วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 28.1 Other Scientific

โรคผื่นผิวหนังอักเสบในแมว

เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

เขียนโดย Catherine D. Milley

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Polski , Português , Русский , Español และ English

แมวที่เป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบมักจะเป็นปัญหากวนใจทั้งกับเจ้าของและสัตวแพทย์ผู้ทำการรักษาอันเนื่องมาจากความยากในการระบุสาเหตุที่แท้จริงของโรค รวมถึงการรักษาที่อาจนำไปสู่การกลับมาของอาการเดิมซ้ำๆ ในบทความนี้ Dr. Catherine Milley จะนำเราเข้าสู่กระบวนการเชิงตรรกะในการจัดการกับโรคในกรณีต่างๆ (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

Feline miliary dermatitis

ประเด็นสำคัญ

Miliary dermatitis เป็นอาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อยในแมว มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย


รอยโรคของ miliary dermatitis สามารถพบได้ง่ายผ่านการคลำตรวจมากกว่าการดูด้วยสายตาในการตรวจร่างกายสัตว์


สาเหตุของโรคที่พบได้บ่อยคือการแพ้น้ำลายหมัด และควรพิจารณาการรักษาด้วยยาฆ่าปรสิตภายนอกสำหรับสัตว์ป่วยทุกตัวที่มีอาการนี้และอาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีการระบาดของหมัด


เจ้าของสัตว์หลายคนไม่ได้ตระหนักว่าแมวของตนเองมีภาวะ overgroom เพราะขาดความเข้าใจถึงพฤติกรรมการคันของแมวหรือไม่ทราบถึงสาเหตุของการ groom ที่ผิดปกติ


บทนำ

โรคผื่นผิวหนังอักเสบในแมว (miliary dermatitis) เป็นภาวะความผิดปกติของผิวหนังที่พบได้ทั่วไปในแมว มีชื่อเดิมว่า miliary eczema คำว่า “miliary” หมายถึงลักษณะคล้ายเม็ดขนาดเล็กหรือกลุ่มของเม็ดขนาดเล็กจำนวนมาก 1 มีที่มาจากการตรวจคลำตามร่างกายแมวแล้วพบรอยโรคนี้ ทำให้การตรวจวินิจฉัยด้วยการคลำง่ายกว่าการตรวจด้วยสายตา เพราะเม็ดเล็กๆจะซ่อนอยู่ใต้เส้นขนที่ดูเป็นปกติ หากอธิบายในทางตจวิทยาสามารถนิยามว่า miliary dermatitis คือกลุ่มของ papule ขนาดเล็กที่มี crust ความผิดปกตินี้ไม่ใช่คำวินิจฉัยของโรคแต่เป็นรูปแบบของอาการที่มีสาเหตุได้หลากหลาย ได้แก่ การแพ้น้ำลายหมัด แพ้อาหาร atopic dermatitis ปรสิตภายนอก แบคทีเรีย ไวรัส ยีสต์ เชื้อรา แพ้ยา pemphigus foliaceous ทุพโภชนการ feline hypereosinophilic syndrome และ urticaria pigmentosa 2 ในบทความนี้จะกล่าวถึงอาการทางคลินิก ลักษณะรอยโรค สาเหตุของการเกิดโรค รวมไปถึงวิธีการวินิจฉัยและการรักษา

อาการที่ตรวจพบ

A cat with barbered hair, patchy alopecia and miliary dermatitis along the dorsal lumbar region.
รูปที่ 1 แมวที่มีลักษณะขนหยิกหยอง ขนร่วงเป็นหย่อม ร่วมกับ miliary dermatitis ที่บริเวณด้านบนของสะโพก © Austin Richman, DVM

miliary dermatitis อาจพบเป็นหย่อมหรือกระจายตัวไปทั่วร่างกาย สามารถพบเดี่ยวๆหรือร่วมกับรอยโรคทางผิวหนังชนิดอื่นๆทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยทั่วไปปรากฏเป็น papule ขนาดเล็กตามหัว คอ,ขา ลำตัว หรือ สะโพกส่วนบน อาการอื่นที่มักพบร่วมด้วยคือ ขนร่วง รอยเกา แผลตื้น และแผลหลุม นอกจากนี้ยังพบ miliary dermatitis ในแมวที่แสดงกลุ่มอาการ eosinophilic granuloma complex เช่น indolent ulcer eosinophilic plaque และ eosinophilic granuloma สามารถพบอาการคันร่วมกับ miliary dermatitis ได้ แต่เจ้าของสัตว์อาจไม่ทราบว่าสัตว์มีอาการคันเพราะไม่ได้สังเกตหรือไม่เข้าใจถึงพฤติกรรมการ grooming

