วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 29.1 พฤติกรรม

ของเล่นฝึกหาอาหารสำหรับแมว

เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

เขียนโดย Ingrid Johnson

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Português , Español , English และ 한국어

แมวจำนวนมากได้รับอาหารโดยวิธีการและจำนวนมื้อที่กำหนดตามความสะดวกเจ้าของซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดจากธรรมชาติของแมว ของเล่นที่ช่วยฝึกการหาอาหารสามารถใช้ได้กับสภาพการเลี้ยงดูในบ้านเกือบทุกรูปแบบ เพิ่มการกระตุ้นทางร่างกายและจิตใจของแมวได้เป็นอย่างดีตามที่ Ingrid Johnson ได้กล่าวไว้ (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

Feline feeding toys

ประเด็นสำคัญ

แมวเกิดมาเพื่อเป็นนักล่าและการให้ของเล่นที่ฝึกการหาอาหารเป็นการเติมเต็มสภาพแวดล้อมและเลียนแบบรูปแบบการหาอาหารตามธรรมชาติของมัน


มีของเล่นมากมายที่สามารถนำมาใช้ฝึกฝนการหาอาหารได้ แต่ควรให้แมวค่อยๆคุ้นเคยกับแนวคิดของการหาอาหารผ่านของเล่น


บทนำ

การเติมเต็มแมวด้วยการให้โอกาสในการพยายามหาอาหารเสมือนในธรรมชาติมักถูกมองข้าม โดยเฉพาะแมวที่เลี้ยงในบ้านมักได้รับอาหารแห้งที่เทใส่ชามไว้จนเต็ม หรือให้อาหารวันละสองครั้งแบบที่เจ้าของส่วนใหญ่ปฏิบัติ มีโอกาสนำไปสู่ความหงุดหงิดและทำให้แมวมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมตามมา การเล่นหาอาหารจึงเป็นทางสายกลางระหว่างการให้กินอาหารเต็มที่และการให้อาหารเพียงวันละสองครั้ง ความเบื่อหน่าย ความหงุดหงิด และความเครียดจากสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่ทำให้แมวมีปํญหาด้านพฤติกรรม การหาอาหารทำให้แมวมีกิจกรรมทำในระหว่างวัน ถือเป็นความข้องใจเชิงบวกโดยการให้แมวแก้ไขปัญหาเพื่อที่จะได้รับอาหาร 1 พฤติกรรมนี้จะเติมเต็มตัวมันเองโดยที่แมวจะได้รับอาหารเมื่อมันสามารถไขปัญหาได้

ความต้องการทางโภชนาการและลักษณะการกิน

ก่อนที่เริ่มให้ของเล่นเพื่อฝึกการหาอาหาร เราต้องเข้าใจการกินของแมวก่อน แมวเป็นสัตว์กินเนื้อ กินอาหารคำเล็ก แบ่งออกเป็นมื้อย่อย 9-16 มื้อต่อวัน ปริมาณเท่าๆกัน 2 มีหลักฐานว่าแมวที่ได้รับอาหารแบบวางให้กินมีโอกาสที่จะไม่เชื่อฟังและดุมากกว่าแมวที่ได้เลือกกินอย่างอิสระ 2

แมวไม่กินอาหารร่วมกันแบบครอบครัวแต่จะหาอาหารและกินตัวเดียวถึงแม้จะเป็นสัตว์สังคมที่อาศัยร่วมกันเป็นฝูง 2 แมวบ้านแตกต่างกับแมวใหญ่อย่างสิงโต โดยจะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กซึ่งไม่เหมาะกับการแบ่งกันกิน แมวยังชอบที่จะควบคุมทรัพยากรและความต้องการพื้นฐานของตัวเอง เจ้าของมักพรากการควบคุมนี้ไปโดยไม่ตั้งใจ ทำให้แมวเกิดความเครียด การให้

