วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 26.1 โภชนาการ

นมน้ำเหลืองในสุนัข

เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

เขียนโดย Sylvie Chastant และ Hanna Mila

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Română , Español และ English

ระยะแรกคลอดเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงในสุนัขเนื่องจากร้อยละ 20 ของลูกสุนัขจะเสียชีวิตก่อนที่จะมีอายุได้ 21 วันโดยที่การเสียชีวิตร้อยละ 70 เกิดภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

นมน้ำเหลืองในสุนัข

ประเด็นสำคัญ

นมน้ำเหลืองหรือ colostrum มีความสำคัญต่อความอยู่รอดของลูกสุนัขเพราะเป็นแหล่งสารอาหารและอิมมูโนโกลบูลิน (Ig) ที่สำคัญในลูกสุนัขแรกเกิด


ความเข้มข้นของอิมมูโนโกลบูลินในนมน้ำเหลืองช่วงสองวันแรกหลังคลอดจะมีความเข้มข้นมากกว่าในน้ำนมปกติถึง 5 เท่า แต่จะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเวลาผ่านไป


คุณภาพของอิมมูโนโกลบูลินจะแตกต่างกันไปในแม่สุนัขแต่ละตัวและในแต่ละเต้านมของสุนัขตัวเดียวกัน อีกทั้งตำแหน่งของเต้านมที่มีนมน้ำเหลืองคุณภาพดีที่สุดจะต่างกันไปในสุนัขแต่ละตัวอีกด้วย


การเฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของลูกสุนัขในช่วงสองวันแรกเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีในการคาดเดาการอยู่รอดของลูกสุนัขในช่วงแรกเกิด


ปัจจุบันยังไม่มีสิ่งที่มาทดแทนนมน้ำเหลืองอย่างสมบูรณ์ในแง่ของพลังงานและภูมิคุ้มกัน


บทนำ

ระยะแรกคลอดเป็นช่วงที่มีความเสียงสูงในสุนัขเนื่องจากร้อยละ 20 ของลูกสุนัขจะเสียชีวิตก่อนที่จะมีอายุได้ 21 วันโดยที่การเสียชีวิตร้อยละ 70 เกิดภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด 12 การอยู่รอดของลูกสุนัขในช่วงสัปดาหแรกขึ้นกับนมน้ำเหลืองซึ่งเป็นสารคัดหลั่งจากเต้านมช่วงสองวันหลังคลอดเป็นอย่างมาก นมน้ำเหลืองเป็นแหล่งพลังงานและอิมมูโนโกลบูลิน (Ig) เพราะลูกสุนัขหลังคลอดจะไม่มีภูมิคุ้มกันเลย (agammaglobulinemia) ความเสี่ยงในการเสียชีวิตช่วงแรกคลอดของลูกสุนัขจึงขึ้นอยู่กับสองปัจจัย หนึ่งคือการได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านนมน้ำเหลืองซึ่งประเมินได้จากระดับ Ig ในตัวลูกสุนัขที่อายุ 2 วัน อีกปัจจัยหนึ่งคือการเจริญเติบโตของลูกสุนัขในช่วง 2 วันแรกโดยลูกสุนัขไม่ควรมีน้ำหนักลดลงจากน้ำหนักแรกคลอดเกินร้อยละ 4 34 พลังงานและภูมิคุ้มกันที่ลูกสุนัขได้รับจากนมน้ำเหลืองจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ไม่ใช่ลูกสุนัขทุกตัวที่จะได้รับนมน้ำเหลืองอย่างเพียงพอ พบว่าลูกสุนัขที่อายุสองวันร้อยละ 20 มีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ในปริมาณที่ต่ำและร้อยละ 30 มีการเจริญเติบโตที่ต่ำกว่าปกติ 34

โครงสร้างและองค์ประกอบของนมน้ำเหลือง

นมน้ำเหลืองเป็นสารชนิดแรกที่หลั่งจากเต้านมของแม่หลังการคลอดและอาจพบได้บ้างก่อนคลอด นมน้ำเหลืองจะถูกแทนที่ด้วยน้ำนมช่วงสองถึงสามวันถัดมา (ตาราง 1) ปริมาณนมน้ำเหลืองที่แม่สุนัขผลิตได้จริงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

 
 
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบองค์ประกอบของนมน้ำเหลืองและน้ำนมปกติในแม่สุนัขที่กำลังให้นม (5 และข้อมูลที่ไม่ได้ตีพิมพ์)
Days of lactation
1 3 7 14 21
Nutrients Colostrum Milk Milk Milk Milk
Proteins (g/L) 143.0 102.3 81.7 66.8 68.4
Immunoglobulin G (g/L) 24.8 * 5.9 0.6 0.6
Lipids (g/L) 132.2 137.2 132.1 118.5 112.5
Lactose (g/L) 16.6 29.3 35.4 39.9 39.4
Calcium (mg/L) 1,363 1,366 1,773 1,950 1,929
Phosphorus (mg/L) 935 914 1,166 1,175 1,359
Energy (kcal/L) 1,831 1,761 1,657 1,493 1,444

