เกาะป้องกันผิวในภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในสุนัข
เผยแพร่แล้ว 28/06/2024
สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Português , Español และ English
ยังคงมีความก้าวหน้าในเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในสุนัข (canine atopic dermatitis) โดยบทความนี้จะพิจารณาที่บทบาทของเกราะป้องกันผิว (skin barrier) และการทำงานที่ผิดปกติของเกราะป้องกันผิวอาจส่งผลต่อภาวะนี้ได้อย่างไร
ประเด็นสำคัญ
มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าเกราะป้องกันผิวที่บกพร่องไปเป็นปัจจัยสำคัญในสุนัขที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (atopic dermatitis (AD))
เชื่อกันว่าจุลินทรีย์บนผิวของสุนัขแต่ละตัวจัดเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการกำหนดว่าภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหรือไม่
ปัจจัยต่างๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียและยีสต์ทุติยภูมิ (secondary bacterial and yeast infections) การแพ้หมัด (flea allergy) และอาการที่ไม่พึงประสงค์จากอาหาร (adverse food reactions) สามารถทำให้ภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้แย่ลงได้
แนวทางการรักษาแบบผสมผสาน (multimodal approach) มีความจำเป็นเพื่อควบคุมภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในระยะยาว รวมถึงการเน้นที่การรักษาเกราะป้องกันผิวให้มีสุขภาพดี
บทนำ
ผิวหนังเป็นโครงสร้างที่น่าทึ่งและเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย โดยผิวหนังทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันสำคัญระหว่างอวัยวะภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอก ปกป้องร่างกายจากสารแปลกปลอมและส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ผิวชั้นหนังกำพร้า (skin epidermis) ได้พัฒนาจนกลายเป็นโครงสร้างไดนามิกพร้อมกับความสามารถในการรักษาสมดุลของร่างกาย (homeostatic capabilities) เพื่อรับมือกับสภาวะภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป บทความนี้จะทบทวนบทบาทของผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในสุนัข (CAD) และหารือถึงวิธีที่ดีที่สุดในการปรับปรุงสุขภาพของผิวหนัง
กายวิภาคของผิวชั้นหนังกำพร้า
ชั้นหนังกำพร้าของผิวหนังประกอบไปด้วยชั้นเซลล์เยื่อบุผิว (corneocytes) หลายชั้น ได้แก่ (จากด้านในสู่ด้านนอก) the stratum basale, stratum spinosum, stratum granulosum และ stratum corneum (SC) โดยเซลล์เยื่อบุผิวเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย (final product) ของกระบวนการผลัดเซลล์ผิวที่ชั้นหนังกำพร้า (epidermal keratinization) ซึ่งในสุนัขจะจะใช้เวลาประมาณ 22 วันในการสร้างหนังกำพร้าใหม่ (renewal of the epidermis); เซลล์ใหม่ที่มาจากชั้นใน (basal layer) จะถูกดันขึ้นด้านบนเพื่อแทนที่เซลล์ที่ต่างแล้วในชั้นนอก (outer layer) เซลล์จะยึดติดกันด้วยเมทริกซ์ไขมัน (lipid matrix) ซึ่งประกอบไปด้วยคอเลสเตอรอล (cholesterol) กรดไขมันอิสระ (free fatty acids) และเซราไมด์ (ceramides) ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ที่เรียกว่า extracellular lipid-enriched lamellar membranes การเปรียบเทียบที่ใช้กันทั่วไปในการอธิบายเกราะป้องกันผิวคือ “ทฤษฎีกำแพงอิฐ (brick wall theory)” โดยที่ SC จะสร้าง “อิฐ” ในขณะที่ชั้นที่มีไขมันเข้มข้นระหว่างเซลล์จะสร้าง “ปูน” (รูปภาพที่ 1a)1. ความสมบูรณ์ (integrity) ของ SC โดยเฉพาะเมทริกซ์ไขมันจึงมีความสำคัญในการรักษาหน้าที่ของเกราะป้องกันผิว
นอกจากไขมันระหว่างเซลล์ (intercellular lipids) แล้ว ชั้นนอกสุดของ SC ยังเคลือบด้วยโมเลกุลที่ไม่ชอบน้ำหรือไม่มีขั้ว (hydrophobic molecules) หลายชนิดซึ่งจะสร้างชั้นป้องกันจุลินทรีย์และสารก่อภูมิแพ้ หน้าที่ของผิวหนังและไขมันบนพื้นผิวของผิวหนังได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางในภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ทั้งในมนุษย์และสุนัข และการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของไขมัน (กรดไขมันอิสระและเซราไมด์) ในผิวหนังที่มีรอยโรค AD และโครงสร้างของ lamellar ก็เชื่อกันว่าจะส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของเกราะป้องกันผิว (รูปภาพ 1b) 2. ทั้งนี้แม้ว่าหลักฐานที่ชัดเจนของความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของเกราะป้องกันผิวกับการเกิด cAD ยังคงขาดอยู่ แต่ก็มียีนที่มีแนวโน้มว่าจะเกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์ของเกราะป้องกันผิวที่บกพร่องในสุนัขที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ เช่น ยีนที่เข้ารหัส exoskeleton protein plakophilin 2 (PKP2) และ filaggrin (FLG) 3. ในทางการแพทย์ของมนุษย์ การสูญเสียน้ำผ่านผิวหนังชั้นนอก (transepidermal water loss (TEWL)) และความชุ่มชื้นของผิวหนัง (skin hydration (SH)) จะถูกใช้เพื่อประเมินหน้าที่ของเกราะป้องกันผิว ประสิทธิภาพการรักษาในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และการประเมินผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 4.