แมวได้มีอิสระในการเข้าถึงอาหาร น้ำ บริเวณขับถ่าย และที่นอนอันปลอดภัยคือกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีของแมวรวมถึงสุขภาพจิตด้วย สิ่งที่ต้องทำคือให้แมวได้กินโดยใช้ความพยายาม นี่คือจุดที่จะนำของเล่นเพื่อฝึกการหาอาหารมาใช้

เริ่มต้น

ของเล่นเพื่อการฝึกควรเริ่มจากแบบง่ายก่อน แมวจะต้องเรียนรู้การเล่นและรางวัลที่จะได้รับ ของเล่นเพื่อการฝึกหาอาหารแบ่งออกเป็นสองชนิดคือแบบกลิ้งได้และแบบอยู่กับที่ เจ้าของสามารถซื้อหรือทำขึ้นใช้เองภายในบ้าน และอาจออกแบบให้ใช้กับอาหารแห้งหรือเปียก (รูป 1a,1b) หรืออาจใช้ได้กับทั้งสองชนิดเลยก็ได้ แต่ของเล่นที่ใช้กับอาหารเปียกอาจจะต้องมีการเสริมสิ่งอื่นเข้าไปเพื่อที่จะใช้งานได้ดี จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่าของเล่นแบบกลมจะมีความท้าทายมากกว่าแบบอยู่นิ่งกับที่แต่อาจแตกต่างกันไปในแมวแต่ละตัว หากต้องการให้แมวลดน้ำหนัก ควรใช้ของเล่นแบบกลมที่เคลื่อนที่ไปมาเพื่อให้แมวได้ใช้แรงมากขึ้น พยามกระตุ้นให้แมวหาอาหารจากของเล่นทั้งสองชนิดเพื่อเพิ่มความหลากหลาย และกระตุ้นการทำงานของสมองได้มากขึ้น
A commercially produced stationary puzzle that can be used for wet or dry cat food.

รูป 1a ของเล่นแบบนิ่งอยู่กับที่ซึ่งวางขายในท้องตลาดสามารถใช้ได้กับอาหารแห้งและเปียก © Ingrid Johnson

A commercially produced toy designed to hold a small amount of kibble with a fake mouse outer “skin”. This type of toy allows the cat to see the food but requires a degree of manual dexterity to manipulate the toy to enable the kibble to drop out.

รูป 1b ของเล่นที่ถูกผลิตขึ้นมาให้ใส่ของขบเคี้ยวไว้ด้านในโดยผิวสัมผัสด้านนอกจะคล้ายกับหนู แมวสามารถมองเห็นอาหารที่อยู่ด้านในแต่ต้องใช้ทักษะที่จะบังคับของเล่นให้อาหารหลุดออกมา © Ingrid Johnson

ของเล่นแบบอยู่กับที่จะง่ายที่สุดสำหรับมือใหม่ อาจใช้ถาดทำน้ำแข็งที่ไม่ใช่แล้วหรือพิมพ์อบขนมที่แมวสามารถเอาอุ้งเท้าล้วงอาหารออกมาได้ (รูป 2 ) ของเล่นชนิดนี้จำเป็นอย่างมากสำหรับแมวที่มีความลำบากในการเล่นกับของเล่นแบบกลิ้งได้

An ice-cube tray can be used as a very simple “stationary” puzzle for beginners.

รูป 2 ถาดทำน้ำแข็งสามารถใช้เป็นของเล่นชนิดอยู่นิ่งกับที่อย่างง่ายสำหรับมือใหม่ © Ingrid Johnson