* value unknown

เนื้อเยื่อเต้านมได้รับการกระตุ้นให้สร้างน้ำนมโดยฮอร์โมนเอสโตรเจนโปรเจนเตอโรนในระยะตั้งท้อง จากนั้นการหลั่งน้ำนมจะถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนโปรแลคตินเมื่อระดับโปรเจสเตอโรนลดลง องค์ประกอบบางชนิดของนมน้ำเหลืองถูกผลิตโดย epithelial cell ของเต้านมเช่นโปรตีน แลคโตส และไขมัน องค์ประกอบอื่นเช่นอิมมูโนโกลบูลิน (Ig) เซลล์เม็ดเลือดขาว ฮอร์โมน และ growth factor บางตัวได้รับถ่ายทอดจากเลือดของแม่สุนัขโดยตรง ลักษณะของนมน้ำเหลืองเมื่อมองด้วยตาเปล่าจะมีความข้นและสีเหลืองกว่าเมื่อเทียบกับน้ำนม ในเชิงคุณภาพจะพบว่านมน้ำเหลืองมีปริมาณโปรตีนสูงกว่าในน้ำนมหลังคลอด 2 สัปดาห์ถึง 2 เท่าจากการที่อุดมไปด้วยอิมมูโนโกลบูลิน นมน้ำเหลืองมีปริมาณไขมันเกินร้อยละ 10 ซึ่งสูงกว่าน้ำนมเล็กน้อย และมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำกว่าน้ำนมครึ่งหนึ่ง 56 สัดส่วนองค์ประกอบหลักของนมน้ำเหลืองแตกต่างกันไปในแต่ละการศึกษาจากการที่มีจำนวนการศึกษาไม่มาก ความแตกต่างกันของสุนัขที่ทำการศึกษาแต่ละตัว รวมถึงความแตกต่างของวิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ พบว่ามีปริมารโปรตีนร้อยละ 4-14 ไขมันร้อยละ 6-13 และคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 1.7-2.3 (578 และข้อมูลที่ไม่ได้ตีพิมพ์)

โปรตีนที่พบในนมน้ำเหลืองของสุนัขร้อยละ 60 คือเคซีน (casein) และมีอิมมูโนโกลบูลินอยู่ร้อยละ 20-37 67910 พบอิมมูโนโกลบูลินทั้งสามชนิด (IgG IgM และ IgA) โดยมีปริมาณ IgG สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 60-75 ของอิมมูโนโกลบูลินที่พบทั้งหมด ส่วน IgE นั้นตรวจไม่พบเลย ปริมาณ IgG แรกพบในนมน้ำเหลืองหลังคลอดอยู่ที่ 15-30 g/L แต่จะลดลงอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ 5 g/L ในวันที่ 7 หลังคลอดและน้อยกว่า 1 g/L สองสัปดาห์หลังคลอด (ข้อมูลที่ไม่ได้ตีพิมพ์) ปริมาณของ IgG ในน้ำนมจึงน้อยกว่าในนมน้ำเหลืองถึง 20 เท่า ปริมาณของ IgA ในนมน้ำเหลืองคิดเป็นร้อยละ 16-40 ของ Ig ที่พบในนมน้ำเหลืองแต่ภายหลังพบได้เยอะที่สุดในน้ำนม 710 (รูป 1) IgG ในนมน้ำเหลืองมาจากซีรั่มของแม่แต่มีส่วนน้อยที่ผลิตได้เองที่ต่อมน้ำนม 11 ต่อมน้ำนมมีหน้าที่ในการเพิ่มความเข้มข้นของ IgG ในนมน้ำเหลืองจนมีปริมาณ IgG มากกว่าในเลือดของแม่สุนัขถึง 3 เท่า แต่ไม่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างปริมาณความเข้มข้นของ IgG ในนมน้ำเหลืองและในซีรั่มของแม่ 1012 การสร้างความเข้มข้นแบบเจาะจงอยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนและถูกเก็บเอาไว้ใน alveoli จากนั้นจึงหลั่งออกมาหลังคลอด 13 IgA และ IgM ถูกสร้างขึ้นภายในเต้านมโดยลิมโฟไซต์ 13

 
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความเข้มข้นของ

รูป 1 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความเข้มข้นของ Ig แต่ละชนิดในนมน้ำเหลืองและน้ำนม (แกน x) กับระยะเวลาหลังคลอด (แกน y)ในแม่สุนัขพันธุ์ rottweiler จำนวน 6 ตัว 7.

พบ trypsin inhibitor ในนมน้ำเหลืองซึ่งช่วยลดการถูกย่อยสลายของ Ig ในกระเพาะของลูกสุนัขทำให้เพิ่มการดูดซึมได้ดีขึ้นแต่ไม่พบสารชนิดนี้ในน้ำนม 14 นอกจากนี้ยังพบสารอื่นในนน้ำเหลืองที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ (lactoferrin และ lysozyme) ฮอร์โมน (cortisol thyroxine insulin และ growth hormone) รวมถึง growth factor (insulin-like growth factor epidermal growth factor และ nerve growth factor) 15 สารที่กล่าวมาข้างต้นมีส่วนสำคัญในการเติบโตและพัฒนาการของอวัยวะต่างๆเช่นต่อมไทรอยด์และลำไส้ รวมถึงสุขภาพโดยรวมของลูกสุนัข (โปรดดูด้านล่าง)

