วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 29.2 Other Scientific

การตรวจคัดกรองเบื้องต้นสำหรับภาวะปัสสาวะมีเลือดปนระยะแรกเริ่มในแมว

เผยแพร่แล้ว 01/08/2021

เขียนโดย Elodie Khenifar

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Română , Español , English และ 한국어

การตรวจคัดกรองภาวะปัสสาวะมีเลือดปน (hematuria) ในแมวสามารถทำได้โดยการเติมผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ลงไปในทรายแมวซึ่งจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการจัดการโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างได้ (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

Early screening for feline hematuria

ประเด็นสำคัญ

โรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower Urinary Tract Diseases; LUTD) ในแมวพบได้บ่อย มีพยาธิสภาพที่รุนแรงได้และสามารถเกิดซ้ำโดยที่เจ้าของไม่ทันสังเกต


สามารถพบภาวะปัสสาวะมีเลือดปน (Hematuria) ทั้งแบบที่มองเห็นด้วยตาเปล่า (Macroscopic) หรือส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) ได้เกือบทุกกรณีของ LUTD ซึ่งเราสามารถใช้สิ่งนี้เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarker) ที่มีประสิทธิภาพได้


ผลิตภัณฑ์ Hematuria Detection screening test* สามารถตรวจหาภาวะ hematuria แบบ microscopic ได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยในการจัดการภาวะ LUTD

* จำหน่ายโดยโรยัล คานิน ในชื่อ Hematuria Detection ยกเว้นในแคนาดา ที่จำหน่ายในชื่อ Blucare®.


มีการจัดทำคำแนะนำสำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์นี้ในการจัดการความผิดปกติของระบบปัสสาวะในแมว


บทนำ

The granules turn a distinctive blue color when they come into contact with hemoglobin.

รูปที่ 1 เม็ดแกรนูลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินชัดเจนเมื่อสัมผัสกับฮีโมโกลบิน © Blücare Lab

อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองภาวะ hematuria ในแมวชนิดที่ไม่สร้างความเจ็บปวดเริ่มมีจำหน่ายในท้องตลาดภายในหลายประเทศ ใช้งานได้ง่ายและไม่ก่อให้เกิดความเครียด ประกอบไปด้วยเม็ดแกรนูลสีขาวที่ใช้โรยบนทรายแมว หากสัมผัสกับฮีโมโกลบินจะกลายเป็นสีน้ำเงิน (รูปที่ 1) ผงแกรนูลสามารถตรวจจับภาวะ microhematuria หรือภาวะ hematuria ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า บทความนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ หลักการทำงาน ผลการศึกษาความน่าเชื่อถือรวมถึงคำแนะนำในการใช้เพื่อจัดการกับปัญหาระบบปัสสาวะ

ภาวะ hematuria และ LUTD ในแมว

ภาวะปัสสาวมีเลือดปนหรือ hematuria มีนิยามคือพบปริมาณเม็ดเลือดแดง (RBC) ที่มากกว่าปกติในปัสสาวะ ซึ่งอาจพบแบบ microscopic (มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า) หรือmacroscopic (มองเห็นด้วยตาเปล่า) ก็ได้ hematuria ที่จัดเป็นพยาธิสภาพคือการพบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 5 เซลล์ต่อ high power field เมื่อส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์

สาเหตุของการเกิด hematuria มีได้หลายประการแต่ในแมวมักพบว่าเกิดจากโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (LUTD) ซึ่งพบได้บ่อยในคลินิกสัตว์เล็ก 1 นิยามของ LUTD ครอบคลุมกลุ่มอาการที่แสดงออกทางคลิกนิกประกอบไปด้วย hematuria ปัสสาวะขัด ปวดเบ่งเมื่อปัสสาวะ ปัสสาวะกะปริบกะปรอยและปัสสาวะผิดที่ หากมีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะร่วมด้วยอาจพบความรุนแรงมากขึ้นทางระบบต่างๆ

แมวที่มาด้วยปัญหา LUTD จะมีการวินิจฉัยแยกแยะได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบหาสาเหตุไม่ได้ (feline idiopathic cystitis) นิ่ว (urolithiasis) เมือกอุดตันท่อปัสสาวะ (urethral plug) และการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ 1 พยาธิสภาพของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง แต่โดยมากแล้วแมวร้อยละ 50 มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีก 2