กรณีที่ใช้ของเล่นที่กลิ้งได้ ควรเริ่มจากวัสดุที่โปร่งใสเพื่อที่แมวสามารถมองเห็น ดมกลิ่น และได้ยินเสียงอาหารที่อยู่ด้านใน (รูป 3) ของเล่นทรงกลมจะง่ายที่สุดสำหรับมือใหม่เพราะกลิ้งง่ายและไม่น่าหงุดหงิดสำหรับแมว ของเล่นควรมีรูหลายตำแหน่ง อย่างน้อย 3 รู สำหรับมือใหม่ เพื่อที่อาหารจะได้ออกมาโดยง่าย 3 แมวที่เคยได้รับอาหารจากการวางเป็นเวลา อาจทำความคุ้นเคยกับการหาอาหารได้รวดเร็วจนสามารถเปลี่ยนไปใช้ของเล่นที่มีเพียง 1 หรือ 2 รูได้แทบจะทันที

A commercially produced semi-transparent rolling puzzle. The cat can visualize the food, which is dispensed through three holes. Oval-shaped toys will roll eccentrically and can be more challenging for a cat to master. Further complexity can be introduced by using one toy inside another.

รูป 3 ของเล่นที่ผลิตมาแบบกึ่งโปร่งใส แมวสามารถมองเห็นอาหารซึ่งจะออกมาจากรูได้ 3 รู ของเล่นรูปไข่จะกลิ้งไปทางใดทางหนึ่งมากกว่าและแมวต้องใช้ความพยามยามมากขึ้นในการแก้ไขปัญหา สามารถเพิ่มความซับซ้อนขึ้นไปอีกโดยการใส่ของเล่นเข้าไปในอีกชิ้น © Ingrid Johnson

ควรใส่อาหารเข้าไปในของเล่นชนิดกลิ้งได้ประมาณ ½ หรือ ¾ ของปริมาตรทั้งหมด เพราะอาหารที่น้อยเกินไปอาจยากจนทำให้แมวหงุดหงิด เริ่มต้นโดยการโปรยอาหารเล็กน้อยไว้รอบๆของเล่น เมื่อแมวเดินมากิน อาจไปขยับของเล่นทำให้อาหารออกมามากขึ้นและแมวเกิดการเรียนรู้ สำหรับแมวที่ค่อนข้างเชื่องช้าอาจเริ่มจากการเปิดของเล่นออกเป็นสองส่วน เพื่อที่แมวจะได้ใช้อุ้งเท้าดึงเอาอาหารออกมากิน หลังจากที่มีประสบการณ์เชิงบวกแล้วจึงทำการประกอบของเล่นกลับเป็นเหมือนเดิมพร้อมทั้งโรยอาหารไว้รอบของเล่น แมวส่วนมากจะดันของเล่นด้วยปากหรืออุ้งเท้าเพราะรู้ว่าข้างในมีอาหาร

ของเล่นสามารถใช้ได้กับแมวทุกช่วงอายุ เป็นไปได้ที่จะเริ่มให้แก่ลูกแมวอายุตั้งแต่ 8-10 สัปดาห์แต่อาจยังไม่มีความสนใจในการหาอาหารมากพอ แต่ความสนใจของเล่นจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

การกระตุ้นให้แมวหาอาหาร

การให้แรงกระตุ้นแก่แมวในการหาอาหารที่เคยได้รับจากการเทใส่ชามอาหารเป็นเวลาหลายปีเป็นเรื่องที่ดี อาจใส่อาหารพิเศษลงไปในของเล่นเพื่อจุดประกายความสนใจของแมวในการหาอาหาร

แมวบางตัวจะได้ผลดีเมื่อวางของเล่นไว้ในบริเวณที่กินอาหารตามปกติ แต่บางตัวอาจให้ความสนใจในของเล่นที่วางอยู่ตามสถานที่แปลกใหม่มากกว่า เจ้าของแมวสามารถทดลองได้ทั้งสองรูปแบบ โดยมีเป้าหมายคือการวางของเล่นไว้ทั่วบ้านโดยเฉพาะบ้านที่เลี้ยงแมวหลายตัว ช่วงแรกอาจต้องมีกลยุทธ์เพื่อที่จะกระตุ้นให้แมวสนใจใช้ของเล่น

