วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 30.2 Other Scientific

การจูงสุนัขเดินเพื่อสุขภาพและความ      เป็นอยู่ที่ดี

เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

เขียนโดย Carri Westgarth

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Español และ English

การจูงสุนัขเดินอาจดูเหมือนกิจกรรมทั่วๆ ไปในการเลี้ยงดูสุนัขแต่ในความจริงแล้วมีอะไรมากกว่าที่ตาเราเห็น จากคำอธิบายของ Dr. Carri Westgarth ในบทความนี้ (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

Dog walking - one health, one welfare

ประเด็นสำคัญ

การจูงสุนัขเดินมีส่วนช่วยในการยกระดับการออกกำลังของคนและควรได้รับการส่งเสริม


เจ้าของสุนัขจะขาดแรงจูงใจในการจูงสุนัขเดินหากได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีหรือไม่มีสถานที่ที่เหมาะสมในการจูง


มนุษย์เข้าใจว่าสุนัขพันธุ์เล็กไม่จำเป็นต้องออกกำลังมากทำให้เป็นอุปสรรคในการจูงสุนัขเดิน แต่พันธุ์ของสุนัขก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการออกกำลังด้วย


การศึกษาไม่นานมานี้พบว่าการเพิ่มการออกกำลังเพียงอย่างเดียวไม่สามารถลดน้ำหนักลงได้ แต่หากควบคุมปริมาณแคลอรีที่ได้รับในแต่ละวันร่วมด้วยสามารถลดน้ำหนักได้


บทนำ

การออกกำลังจัดว่าเป็นการลงทุนที่ดีที่สุดในการสาธารณสุข 1 เพราะการออกกำลังจะช่วยลดสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆทั้งทางกายภาพและจิตใจ ยกตัวอย่างเช่นโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานแบบที่ 2 โรคอ้วน มะเร็ง และสุขภาพจิต 23 ผู้ใหญ่ควรออกกำลังที่มีความหนักปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ รวมถึงการเดินเร็ว แต่มีผู้ใหญ่เฉลี่ยเพียง 75% ที่ออกกำลังได้ตามค่าที่แนะนำไว้ และยิ่งน้อยลงไปในสตรี เด็ก คนชรา รวมถึงคนในประเทศที่ร่ำรวย 4 การเดินเป็นการออกกำลังที่ปลอดภัยและทำได้ง่ายที่สุด มีความพยายามมากมายจากทางการที่จะส่งเสริมให้คนออกมาใช้เวลาในการเดินออกกำลังเพิ่มขึ้น 5

ปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการออกกำลังกายมีอยู่แล้วในหลายครัวเรือน การศึกษาในหลายประเทศพบความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นเจ้าของสุนัขและระดับการออกกำลังกายของเจ้าของที่เพิ่มขึ้น 6 การศึกษาในสหราชอาณาจักรพบว่าเจ้าของสุนัข 87% มีการออกกำลังถึงเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น แต่ผู้ที่ไม่ได้เลี้ยงสุนัขมีอัตราเพียง 63% 7 ที่ออกกำลังได้ถึงตามเกณฑ์ มีข้อสงสัยว่าการเลี้ยงสุนัขทำให้ผู้เลี้ยงกลายเป็นคนที่ชอบทำกิจกรรมหรือคนที่ชอบทำกิจกรรมอยู่แล้วจึงหาสุนัขมาเลี้ยงโดยมีการศึกษาแนวยาวหลายกรณีที่สนับสนุนว่าน่าจะเป็นอย่างแรก 68 ระดับการออกกำลังที่เพิ่มขึ้นมาจากการที่เจ้าของสุนัขใช้เวลาในการจูงสุนัขเดินมาก ร่วมกับจำนวนครั้งที่ออกเดินในแต่ละสัปดาห์เพิ่มมากขึ้น 7 อย่างไรก็ตามจำนวนครั้งในการจูงสุนัขเดินจะแตกต่างกันไปในแต่วัฒนธรรมและแต่ละประเทศ โดยในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียจะต่ำกว่าในสหราชอาณาจักรซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพอากาศ 7 เจ้าของสุนัขส่วนมากมักไม่ย่อท้อในการจูงสุนัขเดินถึงแม้ว่าจะมีอากาศที่เลวร้ายเทียบกับคนที่ไม่ได้เลี้ยงสุนัข (รูป 1) 9 นี่อาจเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้เลี้ยงสุนัขจึงมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เลี้ยงโดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร การที่เจ้าของนั่งลงที่สวนสาธารณะแล้วปล่อยให้สุนัขวิ่งไปมาไม่นับว่าเป็นการจูงสุนัขเดิน (รูป 2) แต่จากการศึกษาพบว่า 78% ของการจูงสุนัขเดินจัดอยู่ในการออกกำลังกายระดับปานกลาง และมีอีก 4% จัดอยู่ในระดับเข้มข้นซึ่งเพียงพอที่จะเกิดประโยชน์กับร่างกาย 10