นมน้ำเหลืองของสุนัขมีปริมาณเอนไซม์ gamma-glutamyl transferase และ alkaline phosphatase สูงกว่าในซีรั่มของแม่สุนัข 100 และ 10 เท่าตามลำดับ 16 เอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้จะไม่พบในเลือดของลูกสุนัขแรกคลอดทำให้การตรวจหาระดับเอนไซม์ในลูกสุนัขเป็นการยืนยันได้ว่าลูกสุนัขได้รับนมน้ำเหลืองหรือไม่แต่ระดับของเอนไซม์ที่ตรวจได้ไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณ IgG

นมน้ำเหลืองของสุนัขยังประกอบไปด้วยเซลล์หลายชนิดทั้งมาโครฟาจ นิวโทรฟิลล์และลิมโฟไซต์ เซลล์เหล่านี้ถูกดูดซึมผ่านลำไส้ของลูกสุนัขก่อนที่ผนังลำไส้จะปิดตัว เข้าไปในกระแสเลือดหรือมีบทบาทในการระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบ cellular humoral หรือ local 17

หน้าที่ของนมน้ำเหลืองในสุนัข

เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ลักษณะรกของสุนัขทำให้เซลล์ขนาดใหญ่เช่น Ig แทบไม่สามารถผ่านเข้าไปได้จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมลูกสุนัขแรกคลอดจึงมีระดับ IgG ในกระแสเลือดต่ำประมาณ 0.3 g/L เมื่อเทียบกับสุนัขโตที่ 8-25 g/L 31819 การกินนมน้ำเหลืองจึงเป็นการส่งผ่านภูมิคุ้มกันจากแม่ทำให้ระดับ IgG ของลูกสุนัขขึ้นมาเป็น 6 g/L ภายใน 48 ชั่วโมง คาดว่าร้อยละ 85-95 ของ IgG ในลูกสุนัขได้มาจากนมน้ำเหลือง 20 การดูดซึม Ig ทำได้มากขึ้นจากผลของ trypsin inhibitor เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของนมน้ำเหลืองและเป็นปัจจัยในความอยู่รอดของลูกสุนัขเพราะสาเหตุการตายในลูกสุนัขแรกคลอดส่วนมากมาจากการติดเชื้อ 21 บทบาทของ lactoferrin ในนมน้ำเหลืองเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของลูกสุนัขมีไม่มาก 22 และยังไม่มีการระบุบทบาทของเซลล์ภูมิคุ้มกันที่พบในนมน้ำเหลืองอย่างชัดเจน การที่ลูกสุนัขจะได้รับภูมิคุ้มกันที่ส่งผ่านจากแม่จำเป็นต้องได้รับนมน้ำเหลืองภายใน 8 ชั่วโมงหลังคลอด (รูป 2) โดยมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ
  • ปริมาณ IgG ในนมน้ำเหลืองจะลดลงอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด
  • การที่ผนังลำไส้ของลูกสุนัขเกิดการปิดตัวซึ่งจะเป็นช่วงที่เซลล์ขนาดใหญ่รวมถึง IgG จะไม่สามารถผ่านผนังลำไส้เข้าไปยังกระแสเลือดได้อีกต่อไปทำให้ลูกสุนัขmujสามารถดูดซึม IgG ได้ร้อยละ 40 หลังคลอด จะเหลือเพียงร้อยละ 20 ภายในไม่กี่ชั่วโมงและร้อยละ 9 หลังคลอดได้ 12 ชั่วโมง โดยที่ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงหลังคลอดจะไม่พบการดูดซึม IgG เลย 20.
     
การกระตุ้นให้ลูกสุนัขได้รับนมน้ำเหลืองโดยเร็วภายใน 8 ชั่วโมงหลังคลอดจะทำให้ได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ในระดับที่เหมาะสม

รูป 2 การกระตุ้นให้ลูกสุนัขได้รับนมน้ำเหลืองโดยเร็วภายใน 8 ชั่วโมงหลังคลอดจะทำให้ได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ในระดับที่เหมาะสม © Chloé Robic, ENVT 

คุณภาพของนมน้ำเหลืองในแง่ปริมาณของ IgG มีความแตกต่างกันในสุนัขแต่ละตัว และระหว่างเต้านมแต่ละคู่ในสุนัขตัวเดียวกัน (รูป 3) การศึกษาฉบับหนึ่งทำการตรวจนมน้ำเหลืองจากสุนัขเพศเมีย 44 ตัว 13 สายพันธุ์ที่คลอดลูก 1 ครอก ระดับ IgG แตกต่างกันในสุนัขแต่ละตัวโดยมีองค์ประกอบทางสถิติ(factor) เท่ากับ 5 ปัจจัยด้านอายุ พันธุ์ของแม่สุนัข และขนาดครอกส่งผลต่อคุณภาพของนมน้ำเหลือง 12 ระดับความเข้มข้น IgG ที่ได้จาก 180 ตัวอย่างซึ่งเก็บจากเต้านมแต่ละคู่มีปริมาณต่างกันตั้งแต่ 0.8 ถึง 61 g/L มีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนระหว่างเต้านมแต่ละคู่ในสุนัขตัวเดียวกันอยู่ที่ร้อยละ 42 12 อย่างไรก็ตามพบว่าเต้านมคู่ที่สามารถผลิตนมน้ำเหลืองที่มีคุณภาพดีที่สุดต่างกันไปในสุนัขแต่ละตัวจึงไม่แนะนำให้จัดลูกสุนัขให้ดูดนมเฉพาะเต้าใดเต้าหนึ่ง ความแตกต่างด้านคุณภาพของนมน้ำเหลืองระหว่างสุนัขแต่ละตัวและระหว่างเต้าในสุนัขตัวเดียวกันที่ตรวจพบหมายความว่าลูกสุนัขบางตัวมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้สูงกว่าตัวอื่น

