วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 26.1 Other Scientific

อุบัติการณ์ของโรคที่เป็นมาแต่กำเนิดในลูกสุนัข

เผยแพร่แล้ว 24/10/2022

เขียนโดย Emi Kate Saito และ Catherine Rhoads

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Español และ English

การมีลูกสุนัขเพิ่มมาเป็นสมาชิกในบ้านเป็นประสบการณ์ที่สนุกและน่าตื่นเต้นสำหรับคนในครอบครัว ลูกสุนัขที่ซุกซนมักมายังสถานพยาบาลสัตวแพทย์เพื่อการถ่ายพยาธิและทำวัคซีนตามปกติโดยมักไม่มีปัญหาความเจ็บป่วยใด (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

อุบัติการณ์ของโรคที่เป็นมาแต่กำเนิดในลูกสุนัข

บทนำ

การมีลูกสุนัขเพิ่มมาเป็นสมาชิกในบ้านเป็นประสบการณ์ที่สนุกและน่าตื่นเต้นสำหรับคนในครอบครัว ลูกสุนัขที่ซุกซนมักมายังสถานพยาบาลสัตวแพทย์เพื่อการถ่ายพยาธิและทำวัคซีนตามปกติโดยมักไม่พบปัญหาความผิดปกติ แต่บางครั้งสัตวแพทย์อาจตรวจพบความผิดปกติของลูกสุนัขซึ่งเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด(congenital defect)ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา ในบทความนี้ได้ทำการทบทวนและวิเคราะห์แนวโน้มอุบัติการณ์ของความผิดปกติแต่กำเนิดที่ตรวจพบได้บ่อย

รูปแบบวิธีการวิเคราะห์

ผู้วิเคราะห์ได้ทำการคัดกรองประวัติการรักษาของสุนัขที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์ Banfield ในขณะที่เป็นลูกสุนัขและได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคความผิดปกติแต่กำเนิดเป็นระยะเวลาห้าปีตั้งแต่ปี 2010-2014 ลูกสุนัขที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้องมีอายุน้อยกว่า 12 เดือนในครั้งแรกที่เข้ารับการตรวจที่สถานพยาบาล ยกตัวอย่างเช่นลูกสุนัขอายุ 8 เดือนได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยในเดือนมกราคมปี 2014 และมายังสถานพยาบาลอีกครั้งในเดือนกันยายนที่อายุ 16 เดือนยังถือว่าเป็นลูกสุนัขในปี 2014 อยู่ ความผิดปกติแต่กำเนิดของลูกสุนัขที่ตรวจพบได้ทำการจำแนกไว้ตามระบบอวัยวะที่พบดังตารางที่ 1 มีการระบุความชุกของความผิดปกติแต่กำเนิดที่พบมาก 5 อันดับแรกตามระบบอวัยวะในปี 2014 ทำการเปรียบเทียบความชุกของความผิดปกติตามระบบอวัยวะและอาการในปี 2010 การวิเคราะห์ทางสถิติทำเพื่อหาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความชุกของโรคโดยใช้ z-test เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วน 1
 

 

ตารางที่ 1 ความผิดปกติแต่กำเนิดที่ตรวจพบในโรงพยาบาลสัตว์ Banfield Pet Hospital ปี 2014
Organ system category Congenital conditions in this category
Cardiovascular Aortic stenosis; Atrial septal defect; Cardiac septal defects; Factor VII deficiency; Hemophilia A, Factor VIII deficiency; Hemophilia B, Factor IX deficiency; Patent ductus arteriosus; Pulmonic stenosis; Tetralogy of Fallot; Ventricular septal defect; Von Willebrand's disease
Endocrine Dwarfism; Growth hormone deficiency
Gastrointestinal Cleft palate; Diaphragmatic hernia; Hiatus hernia; Megaesophagus; Megaesophagus, primary; Persistent aortic arch convolutions; Persistent right aortic arch; Pyloric stenosis; Vascular ring anomaly
Neurological Cerebellar hypoplasia; Deafness, congenital; Hepatic encephalopathy; Hydrocephalus; Nystagmus, congenital; Portosystemic shunt
Reproductive Cryptorchid (abdominal/inguinal/unspecified*), pseudohermaphrodite