Dog owners are in general less deterred from walking due to bad weather than people without a dog, and will still be motivated to get outside.
รูป 1 เจ้าของสุนัขจะมีความพยายามที่จะจูงสุนัขเดินแม้ว่าจะมีสภาพอากาศที่ไม่ดีก็ตาม © Shutterstock
It can be argued that the actual levels of activity achieved during dog walking is variable; sitting in a park whilst your dog runs around is not really “walking”.
รูป 2 ระดับการออกกำลังในการจูงสุนัขเดินอาจมีความหลากหลายได้ การนั่งเล่นในสวนแล้วปล่อยให้สุนัขวิ่งเองไม่นับว่าเป็นการจูงสุนัขเดิน © Shutterstock

การออกกำลังกายยังเป็นประโยชน์ต่อสุนัขทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีการประมาณการว่าสัตว์เลี้ยงจำนวนครึ่งหนึ่งประสบปัญหาน้ำหนักเกิน 1112 อันเป็นผลมาจากการขาดสมดุลระหว่างพลังงานที่กินเข้าไปและพลังงานที่ถูกใช้ 13 เจ้าของสุนัขอาจรู้สึกว่าการเพิ่มการออกกำลังให้มากขึ้นเพียงอย่างเดียวสามารถลดน้ำหนักสุนัขได้ แต่แท้จริงแล้ว ในการทดลองที่มีการ randomized control พบว่าการเพิ่มการออกกำลังเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้น้ำหนักลดลงได้อย่างมีนัยยะสำคัญ แต่หากคุมปริมาณแคลอรีร่วมด้วยสามารถทำให้น้ำหนักลงได้มากกกว่า 14 ในคนพบว่าการเดินมากขึ้นเพียงเล็กน้อยไม่ช่วยในการลดน้ำหนัก 15 ดังนั้นการเพิ่มการเดินออกกำลังมากขึ้นอาจช่วยลดน้ำหนักสุนัขได้แต่ต่องทำควบคู่ไปกับการคุมอาหารด้วย

ปัจจัยที่จะขัดขวางหรือส่งเสริมการจูงสุนัขเดิน

ถึงแม้ว่าประชากรผู้เลี้ยงสุนัขส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่ชอบทำกิจกรรม แต่ก็ยังมีเจ้าของสุนัขอีกไม่น้อยที่ไม่สามารถจูงสุนัขเดินได้มากเพียงพอ งานเขียนชิ้นนึงกล่าวว่ามีเจ้าของสุนัขเพียง 60% ที่สามารถจูงสุนัขเดินได้เฉลี่ย 4 ครั้งต่อสัปดาห์ (คิดเป็น 160 นาที) 6 ซึ่งสอดคล้องกับความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นให้เจ้าของสุนัขพาสุนัขออกเดินมากขึ้น 8 มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลให้การจูงสุนัขเดินเพิ่มขึ้นหรือลดลง แต่ที่มีหลักฐานเชื่อมโยงมากที่สุดจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสุนัขโดยความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับสุนัขบางคู่จะส่งผลให้มีการจูงสุนัขเดินมากขึ้น 16 จากการสังเกตุและสัมภาษณ์เจ้าของสุนัขในหัวข้อว่าทำไมถึงจูงสุนัขเดินและบ่อยแค่ไหนบ่งชี้ว่าเมื่อเจ้าของรู้สึกถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างเขาและสุนัข มันจะไปกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบที่จะต้องพาสุนัขไปออกกำลังกายตามความเหมาะสม 17 ถึงแม้ว่าเจ้าของสุนัขจะอธิบายว่าการจูงสุนัขเดินนั้นเป็นการทำเพื่อสุนัข แต่การจูงสุนัขเดินนั้นเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เจ้าของได้ลดความเครียดและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นดังที่ 18 เจ้าของสุนัขผู้หนึ่งกล่าวไว้ว่า