ระบบ SCORFAD (Scoring Feline Allergic Dermatitis)ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการประเมินการรักษา miliary dermatitis และโรคผิวหนังอื่นๆ 3 ทำการแบ่งร่างกายออกเป็น 10 ตำแหน่ง ได้แก่ หัว คอ อกด้านบนและด้านข้างโคนหางถึงปลายหาง สีข้าง รักแร้และsternum ท้อง perineum ขาและอุ้งเท้าหน้า สุดท้ายคือ ขาและอุ้งเท้าหลัง จากนั้นทำการนับจำนวน papule ที่ตรวจพบตามบริเวณต่างๆ จะสามารถแบ่งความรุนแรงของโรคได้ดังนี้ 3 very mild: พบ papule ไม่เกิน 10 ใน 1 ตำแหน่ง, mild: พบ papule เกิน 10 ใน 1 ตำแหน่ง, moderate: พบ papule ไม่เกิน 10 มากกว่า 1 ตำแหน่ง และ severe: พบ papule เกิน 10 มากกว่า 1 ตำแหน่ง

สาเหตุการเกิดโรค

Miliary dermatitis มีสาเหตุได้จากหลายโรค จากจุดประสงค์สำหรับการอภิปรายในบทความนี้ สาเหตุของโรคแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังต่อไปนี้

Hypersensitivity

ภาวะภูมิไวเกินที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม อาหาร ยา และแมลงโดยเฉพาะหมัดสามารถทำให้เกิดรอยโรค miliary dermatitis ได้ การแพ้น้ำลายหมัดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด เพราะในน้ำลายหมัดมีสารก่อความระคายเคืองซึ่งนำไปสู่ปฏิกิริยาภูมิไวได้ทำให้สัตวแพทย์ต้องคำนึงถึงสาเหตุนี้โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดของหมัด 245 การที่แมวได้รับสารก่อความระคายเคืองเป็นเวลาต่อเนื่องมีโอกาสกระตุ้นให้เกิดภาวะภูมิไวเกินได้เท่ากันกับหรือมากกว่ากรณีที่แมวได้รับสารก่อความระคายเคืองเป็นช่วงๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับในกรณีของสุนัขที่มีโอกาสเกิดภาวะภูมิแพ้ได้ง่ายกว่าหากได้รับสารก่อความระคายเคืองเป็นช่วงๆ 2 แมวที่แพ้น้ำลายหมัดจะแสดงอาการคัน และพบรอยโรคที่หัว ส่วนบนของ lumbar หาง และท้อง (รูป 2a และ 2b) 5 มีงานวิจัยหนึ่งพบว่าในประชากรแมวที่มีภาวะแพ้น้ำลายหมัด จะพบรอยโรค miliary dermatitis ประมาณ 35% 5

A patient with flea bite hypersensitivity exhibiting barbered hair, alopecia and miliary dermatitis of the dorsal lumbar region, tail, ventral abdomen and proximal hind limbs.
รูป 2a แมวที่แพ้น้ำลายหมัดจะพบรอยโรคของเส้นขนที่หัก ขนร่วง และ miliary dermatitis ที่บริเวณส่วนท้ายของลำตัว หาง ท้อง และปลายขาหลัง © Austin Richman, DVM
A patient with flea bite hypersensitivity exhibiting barbered hair, alopecia and miliary dermatitis of the dorsal lumbar region, tail, ventral abdomen and proximal hind limbs.
รูป 2b แมวที่แพ้น้ำลายหมัดจะพบรอยโรคของเส้นขนที่หัก ขนร่วง และ miliary dermatitis ที่บริเวณส่วนท้ายของลำตัว หาง ท้อง และปลายขาหลัง © Austin Richman, DVM

ภูมิแพ้ต่อสารอื่นๆในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่น้ำลายหมัด อาหาร หรือ feline atopy ก็เป็นอีกสาเหตุของ miliary dermatitis พบได้บ่อย สามารถพบแผลจากการเกา ขนร่วง และ รูปแบบ eosinophilic granulma complex ร่วมกันด้วย 6 งานวิจัยกล่าวว่าแมวที่มีภาวะ feline atopy จำนวน 18-34% จะพบรอยโรค miliary dermatitis 578 มากที่บริเวณหัวและใต้ท้อง 5