กราฟแท่งเทียนแสดงปริมาณภูมิคุ้มกันที่พบในนมน้ำเหลืองของเต้านมแต่ละตำแหน่ง แกน x แทนตำแหน่งเต้านม

รูป 3 กราฟแท่งเทียนแสดงปริมาณภูมิคุ้มกันที่พบในนมน้ำเหลืองของเต้านมแต่ละตำแหน่ง แกน x แทนตำแหน่งเต้านม ( M1 คือเต้านมคู่หน้าสุด และ M5 คือเต้านมคู่หลังสุด) แกน y แทนปริมาณความเข้มข้นของ IgG (g/L) 12

การแสดงกราฟรูปแบบ box plot ของปริมาณ IgG ในนมน้ำเหลืองของสุนัขเพศเมียจำนวน 44 ตัว ในแต่ละสีเหลี่ยมผืนผ้าแสดงจำนวนประชากร ณ ควอร์ไทล์ที่ 1 และ 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดที่ศึกษา เส้นทึบในกล่องสีเหลี่ยมแสดงถึงค่ากลางของข้อมูล (median) เส้นประที่ลากมาจนถึงขีด (whisker) แสดงจำนวนประชากร ณ เดไซล์ที่ 1 และ 9 (เปอร์เซนไทล์ที่ 10 และ 9) ค่ากลางที่ได้ในแต่ละเต้ามีความแตกต่างกันไม่มากแสดงให้เห็นว่าเต้านมแต่ละคู่มีคุณภาพของนมน้ำเหลืองใกล้เคียงกันแต่จากการที่ whisker ยาวมากแสดงให้เห็นว่าคุณภาพของนมน้ำหลืองที่เต้าเดียวกันในสุนัขแต่ละตัวไม่เท่ากัน

นมน้ำเหลืองเป็นแหล่ง IgG ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันแบบ systemic immunity ในขณะที่ IgA จะเสริมภูมิคุ้มกันที่ระดับ local โดยเน้นไปที่ mucosal immunity เช่นทางเดินอาหาร IgA จากนมน้ำเหลืองจะช่วยป้องกันทางเดินอาหารและมีบทบาทที่มากขึ้นในช่วงที่เปลี่ยนจากนมน้ำเหลืองมาเป็นน้ำนมซึ่งมีปริมาณ IgA มากขึ้น บางส่วนจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดก่อนที่ผนังลำไส้จะปิดตัวและส่วนที่เหลือจะกระจายไปตามชั้น mucosa หลายบริเวณทั้งในระบบทางเดินอาหารและนอกระบบทางเดินอาหาร 2023

แม้ว่าอิมมูโนโกลบูลินจากแม่จะช่วยลดอัตราการตายของสุนัขแรกคลอดได้ แต่หลังจากลูกสุนัขอายุได้ 6-8 สัปดาห์ภูมิคุ้มกันจากแม่จะขัดขวางการทำวัคซีนในลูกสุนัข โดยหากปริมาณ IgG ที่ลูกสุนัขได้รับช่วงสองวันแรกหลังคลอดมากเท่าใดจะส่งผลให้มีปริมาณ IgG มากขึ้นในช่วง 6-8 สัปดาห์หลัง 24 เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้การทำวัคซีนไม่ได้ประสิทธิภาพดีพอ การที่ภูมิคุ้มกันจากแม่จะขัดขวางการทำวัคซีนในลูกสุนัขขึ้นอยู่กับสัตว์แต่ละตัว ความสามารถในการก่อภูมิของวัคซีนและขนาดของวัคซีนที่ให้

การเจริญเติบโต

ลูกสุนัขแรกคลอดมีปริมาณไขมันสะสมน้อยและมีกระบวนการสร้างน้ำตาลที่จำกัด แหล่งพลังงานที่สำคัญจึงมาจากนมน้ำเหลือง การเจริญเติบโตจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อพลังงานที่ลูกสุนัขได้รับสูงกว่าความต้องการระดับ maintenance (รูป 4)
 
การเจริญเติบโตของลูกสุนัขในช่วงสองวันแรกมีผลต่อการอยู่รอดเป็นอย่างมาก น้ำหนักไม่ควรลดลงเกินกว่าร้อยละ 4 ของน้ำหนักแรกคลอด

รูป 4 การเจริญเติบโตของลูกสุนัขในช่วงสองวันแรกมีผลต่อการอยู่รอดเป็นอย่างมาก น้ำหนักไม่ควรลดลงเกินกว่าร้อยละ 4 ของน้ำหนักแรกคลอด © Reproduction, ENVT 