"การจูงสุนัขเดินไม่ได้ทำให้เราได้ออกกำลังเพียงอย่างเดียว แต่มันยังช่วยด้านจิตใจได้ด้วย เพื่อนคนหนึ่งที่ไม่ได้เลี้ยงสุนัขมาร่วมจูงสุนัขเดินกับเรา เธอได้บอกว่าหลังจากที่ได้เห็นสุนัขวิ่งเล่นอย่างสนุกสนาน มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้สึกแย่"

Being able to enjoy watching dogs running off-leash is an important part of the dog walking experience for owners.
รูป 3 การได้มองสุนัขวิ่งเล่นปราศจากสายจูงจะช่วยเติมเต็มความสุขให้กับเจ้าของและเป็นส่วนสำคัญในการจูงสุนัขเดิน © Gareth Bayliss

คำกล่าวนี้ยังได้รับการยืนยันจากการค้นคว้าเชิงปริมาณที่พบว่าปัจจัยกระตุ้นจากภายในเช่นความรู้สึกดีในการทำกิจกรรมมีผลมากกว่าปัจจัยกระตุ้นจากภายนอก เช่น ความรู้สึกผิดที่ไม่ได้ทำ19 ในการจูงสุนัขเดิน กุญแจที่นำไปสู่ความสุขของการจูงสุนัขเดินคือความรื่นรมย์ที่ได้เห็นสุนัขวิ่งเล่นอย่างอิสระปราศจากสายจูง ดังนั้นแรงบันดาลใจในการจูงสุนัขเดินคือการที่เจ้าของสุนัขมีสถานที่ให้สุนัขวิ่งเล่นโดยปราศจากสายจูง (รูป 3)

ขนาดของสุนัขเป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจูงสุนัขเดิน 2021 ผู้ที่เลี้ยงสุนัขขนาดเล็กจะมีการจูงเดินน้อยกว่าสุนัขที่ขนาดโตกว่า แต่ในทางปฏิบัติอัตราการออกกำลังจะแตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์ 22 โดยที่สุนัขพันธุ์ใหญ่มักจะมีการออกกำลังที่น้อยกว่าสายพันธุ์อื่น (ตาราง 1) ความเข้าใจของคนทั่วไปที่ว่าสุนัขพันธุ์เล็กต้องการการออกกำลังน้อยกว่าต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง 18

 

  • Afghan hound 50%
  • Papillon 59%
  • Pyrenean Mountain 60%
  • Bloodhound 60%
  • Chihuahua 62%
ตาราง 1 สายพันธุ์ที่มักจะได้ออกกำลังวันละครั้งหรือมากกว่าหนึ่งวันต่อครั้ง

 

พฤติกรรมที่สุนัขแสดงออกจะส่งผลต่อการจูงเช่นเดียวกันโดยมีสองสาเหตุหลัก

  • สุนัขดูไม่ชอบการออกกำลัง
  • สุนัขมีนิสัยที่ทำให้การจูงเดินเกิดความตึงเครียด
Local access to suitable places to walk encourages dog walking and emphasizes the importance in providing areas where people can be physically active.
รูป 4 สถานที่ที่เหมาะสมภายในชุมชนมีส่วนกระตุ้นให้คนออกมาทำกิจกรรมมากขึ้นรวมไปถึงการจูงสุนัขเดิน © Shutterstock

จากสองสาเหตุที่กล่าวมามันจึงเป็นการง่ายที่เจ้าของจะอนุมานว่าเป็นการดีกว่าที่จะไม่พาสุนัขไปเดินเพราะมันดูตื่นกลัวหรือเกียจคร้าน 18 การมีสุนัขหลายตัว 20 สุนัขแก่ สุนัขป่วย หรือสุนัขที่อ้วนเกินไปล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าของไม่อยากจูงสุนัขเดินเช่นกัน 21 แม้กระทั่งการที่มีคนอื่นในครอบครัวที่สามารถจูงสุนัขเดินได้อาจทำให้เจ้าของสุนัขมีความกระตือรือร้นในการจูงสุนัขเดินน้อยลง 21 การทำให้การจูงสุนัขเดินกลายเป็นกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งที่แนะนำจากการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณ 23 และเชิงคุณภาพ 18 ท้ายที่สุดคือสถานที่ที่เหมาะสำหรับการจูงสุนัขเดิน 2425 ซึ่งนโยบายและการออกแบบผังชุมชนจากภาครัฐจะช่วยส่งเสริมให้คนออกมาทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น (รูป 4)