แมวที่แสดงอาการคันนอกฤดูกาลประมาณ 12-17% มีสาเหตุหลักมาจากการแพ้อาหาร 25 และในแมวที่แสดงอาการคันร่วมกับความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารมีสาเหตุมาจากการแพ้อาหารได้ถึง 42% 9 ในการศึกษาหนึ่งพบว่าแมวที่มีภาวะภูมิแพ้จากอาหารจะพบรอยโรค miliary dermatitis ได้ 20% 5 บริเวณที่พบรอยโรคร่วมกับอาการคันได้บ่อยคือ หัว คอ และใต้ท้อง 5

อาการแพ้จากสาเหตุอื่นๆสามารถก่อให้เกิดรอยโรคแบบ miliary dermatitis ได้เหมือนกัน เช่นการแพ้จากยุงกัดสามารถพบรอยโรคบริเวณสันจมูกและใบหู การแพ้ยาในสัตว์บางตัวจะพบอาการคันร่วมกับ miliary dermatitis 10

การติดเชื้อ

Figure 3. Preauricular and periocular miliary dermatitis and erythema in a cat with Demodex cati otitis and flea allergy dermatitis. The cat was positive for feline immunodeficiency virus.
รูป 3 แมวที่มีการติดปรสิต Demodex cati ที่หู และแพ้น้ำลายหมัด พบรอยโรค miliary dermatitis ร่วมกับ erythema ที่รอบดวงตาและรอบใบหู นอกจากนี้ยังพบว่าแมวให้ผลบวกกับการตรวจไวรัส FIV ด้วย © Catherine Milley, DVM, Dipl. ACVD

ปรสิตภายนอกชนิดอื่นๆนอกจากหมัด ได้แก่ Trombiculae spp. (Chigger mites), Cheyletiella spp., Otodectes cynotis, Sarcoptes scabiei, Felicola subrostratus, Notoedres cati และDemodex spp. สามารถก่อให้เกิด miliary dermatitis (รูป3) 11121314 ได้เช่นเดียวกัน ตำแหน่งของรอยโรคจะแตกต่างกันไป ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็นที่อาศัยของปรสิต ยกตัวอย่างเช่น แมวที่ติด Cheyletilla spp. จะพบรอยโรคมากตามลำตัว ในขณะที่แมวที่สงสัยว่าติด todectes cynotis จะพบรอยโรคที่หัวและรอบใบหู

แมวที่วินิจฉัยว่าเป็น pyoderma สามารถตรวจพบ miliary dermatistis ได้ 29% 15 แมวป่วยส่วนมากจะมีอาการคันและรอยโรคพบได้หลายตำแหน่ง (หน้า คอ ระยางค์ ใต้ท้อง หลัง)

แมวที่ติดเชื้อรามีโอกาสแสดงอาการคันได้น้อย เช่น Microsporum canis หากพบแมวที่มีอาการคันที่เด่นชัดร่วมกับการติดเชื้อรา สัตวแพทย์จำเป็นต้องหาสาเหตุอื่นที่ร่วมด้วยเสมอ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย ปรสิตภายนอก หรือภูมิแพ้ผิวหนัง 16 การเจริญของยีสต์ Malassezia ที่ผิดปกติ อาจก่อให้เกิด miliary dermatitis ได้เช่นเดียวกัน กรณีที่พบได้ยากคือ milary dermatitis ในแมวที่ติด FIV(รูป3) 17

อื่นๆ

Feline pemphigus foliaceus จะพบรอยโรคที่เป็น crusting dermatosis แบบเฉพาะจุด หรือกระจายตัวไปทั่ว ถือเป็นหนึ่งในการวินิจฉัยแยกแยะของ miliary dermatitis ถ้าเกิดพบรอยโรคที่หัว ใบหน้า และหู 10 urticaria pigmentosa เป็นการแสดงออกของภาวะ mastocytosis ที่อาจพบลักษณะของ papule ที่มี crustในแมวบางตัว และจะรุนแรงในแมวสายพันธุ์ Sphinx 18