พลังงานจากนมน้ำเหลืองสูงกว่าน้ำนมอย่างน้อยร้อยละ 20 แต่อาจมีปริมาณแหล่งพลังงานแตกต่างกันไปในแม่สุนัขแต่ละตัว และต่างกันได้เล็กน้อยระหว่างเต้านมแต่ละคู่ในแม่สุนัขตัวเดียวกัน อายุ พันธุ์และจำนวนลูกสุนัขในครอกไม่ส่งผลต่อปริมาณพลังงานของนมน้ำเหลือง ร้อยละ 52 ของพลังงานได้มาจากโปรตีนและอีกร้อยละ 40 มาจากไขมัน ความแตกต่างของพลังงานที่วัดได้จะเกิดจากปริมาณไขมันที่แตกต่างกัน 25

อิมมูโนโกลบูลินและพลังงานที่ได้จากนมน้ำเหลืองส่งผลต่ออัตราการตายของลูกสุนัขช่วงแรกคลอด 34 แต่ทั้งสองอย่างไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน 28 ปริมาณนมน้ำเหลืงอที่ลูกสุนัขควรได้รับเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในระดับที่น่าพอใจคือ 1.3 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 100 กรัม(เมื่อคาดว่าระดับ IgG ในกระแสเลือดจะมีค่าเท่ากับ 2.3 g/L โดยมีอัตราการดูดซึมได้ที่ร้อยละ 40 มีค่า hematocrit ร้อยละ 35 และมีระดับ IgG ในนมน้ำเหลืองเท่ากับ 20 g/L ตรงข้ามกันกับปริมาณนมน้ำเหลืองที่ลูกสุนัขควรได้รับเพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอต้องกินถึง 12 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 100 กรัม(คิดจากความต้องการพลังงาน 212 kcal/kg/วันและนมน้ำเหลืองให้พลังงาน 1800 kcal/L

ถึงแม้ว่าการจัดการให้ลูกสุนัขได้รับพลังงานเพียงพอจะดูยากกว่าการทำให้ลูกสุนัขได้รับภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ พบว่าลูกสุนัขที่ขาดพลังงานคิดเป็นร้อยละ 30 แต่มีลูกสุนัขที่ขาด Ig คิดเป็นร้อยละ 20 ปัจจุบันยังไม่มีค่าที่แน่นอนเกี่ยวกับ threshold ของระดับ IgG ในนมน้ำเหลืองและพลังงานที่ลูกสุนัขควรได้รับเพื่อลดอัตราการตายของลูกสุนัขแรกเกิด

 
การเจริญเติบโตและการได้รับภูมิคุ้มกันถ่ายทอดจากแม่เป็นกุญแจสำคัญในการอยู่รอดของลูกสุนัข แกน x แสดงการเจริญเติบโตระหว่างแรกคลอดจนถึงสองวันหลังคลอด (%) แกน y แสดงระดับ IgG ในกระแสเลือดของลูกสุนัขที่อายุ 2 วัน(g/L)

รูป 5 การเจริญเติบโตและการได้รับภูมิคุ้มกันถ่ายทอดจากแม่เป็นกุญแจสำคัญในการอยู่รอดของลูกสุนัข แกน x แสดงการเจริญเติบโตระหว่างแรกคลอดจนถึงสองวันหลังคลอด (%) แกน y แสดงระดับ IgG ในกระแสเลือดของลูกสุนัขที่อายุ 2 วัน(g/L)

กราฟนี้แสดงข้อมูลจากลูกสุนัขจำนวน 149 ตัว จุดสีแดงแสดงลูกสุนัขจำนวน 18 ตัวที่ตายก่อนอายุได้ 21 วัน จุดสีเขียวแสดงลูกสุนัขที่ยังมีชีวิต ณ วันที่ 21 องค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อการอยู่รอดในช่วง 2 วันแรกของลูกสุนัขคือการสูญเสียน้ำหนักไม่เกินร้อยละ 4 ของน้ำหนักแรกเกิด และมีระดับ IgG สูงกว่า 2.3 g/L ที่อายุสองวัน

ดัดแปลงจาก 3 และ 4

การพัฒนาของอวัยวะ

นมน้ำเหลืองยังช่วยในการพัฒนาการเจริญของอวัยวะบางอย่างโดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหารซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนและ growth factor ในนมน้ำเหลือง การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าลูกสุนัขที่ได้กินนมน้ำเหลืองมีการพัฒนาของระบบทางเดินอาหารดีกว่าลูกสุนัขที่มีน้ำหนักเท่ากันแต่กินนมผมสูตรสำเร็จถึงร้อยละ 60-95 26 อย่างไรก็ตามในการศึกษาอื่นไม่ได้มีการสังเกตจุดนี้มากเพียงพอ 27

การกระตุ้นการสร้างและหลั่งนมน้ำเหลือง

สุนัขบางตัวอาจมีนมน้ำเหลืองน้อยจนถึงไม่มีเลยหลังคลอดซึ่งอาจเป็นผลมาจากการคลอดก่อนกำหนด การผ่าคลอด endotoxemia หรือภาวะทุพโภชนาการ สาเหตที่พบบ่อยที่สุดคือความเครียดจากการคลอดซึ่งพบได้มากในสุนัขท้องแรก เจ้าของสุนัขควรจัดหาสถานที่เงียบและสงบในการคลอดลูกหรือสุนัขบางตัวอาจต้องได้รับยาลดความเครียดเพื่อให้เกิดการสร้างนมน้ำเหลืองได้ (ตาราง 2)

 