จุลินทรีย์บนผิว
ผิวหนังนั้นมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิด (แบคทีเรีย ยีสต์มาลาสซีเซีย (Malassezia) และเชื้อรา) ซึ่งเรียกรวมว่าไมโครไบโอต้า (microbiota) ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาความก้าวหน้าในการจัดลำดับยีนรุ่นต่อไป (in next-generation sequencing) ทำให้สามารถระบุจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่บนผิวหนังได้หลากหลายชนิด และไมโครไบโอต้าระหว่างบริเวณต่างๆของร่างกายในสุนัขตัวเดียวกันก็สามารถแตกต่างกันได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังเป็นที่สังเกตได้ว่าไมโครไบโอต้าจะไวต่ออิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ เช่น การรักษาด้วยยาเฉพาะที่ (topical therapy) การรักษาด้วยยาเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต (systemic medications) (โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ) รวมถึงสภาพแวดล้อม
การสัมผัสกับไมโครไบโอต้าที่สเปกตรัมกว้าง (wide-spectrum microbiota) ในช่วงต้นของชีวิตมีส่วนทำให้ไมโครไบโอต้าปรับตัวให้เข้ากับจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นอันตราย (non-harmful microorganisms) 5, และสะท้อนถึงสิ่งที่เรียกว่า “สมมติฐานด้านสุขอนามัย (hygiene hypothesis)” ของโรคภูมิแพ้ในมนุษย์ซึ่งได้มีการเสนอแนวคิดนี้ในปี 1989 เพื่ออธิบายถึงความชุกที่เพิ่มขึ้นของโรคภูมิแพ้ที่พบในมนุษย์ โดยแสดงให้เห็นว่าการติดเชื้อในวันเด็กที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ในภายหลังได้ ทารกมักจะเกิดมาพร้อมกับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน (an immune response) ที่เอนเอียงไปทางเซลล์ Th2 (T-helper cell 2) ซึ่งสามารถปิดการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วหลังคลอดภายใต้อิทธิพลของการสัมผัสกับจุลินทรีย์ในช่วงแรกๆ เป็นที่ทราบกันดีว่าเซลล์ Th2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อการแพ้ (allergic responses) ในขณะที่การตอบสนองของเซลล์ Th1 นั้นจะต่อต้านเชื้อก่อโรค (infectious pathogens) ซึ่งตามอุดมคติ เซลล์ทั้งสองชนิดควรอยู่ในภาวะสมดุลกัน อีกทั้งรูปแบบ Th1/Th2 ที่สมดุลกันจะพบในทารกที่มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคภูมิแพ้ในภายหลังได้น้อยกว่า ทั้งนี้น่าเสียดายที่ปัจจุบันยังไม่มีการวิจัยที่สนับสนุนสมมติฐานด้านสุขอนามัยในสุนัขที่เป็น AD แต่มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าความหลากหลายของไมโครไบโอมผิวหนังในสุนัขที่เป็นโรคภูมิแพ้นั้นจะต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสุนัขที่มีสุขภาพดี แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในไมโครไบโอต้าของพวกมัน 6. นอกจากนี้เมื่อสุนัขที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากภาวะภูมิแพ้มีอาการกำเริบเฉียบพลัน (acute flares) ความสมดุลของไมโครไบโอต้าของพวกมันก็จะหยุดชะงักชั่วคราว (dysbiosis) เนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus spp. จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามหลังจากรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและช่วงที่รอยโรคกำลังสงบ (remission of lesions) TEWL ก็จะลดลงและความหลากหลายของจุลินทรีย์ก็จะกลับคืนมา 7.
ภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในสุนัข
ภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในสุนัขหรือ cAD นั้นเป็นภาวะผิวหนังอักเสบที่มีอาการคันและมักจะเกิดการอักเสบจากเซลล์ T (T-cell) เป็นส่วนใหญ่ การเกิดภาวะนี้ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การมีปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ (complex interplay between immune dysregulation) ความผิดปกติของเกราะป้องกันผิว ความเสี่ยงทางพันธุกรรม (genetic predisposition) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและภาวะจุลินทรีย์ไม่สมดุล (dysbiosis) (รูปภาพที่ 2) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา cAD 3, เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตของสุนัข โดยเฉพาะในช่วงลูกสุนัขนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเจริญของระบบภูมิคุ้มกัน (maturation of the immune system) ดังนั้นการเติบโตในสภาพแวดล้อมชนบท การมีสมาชิกในครอบครัวจำนวนมากและการสัมผัสกับสัตว์อื่นๆอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด cAD ในภายหลังได้ นอกจากนี้ยังมีข้อบ่งชี้ว่าการติดเชื้อ Toxocara canis อาจมีผลในการปกป้อง cAD ที่เกิดจากไรฝุ่น Dermatophagoides farina (house dust mite) ได้ 3.
ลักษณะทางคลินิกหลัก (primary clinical feature) ของ cAD คืออาการคัน ซึ่งอาจแสดงออกมาในรูปแบบมีผลกระทบตามฤดูกาลหรือไม่มีผลกระทบของฤดูกาล (seasonal or non-seasonal pattern) ก็ได้ โดยทั่วไปแล้วจะพบรอยโรคในบริเวณต่างๆ เช่น รอบดวงตา (periocular region) รอบปากและจมูก (around the muzzle) รักแร้ (axillae) ขาหนีบ (inguinal region) รอบทวารหนัก (perianal area) และปลายรยางค์ (extremities) (รูปภาพที่ 3) สุนัขที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้อาจประสบปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ (recurrent problems) เช่น หูชั้นนอกอักเสบ (otitis externa) และฝ่าเท้าอักเสบ (pododermatitis) ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อแบคทีเรียทุติยภูมิ (secondary bacterial infections) หรือเชื้อยีสต์มาลาสซีเซียเจริญมากเกินไป (overgrowth of Malassezia) การวินิจฉัยภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้นั้นจะต้องแยกปัญหาผิวหนังที่ทำให้เกิดอาการคันอื่นๆออกไป โดยเฉพาะปัญหาผิวหนังที่อาการคล้ายคลึงกับ cAD เช่น การมีหมัดบนตัว/ภาวะแพ้น้ำลายหมัด (flea infestation/flea bite hypersensitivity) โรคหิด (scabies) อาการที่ไม่พึงประสงค์จากอาหาร (adverse food reaction (AFR)) โดยเมื่อป้องกันปรสิตภายนอก ตรวจวินิจฉัยและลองควบคุมอาหาร (food trials) สำเร็จแล้ว สัตวแพทย์สามารถใช้ Favrot’s criteria ในการวินิจฉัยทางคลินิกของ cAD ได้ (ตารางที่ 1) 8. นอกจากนี้สำหรับการระบุสารก่อภูมิแพ้ที่เกี่ยวข้องกับ cAD นั้นก็สามารถทำได้แต่ควรตระหนักไว้เสมอว่าการทดสอบเหล่านี้จำเป็นเฉพาะในกรณีที่พิจารณาใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ (allergen-specific immunotherapy) เท่านั้น 9.