*ภาวะทองแดง (cryptorchidism) ที่ไม่ได้ระบุ(unspecified) หมายความว่ามีการตรวจพบว่าสุนัขมีภาวะทองแดงแต่ไม่ได้ทำการระบุว่าเป็นภาวะทองแดงช่องท้องหรือช่องเชิงกราน

ผลการวิเคราะห์

มีจำนวนสุนัขเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์ Banfield ทั้งหมดเกือบ 2.4 ล้านตัว จากจำนวนสัตว์ทั้งหมด 8 ล้านตัวในปี 2014 คิดเป็นลูกสุนัข 540,183 ตัว(ร้อยละ 22.5) ในตารางที่ 2 แสดงความผิดปกติแต่กำเนิดตามระบบอวัยวะที่พบมากที่สุด 5 อันแรก ความผิดปกติที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในสามอันดับแรกคือภาวะทองแดง(คิดเป็น 38.3 ถึง 120.9 ตัวต่อสุนัข 10,000 ตัวที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหนึ่งในสามโรคที่พบมากที่สุด) ตามมาด้วยภาวะหูหนวกแต่กำเนิดและ portosystemic shunt โดยสองความผิดปกติหลังพบได้ยากกว่ามาก น้อยกว่า 9 และ 3 ตัวต่อสุนัข 10,000 ตัวที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหนึ่งในสามโรคอันดับแรก โรคความผิดปกติแต่กำเนิด 5 อันดับแรกไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี 2010 ถึงแม้ว่าจะมีความชุกเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2010-2014 (ยกเว้น portosystemic shunt) ความเปลี่ยนแปลงของความชุกถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ

 

ตารางที่ 2 แสดงค่าประมาณความชุกของความผิดปกติแต่กำเนิดในลูกสุนัขที่พบมาก 5 อันดับแรก
Diagnosis 2014
No. of cases
2014
No. of cases per 10,000
2010
No. of cases
2010
No. of cases per 10,000
No. of cases per 10,000 p-value
Cryptorchidism (non-specified) 6,531 120.9 5,060 92.8 +33.3% < 0.0001
Cryptorchidism, inguinal 2,513 46.5 2,123 38.9 +19.5% < 0.0001
Cryptorchidism, abdominal 2,071 38.3 1.881 34.5 +11.0% 0.0009
Deafness, congenital 447 8.3 295 5.4 +53.7% < 0.0001
Portosystemics hunt 126 2.3 200 3.7 -37.8% < 0.0001

ความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบสืบพันธุ์ได้รับการวินิจฉัยมากเป็นอันดับแรก(ตารางที่ 3) ความผิดปกติของระบบประสาทได้รับการวินิจฉัยเป็นอับดับที่ 2 ในขณะที่ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารและระบบหลอดเลือดและหัวใจเป็นอันดับที่ 3 และ 4 ตามลำดับโดยมีตัวเลขที่ห่างกันมาก การเปลี่ยนแปลงในปี 2010 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับความผิดปกติในหมวดระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินอาหาร และระบบต่อมไร้ท่อ

 

ตารางที่ 3 ค่าประมาณความชุกของความผิดปกติแต่กำเนิดตามระบบอวัยวะ
Organ system category 2014
No. of pets
2014
No. of cases per 10,000
2010
No. of pets
2010
No. of cases per 10,000
% Change 
Since 2010
p-value
Reproductive*
10,912 202.0 8,861 162.5 +24.3% < 0.0001
Nervous 719 13.3 689 12.6 +5.6% 0.3270
Gastrointestinal 182 3.4 256 4.7 -27.7% 0.0006
Cardiovascular 141 2.6 150 2.8 -7.1% 0.6557
Endocrine 16 0.3 5 0.1 +200.0% 0.0154

*จำนวนลูกสุนัขที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะทองแดงในตารางที่ 2 สูงกว่าจำนวนลูกสุนัขที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ในตารางที่ 3 เล็กน้อยซึ่งอาจเกิดจากการที่ลูกสุนัขได้รับการวินิจฉัยในครั้งแรกว่ามีภาวะทองแดงในช่องท้องแต่ลูกอัณฑะได้เคลื่อนลงมาอยู่ในบริเวณเชิงกรานเมื่อสุนัขอายุมากขึ้นหรือมีภาวะทองแดงที่ไม่ได้ระบุชนิดแล้วได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นทองแดงช่องท้องหรือช่องเชิงกรานในการพบสัตวแพทย์ครั้งต่อมา