ตาราง 2 ยาและขนาดของยาที่ใช้ในการแก้ไขภาวะน้ำนมไม่ไหล
Medication Effect Dosage
Acepromazine Tranquilization; favors release of prolactin and increases secretion of colostrum 0.1-0.2 mg/kg SC
Metoclopramide Release of prolactin 0.1-0.2 mg/kg PO or SC q8h
Aglepristone Reduces progesterone levels, and hence encourages prolactin release 15 mg/kg SC 59-60 days post-ovulation. Administration is only recommended 20-24h before cesarean section
Ocytocin Local action stimulating the release of colostrum, but not its production 0.5-2 I.U. SC q2h
Fenugreek or fennel supplementation Stimulates milk secretion but mechanism unknown
Oral administration; optimum dose 
unknown

 

สิ่งทดแทนนมน้ำเหลือง

หากแม่สุนัขมีนมน้ำเหลืองปริมาณน้อยหรือไม่สามารถผลิตนมน้ำเหลืองได้เลยจำเป็นต้องหาสิ่งทดแทนเพื่อลดการตายของลูสุนัขแรกคลอด อย่างน้อยลูกสุนัขจำเป็นต้องได้รับพลังงานที่เพียงพอแต่หากสามารถเพิ่ม Ig ได้ด้วยจะยิ่งดี กรณีที่เหมาะสมที่สุดคือการมีแม่สุนัขที่พึ่งคลอดไม่เกิน 2-3 วันอีกตัวรับเอาลูกสุนัขไปเลี้ยงหรือทำการเก็บนมน้ำเหลืองจากแม่สุนัขตัวนั้นมาป้อนลูกอีกครอกหนึ่ง หากแม่บุญธรรมคลอดมาแล้วเกิน 2-3 วันจะยังคงมีปริมาณพลังงานเพียงพอแต่มีปริมาณ IgG ไม่เพียงพอเพราะน้ำนมทั่วไปจะมี IgG แค่ 1-2 g/L ต่างกับนมน้ำเหลืองที่มีอยู่ 20 g/L ดังนั้นลูกสุนัขจะต้องกินน้ำนมถึง 13-26 มิลลิกรัมถึงจะได้รับ IgG ในปริมาณที่เท่ากันเมื่อกินนมน้ำเหลือง1 มิลลิลิตร ในลูกแมวไม่พบว่าภูมิคุ้มกันสามารถถ่ายทอดไปยังลูกที่รับเลี้ยงได้อย่างเห็นได้ชัด แต่ยังไม่มีข้อมูลในสุนัข 28 นมผงสำหรับสุนัขจะขาดอิมมูโนโกลบูลินที่จำเป็นและมีพลังงานอยู่ที่ 1 kcal/mL คิดเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณที่พบในนมน้ำเหลือง 29 ทำให้นมผงมีคุณค่าอาหารเพียงพอที่จะทดแทนนมน้ำเหลืองได้แต่ไม่สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ลูกสุนัขได้

ซีรั่มที่ทำการเจาะจากสุนัขโตเต็มวัยจะมีอิมมูโนโกลบูลินอยู่แต่น้อยกว่าในนมน้ำเหลืองถึง 3 เท่า การทดลองป้อนซีรั่มสุนัขให้แก่ลูกสุนัขที่พึ่งเกิดและขาดนมน้ำเหลืองพบว่ามีปริมาณ IgG ในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น แต่ยังต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับนมน้ำเหลืองตามปกติ 1819

อย่างไรก็ตามจากการศึกษาหนึ่ง 18 ที่ได้ทำการป้อนซีรั่มสุนัขแก่ลูกสุนัขแรกเกิดที่ขาดนมน้ำเหลืองพบว่ามีระดับ IgG ในกระแสเลือดสูงขึ้นจนน่าพอใจ เป็นการบอกว่าลูกสุนัขบางตัวอาจได้ประโยชน์จากการให้กินซีรั่มเป็นทางเลือกในการเพิ่มระดับความเข้มข้น IgG ให้ถึงระดับต่ำสุดที่ต้องการที่ 2.3 g/L ได้

ปัจจุบันมีความสนใจในการใช้นมน้ำเหลืองจากวัวเป็นแหล่งทดแทนอิมมูโนโกลบูลินเพราะเก็บได้ง่ายและมีมากเพียงแต่ยังไม่ได้รับการประเมินคุณค่าทางโภชนาการและการสร้างภูมิคุ้มกันในลูกสุนัชมากพอ IgY (จากไข่ไก่ที่สร้างภูมิคุ้มกัน) เป็นแหล่ง Ig ชั้นดีที่มีการศึกษาสนับสนุนว่าซีรั่มจากไข่ฟักที่ได้รับการฉีดเชื้อเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน(ต่อเชื้อ E.coli และ CPV2 เป็นต้น) เมื่อนำไปให้กับลูกสุนัขสามารสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ ผู้เขียนบทความมีการศึกษาที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์เกี่ยวกับการทดลองป้อน IgY ให้กับลูกสุนัขก่อนที่ผนังลำไส้จะปิดตัวพบว่าผลที่ได้คือลูกสุนัขมีสุขภาพโดยรวมดีขึ้นรวมถึงมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังคลอด (แหล่งข้อมูลที่ไม่ได้ตีพิมพ์)