คำแนะนำในการฝึกสุนัขเพื่อการจูงเดิน

ในฐานะที่ความเห็นของสัตวแพทย์เป็นสิ่งที่เจ้าของเชื่อมั่นให้ความสำคัญ มีหลากหลายวิธีที่สัตวแพทย์สามารถกระตุ้นให้เกิดการจูงสุนัขเดินมากขึ้นได้ซึ่งเกิดประโยชน์ทั้งแก่สัตว์เลี้ยงและเจ้าของ

  • แก้ไขความเข้าใจที่ว่าสุนัขขนาดเล็กและสุนัขแก่ไม่ต้องการออกกำลังกายมากนัก หากสัตวแพทย์ตรวจแล้วพบว่าร่างกายสุนัขแข็งแรงพอที่จะเดินได้ สุนัขส่วนมากสามารถเดินได้อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรืออาจเดินได้มากกว่านั้น ให้ยกตัวอย่างถึงประโยชน์ของการเดินต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงได้
  • ช่วยเจ้าของสุนัขจัดตารางเวลาการจูงเดินและทำให้เป็นกิจวัตร เจ้าของสุนัขหลายคนมีความปรารถนาที่จะพาสุนัขออกไปเดินแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง สัตวแพทย์สามารถช่วยทำให้ความตั้งใจนั้นกลายเป็นจริงได้โดยซักถามถึงเวลาที่เจ้าของสะดวกในการพาสุนัขออกเดิน สถานที่ที่จะพาสุนัขไปเดิน และแนะนำให้เจ้าของลงบันทึกไว้เหมือนการนัดหมายเพื่อการจูงสุนัข หากเจ้าของรู้สึกว่าลำบากในการตื่นเช้าเพื่อออกไปเดินก็ขอให้นำชุดเครื่องแต่งกายที่จะสวมใส่ตอนเช้าออกมาวางไว้ในคืนก่อนหน้าเพื่อที่ความสะดวก ลดความยุ่งยากในตอนเช้า
  • ให้คำแนะนำในการฝึกด้วยสายจูงแบบหย่อนและการเรียกสุนัขผู้เขียนมีประสบการณ์ว่าหากสามารถฝึกฝนสองสิ่งข้างบนได้สำเร็จ จะช่วยให้การจูงสุนัขเดินง่ายและสนุกมากยิ่งขึ้น กล่องที่2 และ กล่องที่3 จะมีคำแนะนำที่สัตวแพทย์สามารถบอกเจ้าของสุนัขได้
Carri Westgarth

ในฐานะที่ความเห็นของสัตวแพทย์เป็นสิ่งที่เจ้าของเชื่อมั่นให้ความสำคัญ มีหลากหลายวิธีที่สัตวแพทย์สามารถกระตุ้นให้เกิดการจูงสุนัขเดินมากขึ้นได้ซึ่งเกิดประโยชน์ทั้งแก่สัตว์เลี้ยงและเจ้าของ

Carri Westgarth

 