ตารางที่ 1 Favrot’s criteria สำหรับภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในสุนัข หากตรงตามเกณฑ์ 5 ข้อขึ้นไป แสดงว่ามีโอกาสอย่างน้อยร้อยละ 80 ที่ภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้จะเป็นสาเหตุของอาการคัน
|
ปัจจัยแทรกซ้อน - โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง
Staphylococcus pseudintermedius เป็นหนึ่งในเชื้อแบคทีเรียที่ได้บนผิวหนังของสุนัข อีกทั้งยังเป็นเชื้อก่อโรคฉวยโอกาส (opportunistic pathogen) ในโรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง (pyoderma) และหูชั้นนอกอักเสบ (otitis externa) โดยเชื้อชนิดนี้มักเกี่ยวข้องกับ cAD และ/หรืออาการที่ไม่พึงประสงค์จากอาหาร 10. ผิวหนังที่แข็งแรงจะมีกลไกการป้องกันตนเอง (defense mechanisms) เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียเจริญมากเกินไป (bacterial overgrowth) เช่น antimicrobial peptides (AMP), beta-defensins (BDs), and cathelicidins (caths) ซึ่งอยู่ในช่องว่างนอกเซลล์ของชั้น stratum corneum (SC) 11.ไมโครไบโอต้าและเกราะป้องกันผิวจะทำงานร่วมกันเพื่อรักษาความสมบูรณ์และป้องกันสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยปัจจัยที่เพิ่มความไวของสุนัขที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ต่อเชื้อ Staphylococcus spp. นั้นยังไม่ชัดเจนนัก การวินิจฉัยการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง (bacterial skin infection) (โรครูขุมขนส่วนบนอักเสบ (superficial folliculitis) และโรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง (pyoderma)) นั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะทางคลินิก (papules, pustules หรือ epidermal collarettes – รูปภาพที่ 4) และการพบแบคทีเรียรูปร่างกลมภายในเซลล์ (intracellular cocci) เมื่อตรวจทางเซลล์วิทยา การจัดการกับการติดเชื้อแบคทีเรียทุติยภูมิอย่างมีประสิทธิภาพสามารถทำได้โดยการรักษาด้วยยาเฉพาะที่ การรกัษาสุขอนามัยของผิวหนังและขนด้วยการอาบน้ำอาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับสุนัขที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้เพราะจะช่วยส่งเสริมการสร้างเกราะป้องกันผิวที่แข็งแรง การอาบน้ำยังช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ที่เกาะบนผิวหนังหรือขน ป้องกันไม่ให้เกิดการระคายเคืองเพิ่มเติม นอกจากนี้การศึกษาในหลอดทดลอง (in-vitro studies) ยังแนะนำว่าผลิตภัณฑ์แชมพูหรือมูสที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะสามารถคงประสิทธิภาพได้นานถึง 14 วัน 12, เพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ chlorhexidine, benzoyl peroxide, ethyl lactate, povidone iodine หรือ triclosan ก็อาจเป็นประโยชน์ในการรักษาโรคผิวหนังส่วนนอกอักเสบเป็นหนอง (superficial pyoderma) 13. โดยแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยๆลดปริมาณลงเหลือสัปดาห์ละครั้งหากรอยโรคหาย 13. อีกทั้งยังแนะนำให้ใช้ mupirocin และ fusidic acid เป็นสารต้านจุลินทรีย์เฉพาะที่ (topical antimicrobial agents) เนื่องจากจะลดความเสี่ยงของการเกิดเชื้อ S. pseudintermedius ดื้อยาหลายขนาน (multidrug-resistant S. pseudintermedius (MRSP)) ทั้งนี้ควรพิจารณาใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั่วร่างกาย (systemic antimicrobial therapy) เมื่อพิสูจน์แล้วว่าการรักษาเฉพาะที่ไม่ได้ผล หรือหากความลึกและตำแหน่งของการติดเชื้อเกินขอบเขตของการรักษาเฉพาะที่ โดยเลือกใช้ยาปฏิชีวนะตามผลการทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะ (bacterial sensitivity tests) และควรให้การรักษาต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังจากรอยโรคหาย อย่างไรก็ตามเนื่องจาก MRSP เกิดขึ้นทั่วโลก ผู้เขียนบทความขอแนะนำอย่างยิ่งให้ให้ความสำคัญกับการรักษาเฉพาะที่มากกว่าการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั่วร่างกายซ้ำๆหากสภาพของสัตว์ป่วยเอื้ออำนวย
ปัจจัยแทรกซ้อน - ยีสต์มาลาสซีเซีย
Malassezia pachydermatis เป็นยีสต์ที่สร้างเอนไซม์สังเคราะห์กรดไขมัน (lipid-dependent yeast) ซึ่งพบได้บนพื้นผิวของผิวหนัง ทั้งนี้การมีไขมันบนพื้นผิวมากเกินไป การรบกวนการทำงานของเกราะป้องกันผิวและปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ (aberrant immune reaction) ใน cAD อาจทำให้เชื้อก่อโรคฉวยโอกาสนี้เจริญมากเกินไป 14. การเจริญเติบโต (colonization) ของยีสต์ในลูกสุนัขจะเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันกับเชื้อ Staphylococcus spp. โดยแม่สุนัขจะแพร่เชื้อผ่านการเลียและการให้นมในช่วงแรกของชีวิต เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ยีสต์มาลาสซีเซียจะสามารถขยายจำนวนภายใน SC แล้วสร้างแอนติเจนและสารก่อภูมิแพ้จำนวนมาก 14. แอนติเจนเหล่านี้จะบุกรุกเข้าไปในชั้นหนังกำพร้าและกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในสุนัขที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ส่งผลให้เกิดอาการคันและผิวหนังแดง ยีสต์มาลาสซีเซียยังมีแนวโน้มที่จะเจริญได้ดีในบริเวณผิวหนังที่มีความชื้นสูง เช่น รอยพับของผิวหนัง (skin folds) รอบหู ริมฝีปาก รูมวาร รักแร้ ขาหนีบและอุ้งเท้า/ระหว่างนิ้วเท้า อาการแสดงทางคลินิกจะอยู่ในรูปแบบของอาการคันและมีผื่นแดง ร่วมกับมีกลิ่นเหม็น (malodor) หรือผิวหนังมันเยิ้ม แต่ไม่มีการวินิจฉัยมาตรฐานสูงสุด (gold standard) สำหรับโรคผิวหนังอักเสบจากยีสต์มาลาสซีเซีย ดังนั้นการตรวจผิวหนังทางเซลล์วิทยาร่วมกับอาการแสดงทางคลินิกที่เข้ากันได้จึงถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การเพาะเชื้อ (culture) การตรวจทางจุลพยาธิวิทยาและการทดสอบ IgE นั้นยังไม่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยทางคลินิกมากนัก
The primary treatment options consist of antifungal agents such as topical imidazoles, clotrimazole, climbazole, and miconazole. Terbinafine and 2% chlorhexidine/2% miconazole shampoo are alternatives. However, although antiseptic ingredients can substantially diminish a Malassezia overgrowth, emollient bathing products containing cleansing oils, and emollient shampoos with a ceramide-based moisturizer have also demonstrated similar clinical efficacy 15.