หากไม่สามารถหาสิ่งทดแทนนมน้ำเหลืองได้ สถานการณ์ที่เป็นไปได้ในปัจจุบันคือการทำธนาคารนมน้ำเหลืองซี่งมีการปฏิบัติกันอยู่ในม้าและปศุสัตว์ เจ้าของสุนัขสามารถเก็บนมน้ำเหลืองสองวันหลังคลอดเพื่อให้แน่ใจว่าลูกสุนัขในครอกนั้นเองได้รับนมน้ำเหลืองอย่างเพียงพอ การรีดนมสุนัขที่กำลังให้นมนั้นทำได้ง่าย หลังจากทำความสะอาดหัวนมด้วยสารที่มีส่วนผสมของchlorhexidine สามารถดูดเก็บนมน้ำเหลืองได้ปริมาณน้อยใส่หลอดพลาสติกแล้วแช่แข็ง (รูป6) นมน้ำเหลืองที่แช่แข็งสามารถนำมาละลายที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสโดยห้ามใช้ไมโครเวฟในการอุ่น จากนั้นป้อนให้แก่ลูกสุนัขผ่านขวดนมหรือหลอดในขนาด 1.5 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 100 กรัมต่อวัน

 
หากแม่สุนัขไม่มีนมน้ำเหลืองเพียงพอสามารถเก็บนมน้ำเหลืองจากแม่สุนัขอีกตัวที่อยู่ในช่วง 24-48 ชั่วโมงหลังคลอดเพื่อที่ลูกของแม่สุนัขที่ให้นมได้ไม่ขาดนมน้ำเหลือง

รูป 6 หากแม่สุนัขไม่มีนมน้ำเหลืองเพียงพอสามารถเก็บนมน้ำเหลืองจากแม่สุนัขอีกตัวที่อยู่ในช่วง 24-48 ชั่วโมงหลังคลอดเพื่อที่ลูกของแม่สุนัขที่ให้นมได้ไม่ขาดนมน้ำเหลือง © Reproduction, ENVT

สรุป

นมน้ำเหลืองในสุนัขเป็นสารคัดหลั่งที่มีองค์ประกอบเฉพาะตัวซึ่งตรงกับความต้องการของลูกสุนัขเช่นการส่งผ่านภูมิคุ้มกันจากแม่ พลังงาน และปัจจัยที่ส่งเสริมการเจริญของอวัยวะบางอย่าง ปริมาณของนมน้ำเหลืองที่ลูกสุนัขได้รับจะเป็นตัวจำกัดความอยู่รอดของลูกสุนัขบางตัวในครอก ผลกระทบของสารอาหารจากแม่ที่มีต่อปริมาณและคุณภาพของนมน้ำเหลืองยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดต้องได้รับการศึกษาต่อไป หากสามารถพัฒนาสิ่งทดแทนหรืออาหารเสริมที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและให้พลังงานแก่ลูกสุนัขได้จะถือเป็นความก้าวหน้าในการควบคุมอัตราการตายของลูกสุนัขแรกคลอด


กิตติกรรมประกาศ
 

ผู้เขียนอยากขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านนมน้ำเหลืองในสุนัข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Karine Reynaud, Elie Marcheteau, Marie-Blanche Bertieri, Jennifer Anne, Maelys Martin, Milène Gonnier, Lisa Rossig และ Stéphanie Coinus.
 

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

ทำแบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ได้ที่นี่

ทำแบบทดสอบ VET-CE

แหล่งอ้างอิง

  1. Mila H, Grellet A, Chastant-Maillard S. Prognostic value of birth weight and early weight gain on neonatal and pediatric mortality: a longitudinal study on 870 puppies. In: Program and Abstracts, 7th ISCFR Symposium 2012;163-164. 

  2. Gill MA. Perinatal and late neonatal mortality in the dog. University of Sydney 2001. PhD thesis; available at; http://ses.library.usyd.edu.au/bitstream/2123/4137/1/m_gill_thesis_2001.pdf Accessed 23rd September 2015.

  3. Mila H, Feugier A, Grellet A, et al. Inadequate passive immune transfer in puppies: definition, risk factors and prevention in a large multi-breed kennel. Prev Vet Med 2014;116(1-2):209-213.
  4. Mila H, Grellet A, Feugier A, et al. Differential impact of birth weight and early growth rate on neonatal mortality in puppies. J Anim Sci 2015;93(9):4436-4442. 
  5. Adkins Y, Lepine AJ, Lonnerdal B. Changes in protein and nutrient composition of milk throughout lactation in dogs. Am J Vet Res 2001;62(8):1266-1272.
  6. Bebiak DM, Lawler DF, Reutzel LF. Nutrition and management of the dog. Vet Clin North Am Small Anim Pract 1987;17(3):505-533. 
  7. Schäfer-Somi S, Bär-Schadler S, Aurich JE. Immunoglobulins in nasal secretions of dog puppies from birth to six weeks of age. Res Vet Sci 2005;78(2):143-150.
  8. Cost chescu E, Hoha G, Fotea L. Research regarding the lactating period of the bitch. Lucr tiin Ser Zooteh 2011;55:180-183.

  9. Norcross N. Secretion and composition of colostrum and milk. J Am Vet Med Assoc 1982;181(10):1057-1060. 
  10. Chastant-Maillard S, Marcheteau E, Freyburger L, et al. Identification and quantification of immunoglobulins in canine colostrum – Quantification of colostral transfer. In Proceedings, 7th EVSSAR Congress 2010;107. 