การอภิปรายผล 

การที่ภาวะทองแดงเป็นความผิดปกติที่ได้รับการวินิจฉัยมากที่สุดอาจมีสาเหตุจากความง่ายในการวินิจฉัย โรงพยาบาลสัตว์ Banfiled เป็นสถานพยาบาลสัตว์ทั่วไป(first opinion practice) จึงมีความเป็นไปได้ที่อาจตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นในตารางที่ 1 ซึ่งต้องอาศัยความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญหรือเครื่องมือตรวจวินิจฉัยมากขึ้น นอกจากนี้การวิเคราะห์ยังถูกจำกัดด้วยวิธีการบันทึกข้อมูลในระบบ ดังนั้นหากมีการวินิจฉัยพบอาการที่ไม่ปรากฏในระบบหรืออยู่ภายใต้ชื่ออื่นอาจทำให้สัตวแพทย์บันทึกผลการวินิจฉัยพลาดได้ การศึกษานี้กำหนดความผิดปกติแต่กำเนิดที่พบในอายุน้อยทำให้ค่าความชุกที่ได้อาจน้อยกว่าความเป็นจริงเพราะความผิดปกติแต่กำเนิดบางชนิดสามารถตรวจพบได้ในอายุที่มากขึ้น การจำกัดอายุของสัตว์ทำเพื่อความง่ายในการเก็บข้อมูลและเพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าความผิดปกติที่ตรวจพบนั้นเป็นมาแต่กำเนิดจริง

การเปลี่ยนแปลงความชุกของความผิดปกติแต่กำเนิดอาจสะท้อนการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการบันทึกผลการวินิจฉัยในโรงพยาบาลสัตว์ Banfield(ซึ่งไม่มีเหตุผลที่เหมาะสมว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น) หรืออาจเป็นผลมาจากเครื่องมือ/วิธีการในการตรวจวินิจฉัยที่ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพในการขยายพันธุ์ทั้งจากผู้เพาะพันธุ์และเจ้าของสัตว์ เป็นที่สังเกตว่าความชุกที่แตกต่างกันนั้นสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของอุบัติการณ์ความผิดปกติเหล่านี้ในลูกสุนัขถึงแม้ว่าจะยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำเเบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ภายในวันที่ 1พ.ย.- 31 ธ.ค. 2022


ทำแบบทดสอบ VET-CE

แหล่งอ้างอิง

  1. Woodward M. Epidemiology: study design and data analysis. 2nd ed. Boca Raton, FL: Chapman and Hall/CRC, 2005.

Emi Kate Saito

Emi Kate Saito

สัตวแพทย์หญิงไซโต สำเร็จการศึกษาจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เพนซิลเวเนีย ในปี 1997 เธอได้รับปริญญามหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุข จากมหาวิทยาลัยอีโมรีในปี 2001 อ่านเพิ่มเติม

Catherine Rhoads

Catherine Rhoads

Catherine Rhoads,โรงพยาบาลสัตว์แบนฟิลด์ พอร์ทแลนด์ สหรัฐอเมริกา อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 26.1 เผยแพร่แล้ว 28/02/2023

อาการท้องเสียช่วงหย่านมในลูกสุนัข

โรคระบบทางเดินอาหารเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดในสุนัข โดยลูกสุนัขจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาท้องเสียได้มากกว่าสุนัขที่โตเต็มวัยแล้ว อีกทั้งยังพบว่าลูกสุนัขร้อยละ 10-25 จะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารในช่วงอายุ 1 ปีแรก

โดย Aurélien Grellet

หมายเลขหัวข้อ 26.1 เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

นมน้ำเหลืองในสุนัข

ระยะแรกคลอดเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงในสุนัขเนื่องจากร้อยละ 20 ของลูกสุนัขจะเสียชีวิตก่อนที่จะมีอายุได้ 21 วันโดย...

โดย Sylvie Chastant และ Hanna Mila