ปัจจัยแทรกซ้อน - หมัดและอาการที่ไม่พึงประสงค์จากอาหาร
การควบคุมหมัดและการกำจัดสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร (food allergens) เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการจัดการกับภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในสุนัข เนื่องจากกลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยลดความไวต่ออาการคัน (threshold for pruritus) ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของสัตว์ป่วยได้ ยากำจัดหมัดชนิดรับประทาน (oral adulticides) มีข้อบ่งชี้สำหรับการควบคุมหมัดตลอดทั้งปีอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะการอาบน้ำสามารถชะล้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกและลดประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ได้ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบเป็น isooxazoline นั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยสามารถกำจัดหมัดได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการใช้และป้องกันไม่ให้หมัดกัดได้ด้วย
อาการที่ไม่พึงประสงค์จากอาหาร (adverse food reactions (AFR)) อาจเกิดขึ้นพร้อมกับภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ได้ โดยมีการประเมินว่าพบได้ประมาณร้อยละ 9-50 ของสุนัขที่แสดงรอยโรคที่บ่งชี้ถึง cAD ดังนั้นเพื่อแยกความแตกต่างระหว่าง AFR กับ AD (ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม) สัตวแพทย์จำเป็นต้องลองควบคุมอาหารอย่างเข้มงวดเป็นเวลา 8 สัปดาห์ (strict 8-week food trial) โดยใช้อาหารที่ทำมาจากโปรตีนชนิดใหม่ (novel protein) หรือโปรตีนไฮโดรไลซ์ (hydrolyzed protein) นอกจากนี้ขอแนะนำให้พิจารณาการทดสอบกระตุ้นด้วยอาหาร (provocative testing) หลังจากควบคุมอาหารเพื่อระบุสารก่อภูมิแพ้ในอาหารที่มีความจำเพาะและจะได้นำออกจากอาหารประจำวันของสุนัขในภายหลัง แม้ว่าจะยังไม่เข้าใจถึงกลไกทางภูมิคุ้มกัน (immune mechanism) ของอาการที่ไม่พึงประสงค์จากอาหารอย่างสมบูรณ์ แต่การศึกษาในสุนัขที่ได้รับผลกระทบได้แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงทางคลินิกอย่างมีนัยสำคัญจากการทดลองควบคุมอาหาร โดยผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 90 กลับมามีอาการแสดงทางคลินิกอีกครั้ง (คัน เลียเท้า เกาหน้า) เมื่อทำการทดสอบกระตุ้นด้วยอาหาร ทั้งนี้สัตว์บางตัวกลับมามีอาการภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากให้อาหารกระตุ้น (provocative diet) 16.