  11. Stoffel MH, Friess AE, Hartmann SH. Ultrastructural evidence of transplacental transport of immunoglobulin G in bitches. J Reprod Fertil 2000;118(2):315-326. 
  12. Mila H, Feugier A, Grellet A, et al. Immunoglobulin G concentration in canine colostrum: evaluation and variability. J Reprod Immunol 2015;112:24-28. 
  13. Hurley WL, Theil PK. Perspectives on immunoglobulins in colostrum and milk. Nutrients 2011;3(4):442-474. 
  14. Levieux D, Ollier A. Bovine immunoglobulin G, lactalbumin and serum albumin in colostrum and milk during the early post-partum period. J Dairy Res 1999;66(03):421-430. 
  15. White ME, Hathaway MR, Dayton WR, et al. The role of growth factors in canine and feline milk. 1996; Available at: http://agris.fao.org/agris-search/ search.do?recordID=US9620653. Accessed 18th August 2015. 

  16. Center S, Randolph JF, Man Warren T, et al. Effect of colostrum ingestion on gamma-glutamyltransferase and alkaline phosphatase activities in neonatal pups. Am J Vet Res 1991;52(3):499-504. 
  17. Wheeler TT, Hodgkinson AJ, Prosser CG, et al. Immune components of colostrum and milk – a historical perspective. J Mam Gland Biol Neoplasia 2007;12(4):237-247. 
  18. Bouchard G, Plata-Madrid H, Youngquist RS, et al. Absorption of an alternate source of immunoglobulin in pups. Am J Vet Res 1992;53(2):230-233. 
  19. Poffenbarger EM, Olson PN, Chandler ML, et al. Use of adult dog serum as a substitute for colostrum in the neonatal dog. Am J Vet Res 1991;52(8):1221-1224. 
  20. Chastant-Maillard S, Freyburger L, Marcheteau E, et al. Timing of the intestinal barrier closure in puppies. Reprod Dom Anim 2012;47:190-193. 
  21. Meloni T, Martino P, Grieco V, et al. A survey on bacterial involvement in neonatal mortality in dogs. Vet Ital 2014;50(4):293-299. 
  22. Handl S, Wehr U, Zentek J, et al. Histological and immunohistochemical evaluation of duodenal and colonic biopsies after oral bovine lactoferrin supplementation in beagle puppies. J Anim Physiol Anim Nutr 2009;93(1):76-82. 
  23. Salmon H, Berri M, Gerdts V, et al. Humoral and cellular factors of maternal immunity in swine. Dev Comp Immunol 2009;33(3):384-393. 
  24. Mila H, Grellet A, Desario C, et al. Protection against canine parvovirus type 2 infection in puppies by colostrum-derived antibodies. J Nutr Sci 2014. Available at: http://journals.cambridge.org/article_S2048679014000573. Accessed 18 August 2015. 

  25. Mila H, Grellet A, Feugier A, et al. Nutritional and immunological composition of canine colostrum. In Proceedings, 18th EVSSAR Congress 2015. 

  26. Heird WC, Schwarz SM, Hansen IH. Colostrum-induced enteric mucosal growth in beagle puppies. Pediatr Res 1984;18(6):512-515. 
  27. Schwarz SM, Heird WC. Effects of feeding on the small intestinal mucosa of beagle pups during the first 5 days of life. Am J Clin Nutr 1994;60(6):879- 886. 
  28. Claus MA, Levy JK, MacDonald K, et al. Immunoglobulin concentrations in feline colostrum and milk, and the requirement of colostrum for passive transfer of immunity to neonatal kittens. J Feline Med Surg 2006;8(3):184- 191. 
  29. Heinze CR, Freeman LM, Martin CR, et al. Comparison of the nutrient composition of commercial dog milk replacers with that of dog milk. J Am Vet Med Assoc 2014;244(12):1413-1422. 
Sylvie Chastant

Sylvie Chastant

Prof. Sylvie Chastant obtained her veterinary diploma in 1990 from the National Veterinary School of Alfort อ่านเพิ่มเติม

Hanna Mila

Hanna Mila

Hanna Mila จบการศึกษาจาก Wrocław Veterinary Faculty (Poland, 2009) เธอได้ทำงานในแผนกสูติศาสตร์สัตว์เล็กที่คณะของเธอเป็นเวลา 2 ปี จากนั้นในปี 2012 อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 26.1 เผยแพร่แล้ว 28/02/2023

อาการท้องเสียช่วงหย่านมในลูกสุนัข

โรคระบบทางเดินอาหารเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดในสุนัข โดยลูกสุนัขจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาท้องเสียได้มากกว่าสุนัขที่โตเต็มวัยแล้ว อีกทั้งยังพบว่าลูกสุนัขร้อยละ 10-25 จะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารในช่วงอายุ 1 ปีแรก

โดย Aurélien Grellet

หมายเลขหัวข้อ 26.1 เผยแพร่แล้ว 24/10/2022

อุบัติการณ์ของโรคที่เป็นมาแต่กำเนิดในลูกสุนัข

การมีลูกสุนัขเพิ่มมาเป็นสมาชิกในบ้านเป็นประสบการณ์ที่สนุกและน่าตื่นเต้นสำหรับคนในครอบครัว ...

โดย Emi Kate Saito และ Catherine Rhoads