  • แนะนำให้พบผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมหากสุนัขมีปัญหาด้านพฤติกรรมที่รุนแรงเช่นความดุร้าย ปัญหาด้านพฤติกรรมที่รุนแรงเช่นความดุร้ายก้าวร้าวต่อเจ้าของจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับสุนัขและลดโอกาสที่เจ้าของอยากจูงสุนัขเดิน ความดุร้ายต่อคนแปลกหน้าและสุนัขตัวอื่นจะยิ่งทำให้การจูงสุนัขเดินตึงเครียดมากขึ้นสำหรับเจ้าของและลดความอยากทำกิจกรรมลง สัตวแพทย์ควรแนะนำให้พบกับผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสุนัขที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ ผู้เชี่ยวชาญควรมีประสบการณ์มากพอและใช้วิธีการฝึกแบบให้รางวัล เพราะการฝึกด้วยวิธีการลงโทษหรือใช้ประสบการณ์เชิงลบจะส่งผลให้สุนัขเกิดความหวาดกลัวมากขึ้นและเป็นผลเสียในระยะยาว
  • สนับสนุนในการสรรหาสถานที่ที่เหมาะสมในการจูงสุนัขเดิน เจ้าของสุนัขต้องหาสถานที่ที่พวกเขาสามารถจูงสุนัขเดินได้โดยไม่ไกลเกินเพื่อที่จะสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่วุ่นวายได้ สัตวแพทย์สามารถแนะนำสวนหรือบริเวณที่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาลสัตว์ที่สามารถปล่อยสุนัขวิ่งอย่างอิสระ มีพื้นที่กว้างขวางพอ มีสภาพแวดล้อมที่น่าสนใจสำหรับสุนัข มีเส้นทางเดินที่วนมาบรรจบเพื่อที่เจ้าของสุนัขและสุนัขสามารถเดินสำรวจไปด้วยกันได้ สวนปล่อยสุนัขวิ่งที่มีขนาดเล็กอาจมีผลเสียแก่ทั้งเจ้าของผู้อาจขับรถไปเพื่อปล่อยสุนัขวิ่งเล่นในขณะที่ตนยืนหรือนั่งรอ และแก่สุนัขที่อยู่ในสถานการณ์บังคับให้ต้องใกล้ชิดกับสุนัขตัวอื่นที่มันไม่ชอบ สัตวแพทย์ยังสามารถหาสถานที่ให้แก่เจ้าของหากว่าเจ้าของไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้

กล่อง 2 คำแนะนำในการฝึกจูงเดินแบบหย่อน

เครื่องช่วยฝึก

 

A headcollar that fits onto the dog’s muzzle can be invaluable for training purposes.
รูป 5 headcollar ที่ผูกเข้ากับปากของสุนัขจะช่วยในการฝึกได้ดี © Shutterstock

Harness และ headcollar ที่ขายในท้องตลาดสามารถช่วยฝึกในเรื่องการดึงสายจูงได้ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่คฑาวิเศษที่จะทำให้การฝึกได้ผลในทันทีซึ่งต้องใช้เวลา เครื่องมือที่ดีที่สุดคือ harness ชนิดที่ติดอยู่กับปากของสุนัขและทำให้บังคับทิศทางการเดินได้โดยง่าย (รูป 5) พยายามหลีกเลี่ยง harness ที่ติดอยู่กับคอหรือหัวไหล่เพราะจะทำให้สุนัขดึงสายจูงมากขึ้น

Correct position for loose-lead walking training; only walk forwards when the dog is at your side and the leash is loose.
รูป 6 ตำแหน่งที่ถูกต้องของการจูงสุนัข เดินไปข้างหน้าเมื่อสุนัขอยู่ข้างเจ้าของและสายจูงหย่อนเท่านั้น © Karen Wild and Silverlight Photography

การฝึก

  1. หลีกเลี่ยงการรัดสายจูงแน่นเกินจนทำให้สุนัขพยายามดึงฝืน เริ่มจากให้สุนัขยืนข้างเจ้าของทางซ้ายหรือขวา (ด้านใดก็ได้แต่ไม่ควรเปลี่ยนบ่อย) สายจูงไม่ควรตึงหรือหย่อนจนเกินไป เป้าหมายคือให้สุนัขเดินเคียงข้างเจ้าของไม่ใช่เดินนำหน้า (รูป 6)
  2. เจ้าของหลายคนใช้ขนมเป็นรางวัลสำหรับการจูงเดินซึ่งสามารถทำได้เป็นครั้งคราว แต่รางวัลที่แท้จริงคือการให้สุนัขได้เดินไปข้างหน้าในทิศที่มันอยากไปเมื่อยืนอยู่ข้างเจ้าของ
  3. เมื่อสุนัขกำลังจะก้าวล้ำแนวขาของเจ้าของและสุดสายจูง ให้เจ้าของรีบหยุดเดินและเรียกสุนัขกลับมาอยู่ข้างลำตัว
  4. เพื่อให้สุนัขเรียนรู้ว่าการเดินนำเจ้าของเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ให้รีบตอบสนองทันทีที่สุนัขกลับมาอยู่ข้างตัวโดยการชมและเริ่มเดินต่อ
  5. กระบวนการนี้อาจต้องใช้การฝึกฝนเป็นระยะเวลานานและยากที่จะทำในชีวิตประจำวัน หากเจ้าของสุนัขไม่สะดวกไปเข้าร่วมการฝึกซ้ำๆได้ วิธีที่ง่ายสุดคือเริ่มออกจูงเดิน คำแนะนำคือใช้สายจูงสองชนิด ชนิดแรกเป็นสายจูงที่สุนัขสามารถดึงรั้งได้บ้างแต่ไม่ถึงกับลาก และสายจูงอีกชนิดที่เหมาะกับการจูงเดินแบบถูกวิธี หากมีเวลามากพอให้จูงสุนัขเดินโดยใช้สายจูงที่สุนัขจะไม่ได้รับรางวัลหากมันดึงรั้งแต่หากว่าต้องรีบเร่งในการจูงเดินให้ใช้สายจูงอีกชนิดหนึ่ง