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา cAD เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตของสุนัข โดยเฉพาะในช่วงลูกสุนัขนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเจริญของระบบภูมิคุ้มกัน
Yun-Hsia Hsiao
การควบคุมและจัดการกับภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้
cAD เป็นปัญหาผิวหนังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และโดยปกติแล้วต้องได้รับการดูแลตลอดชีวิต (life-long management) ตามความเหมาะสมของสัตว์ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ภูมิคุ้มกันบำบัดที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ (allergen-specific immunotherapy (ASIT)) ถือเป็นการรักษาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการฉีดสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้มข้นสูงซึ่งระบุได้จากการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (skin testing) และการตรวจซีรัมวิทยาของ IgE (IgE serology) ประสิทธิผลทางคลินิกของ ASIT อยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 และอาจต้องใช้เวลาในการรักษา 9-12 เดือนจึงจะเริ่มสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง 17. เมื่อไม่นานมานี้มีการนำทางเลือกของภูมิคุ้มกันบำบัดชนิดฉีดเข้าต่อมน้ำเหลืองหรืออมใต้ลิ้น (intralymphatic and sublingual immunotherapy) มาใช้แทนวิธีการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous injection) แบบดั้งเดิม ซึ่งวิธีเหล่านี้ช่วยให้เหนี่ยวนำได้เร็วกว่า (more rapid induction) และวิธีหลังไม่จำเป็นต้องใช้เข็ม (needle-free) 18. อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องจัดการกับอาการคันและรอยโรคบนผิวหนังอย่างต่อเนื่องจนกว่าอาการแสดงทางคลินิกจะบรรเทาลงด้วย ASIT การจัดการกับ cAD นั้นจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค (stage of the disease) ตัวอย่างเช่น การรักษาอย่างรวดเร็วเมื่อมีอาการกำเริบเฉียบพลัน (acute flares) การควบคุมโรคเรื้อรังหรือการป้องกันไม่ให้อาการกลับมากำเริบอีกครั้ง เนื่องจากอาการคันถือเป็นสัญญาณสำคัญของ AD และรอยโรคต่างๆบนผิวหนังมักเกิดขึ้นมาจากอาการนี้ การรักษาจึงควรเน้นไปที่การลดอาการคัน โดยต้องพิจารณาจากความรุนแรงของอาการคัน (intensity of the pruritus) การกระจายและขอบเขตของรอยโรค (distribution and extent of the lesions) โดยอาจเลือกใช้ยาเฉพาะที่และ/หรือยาที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกายก็ได้ เพื่อควบคุมอาการกำเริบเฉียบพลัน ยาในกลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ (ยาเฉพาะที่และออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย) และยา oclacitinib ถือเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเนื่องจากออกฤทธิ์ได้รวดเร็ว โดยถึงแม้ว่ายาในกลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์อาจมีผลข้างเคียงต่างๆ เช่น ปัสสาวะบ่อย (polyuria) ดื่มน้ำมาก (polydipsia) กินอาหารมาก (polyphagia) ติดเชื้อง่าย (increased susceptibility to infections) และภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติจากการได้รับยา (iatrogenic hyperadrenocorticism) เพราะฉะนั้นจึงควรติดตามการใช้ยาในกลุ่มนี้ในระยะยาวหรือในขนาดยาที่สูงอย่างระมัดระวัง โดยหากเป็นไปได้สัตวแพทย์ควรเปลี่ยนไปใช้ยาในกลุ่มอื่นเมื่อรอยโรคบนผิวหนังลดลงเหลือความรุนแรงเล็กน้อย ส่วนยา oclacitinib นั้นจะได้รับความนิยมเนื่องจากมีประสิทธิภาพในการจัดการกับอาการคันที่เหลืออยู่และอาการคันกำเริบเล็กน้อย เนื่องจากจะช่วยลดวิถีส่งสัญญาณที่ทำให้เกิดอาการคัน (pruritogenic signaling pathway) และไซโตไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (pro-inflammatory cytokines) อย่างไรก็ตามหลังจากช่วงเริ่มต้นของการรักษา ต้องให้ยา 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ทั้งนี้สัตว์ป่วยมักจะแสดงอาการซ้ำเมื่อลดความถี่เหลือเพียงวันละครั้ง 19.ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหานี้ สัตวแพทย์อาจเพิ่ม hydrocortisone aceponate แบบทาภายนอกเข้าไปเป็นการรักษาแบบผสมผสาน 20.
