอาหารที่นำมาใช้ตั้งแต่ ผงเซลลูโลส dried beet pulp soybean hulls dried chicory root rice hulls rice bran pea bran meal pea fiber oat fiber inulin และ psyllium ผลการทดลองที่ตีพิมพ์ยังมีไม่มาก มีการทดลองแบบ crossover โดยเปรียบเทียบการให้อาหารปกติและอาหารที่มีการเพิ่มใยอาหารลงไปในแมวจำนวน 102 ตัวในระยะเวลา 2 เดือนขึ้นไปพบว่าแมวมีก้อนขนลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 21.5 และความถี่ในการอาเจียนลดลงร้อยละ 21.8 24 อีกการทดลองหนึ่งศึกษาการขับเส้นขนออกมากับอุจจาระในแมวสุขภาพดีจำนวน 16 ตัว ที่ได้รับอาหารอาหารแห้งสองชนิด ชนิดแรกมีปริมาณเส้นใยอาหารปานกลาง (ร้อยละ 6.9) และอีกชนิดมีปริมาณเส้นใยอาหารสูง (ร้อยละ 14.2) 25 หลังจาก 3 สัปดาห์พบว่าแมวที่กินอาหารที่มีปริมาณใยอาหารสูงจะมีการขับเส้นขนออกมากับอุจจาระคิดเป็นปริมาณเฉลี่ยสองเท่าเมื่อเทียบกับแมวกลุ่มที่กินอาหารที่มีปริมาณใยอาหารปานกลาง จากผลการทดลองนี้ทำให้สรุปได้ว่าปริมาณหรือชนิดของเส้นใยอาหาร (psyllium และ เซลลูโลส) ในอาหารที่มีปริมาณเส้นใยอาหารสูงจะช่วยให้เส้นขนผ่านทางเดินอาหารออกมากับอุจจาระได้ง่ายขึ้นและอาจช่วยลดการอาเจียนหรือสำรอกก้อนขนได้
ปริมาณและชนิดของเส้นใยอาหารในอาหารส่งผลต่อทั้งสุขภาพและการทำงานของลำไส้ ทำให้มีประโยชน์ในการรักษาโรคหลายอย่าง การศึกษาเพิ่มเติมจะช่วยให้ระบุผลของอาหารบางชนิดและการเสริมเส้นใยอาหารในแมวได้
Cho SS, Almeida N (eds). Dietary fiber and health. Boca Raton, FL: CRC Press, 2012;219-239.
2014 Official Publication. Association of American Feed Control Officials Incorporated:346.
Case LP, Daristotle L, Hayek MG, et al. Canine and feline nutrition. 3rd ed. Maryland Heights, MO: Mosby Elsevier, 2011;13-16.
Gross KL, Yamka RM, Khoo C, et al. Macronutrients, in: Hand MS, Thatcher CD, Remillard RL, Roudebush P (eds). Small animal clinical nutrition. 5th ed. Topeka, KS: Mark Morris Institute, 2010;49-105.
Zicker SC, Ford RB, Nelson RW, et al. Endocrine and lipid disorders, in: Hand MS, Thatcher CD, Remillard RL, et al (eds). Small animal clinical nutrition. 4th ed. Topeka, KS: Mark Morris Institute, 2000;855.
Davenport DJ, Remillard RL, Carroll M. Constipation/obstipation/megacolon, in: Hand MS, Thatcher CD, Remillard RL, et al (eds). Small animal clinical nutrition. 5th ed. Topeka, KS: Mark Morris Institute, 2010;1120-1123.
Hoffman LA, Tetrick MA. Added dietary fiber reduces feline hairball frequency. In Proceedings. 21st Annual ACVIM Forum, 2003;431.
Tournier C. Validation d’une stratégie alimentaire innovante pour stimuler l’élimination fécale des poils ingérés par les chats. In Proceedings. 9th ESVCN Congress, 2005.
Allison Wara
ดร. วราจบการศึกษาจากวิทยาลัยสัตวแพทย์แอตแลนติกในปรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ประเทศแคนาดาในปี 2010 อ่านเพิ่มเติม
Craig Datz
Dr. Datz is a 1987 graduate of the Virginia-Maryland Regional College of Veterinary Medicine. อ่านเพิ่มเติม
สาเหตุที่ปริมาณพลังงานในอาหารสัตว์มีความสำคัญเป็นเพราะ...
โรคอ้วนเป็นภาวะทุพโภชนาการที่สำคัญในสุนัขและแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยง มีรายงานว่า...