กล่อง 3 คำแนะนำการฝึกเรียกสุนัขกลับมา

  1. หากสุนัขไม่รู้จักชื่อของมันเองจะเป็นการยากในการเรียกกลับมา ให้ฝึกการเรียกชื่อสุนัขพร้อมกับการให้อาหารซ้ำไปมา สุนัขจะหันมามองเมื่อถูกเรียกชื่อเพราะคาดหวังที่จะได้ของกิน
  2. หลังจากที่สุนัขรู้จักชื่อตัวเอง เจ้าของสามารถสอนให้สุนัขรู้จักคำสั่งว่า “มานี่” ขณะที่สุนัขอยู่ด้านหน้าหรือในพื้นที่ขนาดเล็กโดยไม่มีสายจูง เจ้าของถือขนมไว้ในมือที่ระดับประมาณหัวเข่า เรียกชื่อสุนัขพร้อมกับสั่งว่า “มานี่” แล้วเดินถอยหลัง จมูกของสุนัขควรจะตามมือเจ้าของมาทางด้านหลังขณะที่ถอย เมื่อสุนัขเดินตามได้สามถึงสี่ก้าวจึงหยุดพร้อมกับชมและให้ขนมสุนัข (รูป 7) ทำซ้ำอีกหลายครั้งโดยค่อยๆเพิ่มระยะห่างระหว่างเจ้าของและสุนัขเพื่อที่สุนัขจะได้หันและวิ่งกลับมาในขณะที่เจ้าของถอยหลัง ถ้าสุนัขไม่สนใจให้หยุดแล้วยื่นขนมไปใกล้เพื่อล่อให้สุนัขเข้ามาใกล้มากขึ้นโดยไม่เรียกชื่อสุนัขซ้ำๆ
  3. หาผู้ช่วยที่จะจับสุนัขไว้ขณะที่เจ้าของถือขนมให้สุนัขเห็น จากนั้นวิ่งห่างออกไปสักระยะหนึ่ง เจ้าของเรียกสุนัขพร้อมกับให้ผู้ช่วยปล่อยมือที่จับไว้หรือวิ่งมากับสุนัขพร้อมสายจูง (รูป 8) สุนัขจะมีความต้องการวิ่งเข้าหาเจ้าของเพราะเจ้าของคือผู้ที่วิ่งออกห่างมากกว่าสุนัขเดินห่างไปเอง ชมและให้ขนมเป็นรางวัลเมื่อสุนัขวิ่งมาถึงตัว
  4. การฝึกที่กล่าวมาจะทำให้สุนัขสามารถกลับมาหาเจ้าของเมื่อถูกเรียกได้ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะฝึกฝนจนสุนัขวิ่งกลับมาได้อย่างเป็นธรรมชาติเพราะในความเป็นจริงสุนัขจะต้องเลือกระหว่างการกลับมาหาเจ้าของเมื่อถูกเรียกหรือวิ่งหาสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ สิ่งที่สำคัญคือการฝึกให้สุนัขกลับมาจะต้องทำโดยการให้รางวัลเท่านั้น ห้ามใช้วิธีการลงโทษไม่ว่าจะใช้เวลานานเพียงใด ทุกครั้งที่เรียกแล้วสุนัขไม่กลับมา มันจะเริ่มเรียนรู้ที่จะฝ่าฝืนคำสั่ง เจ้าของต้องมีความมั่นใจว่าการเรียกสุนัขในแต่ละครั้งจะมีโอกาสประมาณ 90% ที่สุนัขจะกลับมา หากยังไม่แน่ใจว่าสุนัขจะกลับมาเมื่อเรียกหรือไม่ให้ใช้สายจูงจนกว่าจะฝึกจนมั่นใจ