หากแมวยังมีความลำบากในการใช้ของเล่น อาจต้องเพิ่มความน่าสนใจด้วยการเติมขนมแมวลงไปในอาหารที่อยู่ในของเล่น สำหรับแมวที่ช้ามากอาจต้องเริ่มจากการวางอาหารไว้ตามมุมต่างๆของบ้านเพื่อให้แมวได้เริ่มพัฒนานิสัยในการหาอาหารกิน

การเลียนแบบที่อยู่อาศัยและการหาอาหารตามธรรมชาติของแมวจะมีประโยชน์มาก ยกตัวอย่างเช่นของเล่นที่มีผิวสัมผัสหนาฟูจะเลียนแบบสิ่งที่แมวต้องเจอในธรรมชาติเมื่อหาอาหารตามพงหญ้า (รูป 4) การให้อาหารที่ต้องออกแรงเคี้ยวเป็นการเลียนแบบการทำงานของการบดเคี้ยวซึ่งแมวจะใช้ในการกินเหยื่อที่ล่าได้ แต่ต้องเลือกอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพของแมว เจ้าของสามาถเลือกอาหารเหล่านี้มาใส่ในของเล่นเพื่อทำให้การเล่นหาอาหารสมจริงมากขึ้น ส่วนมากมักเป็นอาหารที่แตกต่างจากอาหารปกติเพื่อให้แมวมีความชอบที่จะกิน

A textured feeding puzzle that can mimic what a cat would experience if it was rooting through grass searching for food.

รูป 4 ของเล่นแบบมีผิวสัมผัสจะเลียนแบบสิ่งที่แมวต้องเจอในธรรมชาติเวลาหาอาหาร © Ingrid Johnson

ไม่คววรอดอาหารแมวเพื่อให้แมวปรับตัวกินอาหารใหม่ นอกจากจะไม่ได้ผลแล้วยังทำให้แมวเสียสุขภาพ แมวเป็นนักล่าที่ยอดเยี่ยมและเมื่ออยู่ข้างนอกจะไม่สามารถอยู่แบบอดอาหารได้นานเท่ากับสุนัข แมวจำเป็นต้องกินอาหารทุกวัน

การจัดระดับความยาก

เมื่อแมวเริ่มชินกับของเล่นเพื่อการฝึกหาอาหารแล้วให้ค่อยๆเพิ่มความยากขึ้น ลดจำนวนรูบนของเล่นเพื่อให้อาหารออกมาไม่ง่ายนัก ให้ของเล่นที่ไม่กลิ้งแบบคาดเดาได้ง่ายแบบลูกบอลหรือของเล่นที่มีความทึบซึ่งแมวต้องอาศัยประสาทการดมกลิ่นและความจำในการใช้งาน ของเล่นที่ใหญ่แหละหนักกว่าเดิมก็เป็นความท้าทายเช่นกัน น้ำหนักที่มากขึ้นทำให้ของเล่นถูกผลักได้ยากขึ้นและอาจจะยากไปสำหรับลูกแมว แต่เหมาะสมมากสำหรับบ้านที่เลี้ยงแมวหลายตัว

การรวมของเล่นหลายชนิดเข้าด้วยกันเป็นอีกวิธีในการเพิ่มความท้าทาย นำของเล่นขนาดเล็กที่แมวแก้ได้แล้วมาใส่ลงในของเล่นที่ใหญ่กว่าเพื่อที่แมวจะต้องพยามมากขึ้นเป็นสองเท่าสำหรับอาหาร (รูป5) แมวส่วนมากจะสามารถไขปัญหานี้โดยใช้เวลาไม่นาน 4

A commercial stationary “tunnel feeder” puzzle with a ping-pong ball, filled with food, placed inside to increase the challenge. If used without the ball as an obstacle a cat should find it much easier, and it would be suitable as a beginner’s toy.