การติดตามภาวะ hematuria เพื่อจัดการกับ LUTD

เรามักพบภาวะ microhematuria ในเกือบทุกกรณีที่สัตว์ป่วยด้วยโรคทางเดินปัสสาวะ 1 จากการที่แมวไม่ค่อยแสดงอาการเจ็บปวดที่เจ้าของสังเกตได้ชัดจึงมักถูกพามาพบสัตวแพทย์เมื่อปัญหาเริ่มรุนแรงแล้วเช่นมีการอุดตันของท่อปัสสาวะหรือมีการปัสสาวะผิดที่หลายครั้ง จากความถี่ในการกลับมาเป็นซ้ำของพยาธิสภาพเหล่านี้นำไปสู่การใช้ biomarker เช่น microhematuria มาตรวจคัดกรองซึ่งทำได้ง่ายและไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำให้เจ้าของแมวสามารถติดตามภาวะ hematuria ของแมวได้เองที่บ้านอย่างสม่ำเสมอและนำแมวมาพบสัตวแพทย์ได้อย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นในระยะแรกเริ่ม

หลักการทำงานของชุดตรวจ

ผลิตภัณฑ์ Hematuria Detection ประกอบด้วยเม็ดแกรนูลสีขาวที่ใช้โรยบนทรายแมว เม็ดแกรนูลมีสาร 3,3',5,5'-tetramethylbenzidine (TMB) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินผ่านกระบวนการ pseudo-peroxidation เมื่อสัมผัสกับฮีโมโกลบิน ผลที่สังเกตได้จะมีความรวดเร็วมากโดยเกิดสีภายใน 1 นาทีหลังจากสัมผัสกับฮีโมโกลบินและคงอยู่ได้ 48 ชั่วโมงหลังจากนั้น วิธีการใช้ง่าย (รูปที่2) และเจ้าของแมวสามารถติดตามเฝ้าระวังอาการแรกเริ่มของความผิดปกติในระบบปัสสาวะได้ ผลิตภัณฑ์นี้ยังมีอายุยาวถึง 2 ปีหากยังไม่ได้แกะถุงและเม็ดแกรนูลสามารถอยู่บนทรายแมวได้นาน 30 วันหากยังไม่ได้เกิดปฏิกิริยา สามารถใช้กับทรายแมวได้ทุกประเภทแต่เจ้าของแมวจะต้องตักเม็ดแกรนูลที่สัมผัสปัสสาวะแล้วออกทุกวันเพราะผลิตภัณฑ์ที่โดนปัสสาวะแล้วจะสูญเสียความสามารถในการดูดซึมไป

 
The instructions for using the product are straightforward.

รูปที่ 2 คำแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงไปตรงมาและเข้าใจง่าย © Blücare Lab/Redrawn by Sandrine Fontègne

  1. โรย: เท Hematuria Detection 1 ซองลงบนทราบแมวที่สะอาด แนะนำให้ใช้ทรายแมวที่มีสารจับตัวแบบ clay-based
  2. ทำความสะอาดกระบะทราย: ตักเอาเม็ดแกรนูลที่สัมผัสปัสสาวะออกแล้วทุกวัน
  3. สังเกตผลลัพธ์:
    • เม็ดแกรนูลสีขาวหมายถึงผลเป็นลบ ไม่พบเลือด (3a)
    • เม็ดแกรนูลสีน้ำเงินหมายถึงผลเป็นบวก มีเลือดปะปน (3b)

ผลการศึกษาทางคลินิกโดยมหาวิทยาลัย Montreal พบว่าเม็ดแกรนูลมีความไวสูง (sensitivity) มากโดยมีค่า reactivity threshold ต่ำสุดอยู่ที่ 100 RBC/μL 3 สอดคล้องกับการตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ 12 RBC/hpf (รูปที่3) จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง แต่ความไวจะลดลงหากปัสสาวะมีค่า pH≥ 8.5 หรือค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะ > 1.050 4 ผลการประเมินความเสี่ยงของสารพิษต่อทั้งผู้ใช้และสัตว์เลี้ยงถือว่าน้อยมากจนแทบมองข้ามได้ 5

 
The coloration of the granules will vary according to the concentration of blood in the urine; the image shows the response for a urine sample at pH = 6, USG = 1.026 ( 4 ).

รูปที่ 3 การแสดงสีของแกรนูลจะขึ้นกับความเข้มข้นของเลือดในปัสสาวะ จากภาพ ผลของปัสสาวะที่มีค่า pH เท่ากับ6 และมีความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.026 (4) © Blücare Lab

คำแนะนำการใช้งาน

นวัตกรรมใหม่นี้จะเปิดโอกาสให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยงในการใช้ผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญโรคแมวได้จัดทำคำแนะนำในการใช้งานผลิตภัณฑ์นี้เพื่อการเฝ้าระวังโรคระบบปัสสาวะในภาวะฉับพลันและติดตามอาการในรายที่ได้รับการยืนยันแล้ว (ตารางที่ 1)

 

 


การติดตามโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
ลักษณะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะส่วนบนหรือส่วนล่าง เมือกอุดตัน Idiopathic cystitis การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบนหรือส่วนล่าง
อาหารที่แนะนำ อาหารรักษาโรคโดยเฉพาะ การลดความเครียด อาหารเพื่อโรคทางเดินปัสสาวะ อาหารตามช่วงอายุ
ความถี่ในการใช้
Hematuria Detection
การติดตามในระยะฉับพลัน
ติดตามผลการรักษาของภาวะ hematuria ในระหว่างการรักษา
10-14 วัน 5-7 วัน 10-14 วัน
การกลับมาของอาการแบบฉับพลันและการติดตามต่อเนื่อง
ติดตามการกลับมาของอาการแบบฉับพลันและตรวจการกลับมาของอาการเป็นระยะๆ
ตางรางที่1 คำแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อการคัดกรองและเฝ้าติดตามแมวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ hematuria หรือได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ามีโรคทางเดินปัสสาวะ (6)

 

ปัจจุบันพบว่า Hematuria Detection น่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เดียวในท้องตลาดที่ทำให้เจ้าของแมวสามารถตรวจคัดกรองภาวะ hematuria ได้เองที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องเก็บปัสสาวะมาตรวจ ความง่ายในการใช้ผลิตภัณฑ์ทำให้แกรนูลนี้จะช่วยให้เจ้าของแมวและสัตวแพทย์เฝ้าติดตามและรักษาโรค LUTD ในแมวได้ง่ายขึ้น

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำแบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ได้ที่นี่

ทำแบบทดสอบ VET-CE

แหล่งอ้างอิง

  1. Dorsch R, Remer C, Sauter-Louis C, et al. Feline lower urinary tract disease in a German cat population; a retrospective analysis of demographic data, causes and clinical signs. Tierärztliche Praxis Ausgabe K Kleintiere Heimtiere 2014;42(4):231-239.
  2. Bartges J, Polzin DJ. Lower urinary tract disorders. In; Nephrology and Urology of Small Animals. Chichester, West Sussex, UK; Ames, Iowa: 2011 Wiley-Blackwell. p.750.
  3. Khenifar E, del Castillo JRE, Gara-Boivin C. Ex vivo sensitivity and robustness of a novel home-screening test for feline hematuria. J Feline Med Surg 2018;20;845-859. Clinical/research abstract accepted for presentation at ISFM Congress 2018, p.854.
  4. Khenifar E, del Castillo JRE, Gara-Boivin C. Reliability assessment of a novel home-screening test for feline hematuria, J Feline Med Surg 2018;20;845-859. Clinical/research abstract accepted for presentation at ISFM Congress 2018, p.854-855.
  5. del Castillo JRE. Profil toxicologique des pastilles. Personal communication, November, 2017.
  6. Scherk M, Buffington CAT, Carozza E, et al. Blücare® Granules: A novel tool for the early detection and monitoring of urinary tract disorders in cats; recommendations from an expert panel. Available at: https://www.linkedin.com/company/bl%C3%BCcare-lab/?originalSubdomain=fr Accessed Dec 15, 2018

Elodie Khenifar

Elodie Khenifar

Dr. Khenifar graduated from the National Veterinary School of Toulouse in 2013 and worked in both large and small animal practice for two years before moving to อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 29.2 เผยแพร่แล้ว 04/10/2022

การนำนิ่วในกระเพาะปัสสาวะออกโดยรบกวนสัตว์ป่วยน้อยที่สุด

ทางเลือกในการนำนิ่วในทางเดินปัสสาวะออกโดยรบกวนผู้ป่วยน้อยที่สุดนั้นในปัจจุบันได้กลายเป็น...

โดย Marilyn Dunn

หมายเลขหัวข้อ 29.2 เผยแพร่แล้ว 04/10/2022

การจัดการกับนิ่วในทางเดินปัสสาวะและความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะในแมว

การป้องกันและการรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะในแมวนั้นต้องอาศัยการจัดการในหลายปัจจัย

โดย Cecilia Villaverde

หมายเลขหัวข้อ 29.2 เผยแพร่แล้ว 01/07/2021

การจัดการภาวะปัสสาวะกะปริบกะปรอยในสุนัข

ภาวะปัสสาวะกะปริบกะปรอยเป็นอาการแสดงที่สัตวแพทย์สัตว์เล็กพบได้บ่อย...

โดย Rafael Nickel

หมายเลขหัวข้อ 29.2 เผยแพร่แล้ว 19/05/2020

การระบุปัญหาและการจัดการภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

เมื่อต้องระบุปัญหาด้านระบบทางเดินปัสสาวะ ศัพทวิทยาจัดเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจาก...

โดย J. Scott Weese