ข้อกำหนด (regimes) เหล่านี้ถือเป็นการบำบัดแบบตอบสนอง (reactive therapy) โดยส่วนใหญ่จะใช้ในระหว่างที่มีอาการกำเริบหรือเพื่อจัดการกับอาการคัน โดยเมื่อผิวหนังอยู่ในการควบคุมแล้ว สัตวแพทย์ก็ควรเปลี่ยนวิธีการรักษาโดยใช้ยาที่มุ่งเป้าแคบ (narrow-target drugs) ซึ่งมีผลกระทบต่อสัตว์ป่วยน้อยกว่า โดยทั่วไปก็คือยา cyclosporine และ tacrolimus ยา cyclosporine เป็นยาต้านแคลซินิวริน (calcinurin inhibitor) ซึ่งจับกับไซโทพลาสซึมของลิมโฟไซต์ (lymphocyte cytoplasm) ยับยั้งการทำงานของเซลล์ T (inhibiting activation of T cells) และ down-regulation mediators ของพวกมัน ซึ่งต้องใช้เวลา 2-4 สัปดาห์จึงจะเห็นผลทางคลินิก แต่เนื่องจากยามีอายุครึ่งชีวิตที่ยาวนาน (prolonged half-life) สัตว์ป่วยจึงมีโอกาสลดขนาดยาลงจนถึงลดความถี่ลงได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยาอื่นๆ จึงถือว่ายาปลอดภัยสำหรับการใช้ในระยะยาว ถึงแม้ว่าสัตว์ป่วยอาจประสบกับผลข้างเคียงในช่วงแรก เช่น อาเจียนและท้องเสีย ซึ่งโดยปกติอาการเหล่านี้จะหายไปเองไม่จำเป็นต้องรักษาเพิ่มเติม ยา Tacrolimus ointment นั้นไม่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ (เช่น ผิวหนังฝ่อ (skin atrophy) หรือสิวอุดตัน (comedones)) เหมือนกับที่สังเกตได้จากการใช้ยาในกลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ แต่สุนัขบางตัวอาจเกิดการระคายเคืองเล็กน้อย ส่วนในกรณีทีควบคุมอาการได้ดี แนะนำให้ใช้ยา lokivetmab (monoclonal antibody that targets interleukin (IL)-31 ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการคันที่พบได้บ่อยใน cAD) โดยจัดเป็นการรักษาเชิงรุก (proactive therapy) 21. แนวคิดก็คือลดการอักเสบที่ไม่แสดงอาการ (subclinical inflammation) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการกำเริบขึ้นอย่างกระทันหันได้เสมอ
เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมามีอาการของ cAD ซ้ำ การฟื้นฟูการทำงานของเกราะป้องกันผิวโดยตรงถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ โดยมีการใช้กรดไขมันจำเป็นแบบกิน (oral essential fatty acid (EFAs)) หรืออาหารที่เสริมกรดไขมัน (fatty acid-enriched dietsฉ มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว กรดไขมันจำเป็นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถลดคะแนนการใช้ยา (medication score) และอาการคันในสุนัขที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ได้ภายในระยะเวลา 9 เดือน22, แต่ยาแก้แพ้กลุ่ม antihistamines และโปรไบโอติกส์ (ptobiotics) ก็ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้เป็นทางเลือกในการรักษา cAD
สรุป
ภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ในสุนัข (Canine atopic dermatitis (cAD)) เป็นภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังเป็นๆหายๆที่มีอาการคัน (chronic relapsing pruritic skin disease) ที่มักพบในการปฏิบัติทางสัตวแพทย์ พยาธิสภาพของภาวะนี้เกิดจากเกราะป้องกันผิวถูกทำลาย ยีนที่เกี่ยวข้องกับชั้นหนังกำพร้าที่บกพร่อง ไมโครไบโอต้าและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของภาวะนี้ แผนการรักษาและกลยุทธ์ต่างๆได้รับการพัฒนาอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่การวินิจฉัยที่ถูกต้องถือเป็นขั้นตอนแรกในการจัดการกับสัตว์ป่วยที่มีภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ การติดเชื้อแบคทีเรียและ/หรือยีสต์ร่วมด้วยอาจทำให้การรักษาไม่มีประสิทธิภาพ ท้ายที่สุดการเลือกวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของอาการ โดยถึงแม้ว่าภาวะผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่การรักษาแบบผสมผสานหลายรูปแบบจะช่วยให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้การสร้างเกราะป้องกันผิวที่มีสุขภาพดีก็จะช่วยป้องกันอาการคันและการอักเสบที่อาจเกิดขึ้นได้
References
-
Elias PM. Epidermal lipids, barrier function, and desquamation. J. Invest. Dermatol. 1983;80 Suppl:44s-49s.
-
Chermprapai S, Broere F, Gooris G, et al. Altered lipid properties of the stratum corneum in Canine Atopic Dermatitis. Biochim. Biophys. Acta Biomembr. 2018;1860(2):526-533.
-
Hensel P, Saridomichelakis M, Eisenschenket M, et al. Update on the role of genetic factors, environmental factors and allergens in canine atopic dermatitis. Vet. Dermatol. 2023; https://doi.org/10.1111/vde.13210.
-
Darlenski R, Kozyrskyj AL, Fluhr JW, et al. Association between barrier impairment and skin microbiota in atopic dermatitis from a global perspective: Unmet needs and open questions. J. Allergy Clin. Immunol. 2021;148(6):1387-1393.
-
Bizikova P, Pucheu-Haston CM, Eisenschenk NCM, et al. Review: Role of genetics and the environment in the pathogenesis of canine atopic dermatitis. Vet. Dermatol. 2015;26(2):95-e26.