รูป 5 ของเล่นแบบ tunnel feeder ที่มีการใส่ลูกปิงปองเจาะรูที่ข้างในมีอาหารจะเพิ่มความท้าทายในการเล่น หากไม่มีลูกปิงปองเป็นอุปสรรคจะกลายเป็นของเล่นอย่างง่ายที่แมวไขปัญหาได้ไม่ยาก © Ingrid Johnson

ตามที่ได้กล่าวข้างต้นว่าของเล่นแบบอยู่นิ่งกับที่จะง่ายกว่าสำหรับแมวที่ไม่คุ้นกับการหาอาหาร ในกรณีที่แมวเล่นของเล่นทรงกลมที่กลิ้งได้ไม่เป็น ของเล่นแบบอยู่นิ่งกับที่สามารถปรับให้ยากขึ้นโดยแมวจะต้องใช้อุ้งเท้าล้วงเข้าไปเพื่อหยิบเอาอาหารที่ซ่อนอยู่ออกมา 5 แทนที่จะเพียงแค่ใช้ปากหรืออุ้งเท้าในการดัน (รูป6) การนำของเล่นทรงกลมที่ใส่อาหารด้านในไปไว้ในของเล่นที่อยู่กับที่สามารถทำให้ปริศนายากขึ้น

A challenging stationary puzzle that can be used by more than one cat at a time. Here a cat has to use its paws to reach into the object and extract the kibble.

รูป 6 ของเล่นชนิดอยู่กับที่ที่เพิ่มความท้าทายสำหรับแมวที่เลี้ยงด้วยกันหลายตัว แมวต้องใช้อุ้งเท้ายื่นเข้าไปในของเล่นเพื่อนำของกินออกมา © Ingrid Johnson

ของเล่นที่ทำเองจากอุปกรณ์ทั่วไปภายในบ้านได้ก็ผลดีมากเช่นกัน (รูป 7) ยกตัวอย่างเช่นกล่องรองเท้าเก่าที่เจาะรูด้านบนและด้านข้าง ใส่ของเล่นที่มีอาหารอยู่ข้างในและใช้เทปกาวปิดฝาให้สนิท หากใช้เป็นของเล่นชนิดกลิ้งได้ควรเจาะรูให้มีขนาดใหญ่กว่าของเล่นเล็กน้อยเพื่อที่แมวจะได้หยิบของเล่นออกมาได้หากมันต้องการ

Home-made puzzles can be constructed with a bit of ingenuity and imagination. (a) A puzzle made from an old seat with multiple holes cut in it to allow a cat to forage for food and toys. A sisal mat is also secured to one side of the seat for use as a scratch post. (b) A very simple puzzle made from cardboard tubes, weighted with a stone to keep it stationary.

รูป 7 ของเล่นทำเองภายในบ้านสามารถประดิษฐ์ได้โดยใช้ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน a) ของเล่นทำจากเบาะนั่งเก่าที่เจาะรูให้แมวยื่นอุ้งเท้าเข้าไปหาอาหารและของเล่น อีกฝั่งทำการแปะ sisal mat เพื่อให้แมวได้ใช้ฝนเล็บ b) ของเล่นอย่างง่ายที่ทำจากแกนกระดาษและใช้หินถ่วงน้ำหนักเพื่อให้อยู่กับที่ © Ingrid Johnson

ของเล่นทรงลูกบาศก์เป็นหนึ่งในชนิดที่ยากที่สุดสำหรับแมวในการจับบังคับ เริ่มจากการให้ลูกบาศก์ใสที่แมวจะสามารถเห็นอาหารด้านใน รวมไปถึงการดมกลิ่นและการได้ยิน เริ่มวางของเล่นบนพรมหรือเสื่อที่แมวจะพลิกได้โดยง่าย หากเป็นพื้นเรียบธรรมดาแมวจะแค่ดันของเล่นไปมาและเกิดความหงุดหงิดได้ แต่ในที่สุดแล้วแมวจะสามารถเรียนรู้ที่จะเล่นกับลูกบาศก์ได้ทุกพื้นผิว เจ้าของสามารถเปลี่ยนมาใช้ลูกบาศก์ที่ทึบเพื่อเพิ่มความท้าทายได้