Recall training on a leash: say your dog’s name and “come” to encourage him to turn towards you and follow you for a food reward.
รูป 7 ฝึกเรียกกลับมาโดยใช้สายจูง เรียกชื่อสุนัขพร้อมกับสั่งว่า “มานี่” เพื่อเรียกความสนใจให้สุนัขหันมาทางเจ้าของและเดินตามอาหาร © Karen Wild and Silverlight Photography
Further recall games on a leash: get someone to hold your dog whilst you move away, and then call the dog to you for a food reward.
รูป 8 ฝึกเรียกกลับมาขั้นสูงโดยใช้สายจูง ให้ผู้ช่วยดึงสุนัขไว้ในขณะที่เจ้าของออกห่างจากนั้นจึงเรียกชื่อสุนัขเพื่อให้สุนัขวิ่งมาหา © Karen Wild and Silverlight Photography
Carri Westgarth

สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจในการออกกำลังที่ทรงพลังที่สุดพบได้ในหลายครัวเรือน การศึกษาพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการเป็นเจ้าของสุนัขและความตื่นตัวในการทำกิจกรรมของเจ้าของที่เพิ่มขึ้น

Carri Westgarth

หากว่าเจ้าของไม่สามารถเดินร่วมกับสุนัขเพราะมีข้อจำกัดทางสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถเดินเป็นระยะทางไกลได้ อย่างแรกที่ควรทำคือปรึกษาแพทย์ว่าสามารถออกกำลังได้มากเพียงใด การเดินมักทำได้ในระดับหนึ่ง อย่างที่สองคือการหากิจกรรมอื่นๆแทนการเดินเช่นการฝึกทำตามคำสั่ง การฝึก agility การละเล่นต่างๆที่จะช่วยให้เจ้าของและสุนัขได้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกันซึ่งดีกว่าไม่ได้ทำเลย

การจูงสุนัขเดินมีความสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทั้งสุนัขและเจ้าของซึ่งควรได้รับการสนับสนุน วิธีที่จะเพิ่มการจูงสุนัขเดินคือการแก้ไขปัญหาด้านพฤติกรรมและการฝึกเพื่อให้การจูงสุนัขเดินมีความง่ายมากขึ้นสำหรับเจ้าของ การจัดการความเชื่อเกี่ยวกับความต้องการการออกกำลังในสุนัขขนาดเล็ก ให้ความรู้เจ้าของสุนัขในการสร้างนิสัยการจูงสุนัขเดิน และจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมแก่การเดินให้กับเจ้าของและสุนัข หากปราศจากสุนัขแล้ว ระดับการออกกำลังรวมไปถึงสุขภาพกายและจิตของประชากรจะแย่ลงมาก

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำแบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE Credit ได้ที่นี่