-
Meason-Smith C, Diesel A, Patterson AP, et al. What is living on your dog’s skin? Characterization of the canine cutaneous mycobiota and fungal dysbiosis in canine allergic dermatitis. FEMS Microbiol. Ecol. 2015;91(12);fiv139.
-
Santoro D, Hoffmann AR. Canine and human atopic dermatitis: Two faces of the same host-microbe interaction. J. Invest. Dermatol. 2016;136(6):1087-1089.
-
Favrot C, Steffan J, Seewald W, et al. A prospective study on the clinical features of chronic canine atopic dermatitis and its diagnosis. Vet. Dermatol. 2010;21(1):23-31.
-
Olivry T, Deboer DJ, Favrot C, et al. Treatment of canine atopic dermatitis: 2015 updated guidelines from the International Committee on Allergic Diseases of Animals (ICADA). BMC Vet. Res. 2015;11:210.
-
Lord J, Millis N, Jones RD, et al. An epidemiological study of the predictors of multidrug resistance and methicillin resistance among Staphylococcus spp. isolated from canine specimens submitted to a diagnostic laboratory in Tennessee, USA. PeerJ. 2023;11:e15012.
-
Chermprapai S. A canine keratinocyte cell line expresses antimicrobial peptide and cytokine genes upon stimulation with bacteria, microbial ligands and recombinant cytokines. Vet. Immunol. Immunopathol. 2018;206:35-40.
-
Taketa TT, Rosenkrantz WS, Griffin CE, et al. In-vitro efficacy of a topical antimicrobial mousse and shampoo at proximal and distal hair locations against Staphylococcus pseudintermedius and Staphylococcus schleiferi. Vet. Dermatol. 2023;9;online ahead of print.
-
Hillier A, Lloyd DH, Weese JS, et al. Guidelines for the diagnosis and antimicrobial therapy of canine superficial bacterial folliculitis (Antimicrobial Guidelines Working Group of the International Society for Companion Animal Infectious Diseases). Vet. Dermatol. 2014;25(3):163-e43.
-
Bond R, Morris DO, Guillot J, et al. Biology, diagnosis and treatment of Malassezia dermatitis in dogs and cats: Clinical Consensus Guidelines of the World Association for Veterinary Dermatology. Vet. Dermatol. 2020;31(1):28-74.
-
Esumi M, Kanda S, Shimoura H, et al. Preliminary evaluation of two bathing methods for the management of Malassezia overgrowth in dogs with atopic dermatitis. Vet. Dermatol. 2021;32(3):228-e59.
-
Shimakura H, Kawano K. Results of food challenge in dogs with cutaneous adverse food reactions. Vet. Dermatol. 2021;32(3):293-e80.
-
Fennis EEM, van Damme CMM, Schlotter YM, et al. Efficacy of subcutaneous allergen immunotherapy in atopic dogs: A retrospective study of 664 cases. Vet. Dermatol. 2022; 33(4):321-e75.
-
Mueller RS. A systematic review of allergen immunotherapy, a successful therapy for canine atopic dermatitis and feline atopic skin syndrome. J. Am. Vet. Med. Assoc. 2023; 261(S1):S30-s35.
-
Fukuyama T, Ganchingco JR, Bäumer SW. Demonstration of rebound phenomenon following abrupt withdrawal of the JAK1 inhibitor oclacitinib. Eur. J. Pharmacol. 2017;794:20-26.
-
Takahashi J, Kanda S, Imanishi I, et al. Efficacy and safety of 0.0584% hydrocortisone aceponate topical spray and systemic oclacitinib combination therapy in dogs with atopic dermatitis: a randomized, double-blinded, placebo-controlled trial. Vet. Dermatol. 2021;32(2):119-e25.
-
Tamamoto-Mochizuki C, Paps JS, Olivry T. Proactive maintenance therapy of canine atopic dermatitis with the anti-IL-31 lokivetmab. Can a monoclonal antibody blocking a single cytokine prevent allergy flares? Vet. Dermatol. 2019. online ahead of print.
-
Watson A, Rostaher A, Fischer N, et al. A novel therapeutic diet can significantly reduce the medication score and pruritus of dogs with atopic dermatitis during a nine-month controlled study. Vet. Dermatol. 2022;33(1):55-e18.
-
Eyerich K, Eyerich S, Biedermann T. The multimodal immune pathogenesis of atopic eczema. Trends Immunol. 2015;36(12):788-801.
-
Nuttall T. Should atopic dermatitis be redefined and the diagnostic approach amended? In: Proceedings, WCVD Congress Sydney, Australia 2020.
Yun-Hsia Hsiao
Dr. Hsiao obtained her veterinary degree from Chia-yi University and went on to complete a Master’s program in surgery at Chung-Hsing University in Taiwan อ่านเพิ่มเติม