เป้าหมายสุดท้ายคือการให้แมวได้เล่นของเล่นที่ยากที่สุดเท่าที่แมวจะทำได้ เจ้าของไม่ควรมีความคาดหวังที่มากเกินไปจากความเป็นจริงหรือผิดหวัง เพราะแมวแต่ละตัวมีความสามารถไม่เท่ากันเหมือนกับคน อย่างไรก็ตามแมวเกือบทุกตัวสามารถเรียนรู้ที่จะเล่นกับของเล่นเพื่อฝึกการหาอาหารได้ ผู้เขียนสามารถทำให้แมวสามขา แมวตาบอด แมวแก่ และแมวที่มีอาการอัมพาตสองขาหลังเรียนรู้ที่จะหาอาหารได้ อย่าประเมินความสามารถของแมวต่ำเกินไป

การเตรียมการเพื่อความสำเร็จ

เจ้าของแมวสามารถใช้งานของเล่นแทนการให้อาหารแมวในระยะยาวได้อย่างไร อาจจำเป็นต้องให้ความรู้แก่เจ้าของแมวที่ยังลังเลในการใช้ของเล่นว่ามันไม่ได้เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนวิธีให้อาหาร แต่ยังเป็นการเติมเต็มสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของแมวอีกด้วย เจ้าของแมวที่ไม่ค่อยมีเวลาจัดเตรียมสามารถจัดหาของเล่นมาหลายชนิดแล้วเติมอาหารให้พอใช้สำหรับเวลาหนึ่ง

สัปดาห์ จากนั้นเก็บในภาชนะมิดชิด นำออกมาใช้เพียงแค่วันละชิ้นเพื่อให้แมวได้สนุกกับการแก้ปัญหาใหม่ๆ ไปทุกครั้ง ถึงแม้ว่าจะไม่มีการศึกษามายืนยัน แต่ผู้เขียนเชื่อว่าแมวต้องการของเล่นที่หลากหลายและไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน

กล่าวโดยสรุป การหาอาหารทำให้แมวสามารถใช้เวลาในแต่ละวันไปโดยไม่เสียประโยชน์และเพิ่มความอิสระในการกินอาหาร มันยังเป็นประโยชน์ในบ้านที่เลี้ยงแมวหลายตัวที่ได้อาหารจากการที่เจ้าของจัดวางไว้ให้ซึ่งอาจทำให้แมวดุหรือกัดกันอันมีสาเหตุมาจากความเครียดและการขาดการควบคุมทางสิ่งแวดล้อม การหาอาหารยังเอื้อให้แมวสามารถกินได้ตามเวลาและสถานที่ตามใจชอบ ลดความเครียดจากมื้ออาหารที่ถูกกำหนดขึ้น ทั้งยังช่วยลดน้ำหนักในแมวที่น้ำหนักเกินอีกด้วย

แหล่งอ้างอิง

  1. Neville P. An ethical viewpoint: the role of veterinarians and behaviourists in ensuring good husbandry for cats. In Proceedings. AAFP American Association of Feline Practitioners Congress 2002; 156-157.

  2. Beaver BVG. Feline behavior: A guide for veterinarians. 2nd ed. St. Louis: Saunders; 2003:219-221.

  3. www.fundamentallyfeline.com/implementing-foraging-as-a-feeding-protocol. Accessed September 25th 2018.

  4. www.fundamentallyfeline.com/so-you-think-you-have-a-master-forager. Accessed September 25th 2018.

  5. Johnson I, Delgado M. Food puzzles for cats. http://foodpuzzlesforcats.com. Accessed 12th January 2019.

Ingrid Johnson

Ingrid Johnson

Ingrid Johnson is a Certified Cat Behavior Consultant (CCBC) who owns and operates a business dedicated to providing in-home and phone consultations for clients อ่านเพิ่มเติม