ทำแบบทดสอบ VET-CE

แหล่งอ้างอิง

  1. Morris JN. Exercise in the prevention of coronary heart disease: today's best buy in public health. Med Sci Sports Exerc 1994;26(7):807-814.
  2. Lee IM, Shiroma EJ, Lobelo F, et al. Effect of physical inactivity on major non-communicable diseases worldwide: an analysis of burden of disease and life expectancy. Lancet 2012;380: 219-229.
  3. Paluska SA, Schwenk TL. Physical activity and mental health. Sports Med 2000;29(3):167-180.
  4. Rhodes RE, Janssen I, Bredin SSD, et al. Physical activity: health impact, prevalence, correlates and interventions. Psychol Health 2017;32(8):942-975.
  5. Ogilvie D, Foster CE, Rothnie H, et al. Interventions to promote walking: systematic review. Br Med J 2007;334(7605):1204.
  6. Christian, H, Westgarth C, Bauman A, et al. Dog ownership and physical activity: a review of the evidence. J Physical Act Health 2013;10(5):750-759.
  7. Westgarth C, Christley RM, Jewell C, et al. Dog owners are more likely to meet physical activity guidelines than people without a dog: an investigation of the association between dog ownership and physical activity levels in a UK community. Scientific Rep 2019;9(1):5704.
  8. Christian H, Bauman A, Epping JN, et al. Encouraging dog walking for health promotion and disease prevention. Am J Lifestyle Med 2018;12(3):233-243.
  9. Wu Y-T, Luben R, Jones A. Dog ownership supports the maintenance of physical activity during poor weather in older English adults: cross-sectional results from the EPIC Norfolk cohort. J Epidem Commun Health 2017;71(9):905-911.
  10. Richards E, Troped P, Lim E. Assessing the intensity of dog walking and impact on overall physical activity: a pilot study using accelerometry. Open J Prevent Med 2014;4:523-528.
  11. Lund EM, Armstrong PJ, Kirk CA, et al. Prevalence and risk factors for obesity in adult dogs from private US veterinary practices. Int J Appl Res Vet Med 2006;4:177-186.
  12. Courcier EA, Thomson RM, Mellor DJ, et al. An epidemiological study of environmental factors associated with canine obesity. J Small Anim Pract 2010;51:362-367.
  13. German AJ. The growing problem of obesity in dogs and cats. J Nutr 2006;136:1940S-1946S.
  14. Chapman M, Woods GRT, Ladha C, et al. An open-label randomized clinical trial to compare the efficacy of dietary caloric restriction and physical activity for weight loss in overweight pet dogs. Vet J 2019;243:65-73.
  15. Fogelholm M. Walking for the management of obesity. Disease Man Health Outcomes 2005; 13(1):9-18.
  16. Westgarth C, Christley RM, Christian HE. How might we increase physical activity through dog walking?: A comprehensive review of dog walking correlates. Int J Behav Nutr Physical Activity 2014;11:83.
  17. Westgarth C, Christley RM, Marvin G, et al. The responsible dog owner: the construction of responsibility. Anthrozoos 2019;32:5;631-646.
  18. Westgarth C, Christley RM, Marvin G, et al. I walk my dog because it makes me happy; a qualitative study to understand why dogs motivate walking and improved health. Int J Environ Res Public Health 2017;14(8):E936.
  19. Lim C, Rhodes RE. Sizing up physical activity: the relationships between dog characteristics, dog owners' motivations, and dog walking. Psychol Sport Exerc 2016;24:65-71.
  20. Westgarth C, Christian HE, Christley RM. Factors associated with daily walking of dogs. BMC Vet Res 2015;11:116.
  21. Westgarth C, Knuiman M, Christian HE. Understanding how dogs encourage and motivate walking: cross-sectional findings from RESIDE. BMC Public Health 2016;16(1):1019.
  22. Pickup E, German AJ, Blackwell E, et al. Variation in activity levels amongst dogs of different breeds: results of a large online survey of dog owners from the UK. JNS 2017;6:e10
  23. Rhodes RE, Lim C. Understanding action control of daily walking behavior among dog owners: a community survey. BMC Public Health 2016;6(1):1165.
  24. Christian H, Giles-Corti B, Knuiman M. “I'm just a'-walking the dog” – correlates of regular dog walking. Fam Commun Health 2010;33(1):44-52.
  25. White MP, Elliott LR, Wheeler BW, et al. Neighbourhood greenspace is related to physical activity in England, but only for dog owners. Landscape Urban Plan 2018;174:18-23.
Carri Westgarth

Carri Westgarth

Dr. Westgarth is a senior lecturer in Human-Animal Interaction at the University of Liverpool with a passion for understanding the relationships we have with อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 30.2 เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

ศาสตร์เกี่ยวกับความชราและแมวสูงอายุ

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มไขความลับของกระบวนการที่ทำให้เกิด...

โดย Nathalie J. Dowgray

หมายเลขหัวข้อ 30.2 เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

การเตรียมสถานพยาบาลให้เหมาะสมกับการรับแมวป่วย

Natalie Marks ได้มีส่วนร่วมในโครงการที่จัดทำเพื่อช่วยให้สถานพยาบาลสัตว์มีความเหมาะสมในการรับแมวป่วย...

โดย Natalie L. Marks

หมายเลขหัวข้อ 30.2 เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

ยาต้านจุลชีพ: จากพรวิเศษสู่คำสาป

Dr. Nancy De Briyne ได้อธิบายถึงคุณูปการของวิชาชีพสัตวแพทย์ในการช่วยพัฒนา...

โดย Nancy De Briyne