แนวทางการตรวจวินิจฉัย

ประวัติและข้อมูลสัตว์ป่วย

สิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อมีแมวเข้ามารับการรักษาด้วยอาการ miliary dermatitis คือการวินิจฉัยแยกแยะสาเหตุที่เป็นไปได้ทั้งหมด การซักประวัติและข้อมูลของสัตว์อย่างละเอียดจะช่วยได้มาก หากแมวมีการออกไปนอกบ้านหรือเลี้ยงร่วมกับสัตว์อื่นที่ไปนอกบ้าน มีความเป็นไปได้ว่าอาจติดหมัดปรสิตภายนอกอื่นๆ ยุง หรือการระคายเคืองอื่นๆ การนำสัตว์เลี้ยงใหม่เข้ามาในบ้านหรือการที่สัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้านหรือคนที่อาศัยแสดงอาการจองโรคจะช่วยในการวินิจฉัยได้

ข้อมูลเกี่ยวกับอาการคัน ช่วงเวลาที่เกิดและความถี่จะช่วยในการวินิจฉัยแยกแยะเกี่ยวกับการแพ้น้ำลายหมัด แพ้อาหาร และ atopy ได้ ดังที่ได้กล่าวข้างบนว่าเจ้าของสัตว์อาจไม่ทราบว่าแมวแสดงอาการคันอย่างชัดเจนหรือไม่ สัตวแพทย์จึงต้องใช้การซักถามถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเช่นการเลีย การแทะ การถูลำตัว หรือพบขนที่แหว่งไป หย่อมขนที่ตกในบ้าน แม้แต่ก้อนขนที่แมวคายออกมามีขนาดใหญ่กว่าเดิมก็สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ว่าแมวคันได้

ระยะเวลาที่เจ้าของพบ miliary dermatitis มีส่วนช่วยให้วินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้น และรอยโรคนั้นพบเป็นครั้งแรก หรือเป็นสิ่งที่เคยเกิดซ้ำๆ หากว่าแมวได้รับยาชนิดใหม่ก็อาจต้องสงสัยเกี่ยวกับการแพ้ยา หากแมวมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยอาจสงสัยว่าเป็นการแพ้อาหาร

อายุและพันธุ์ของแมวสามารถใช้พิจารณาถึงกระบวนการเกิดโรคได้ แมวพันธุ์ Sphinx มีโอกาสเกิด urticaria pigmentosa ได้รุนแรง แมวพันธุ์ Siamese มีโอกาสพบการแพ้อาหารได้สูงกว่าพันธุ์อื่นๆ 2 แมวที่มี atopic syndrome มักแสดงอาการครั้งแรกที่ช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี 2

การตรวจร่างกาย

การตรวจผิวหนังควรทำร่วมกับการตรวจร่างกายโดยละเอียด ตุ่มของ miliary dermatitis จะมีขนาดเล็กและมี crust ทำให้การสัมผัสโดยเอามือลูบไปที่ผิวของแมวโดยตรงจะตรวจพบได้ง่ายกว่า (รูป4) การตรวจหูรวมไปถึงอุ้งเท้าและเล็บสามารถบอกถึงความผิดปกติอื่นๆที่มีอยู่ได้

Figure 4. Small crusted papules of miliary dermatitis. These lesions were found upon palpation under a relatively normal hair coat.
รูป 4 papule ที่มี crust พบอยู่ใต้เส้นขนที่ดูเป็นปกติ © Catherine Milley, DVM, Dipl. ACVD
Miliary dermatitis on the dorsal cervical region of a cat with flea allergy dermatitis and feline atopic syndrome.
รูป 5 Miliary dermatitis บริเวณหลังคอของแมวที่แพ้น้ำหลายหมัดและเป็น atopy © Wayne Rosenkrantz, DVM, Dipl. ACVD

สัตวแพทย์ต้องพยามหารอยโรคอื่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ด้วย miliary dermatitis เป็นหนึ่งในสี่รูปแบบความผิดปกติทางผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับภาวะภูมิไวเกิน (รูป5) รูปแบบที่เหลือคือแผลเกาที่หน้า คอ ขนร่วง และ eosinophilic granulma complex 6 ในรายงานหนึ่งพบว่ามีแมวที่เป็น atopy ถึง 30% จะพบรอยโรค miliary dermatitis ร่วมกับ eosiniphilic granuloma complex แต่มีเพียง 4% ที่จะพบรอยโรค miliary dermatitis เพียงอย่างเดียว 6 แมวที่มี pemphigus foliaceus มักพบคราบหนองตามซอกเล็บ ร่วมกับการพบ crust ตามลำตัวโดยเฉพาะที่หน้า โรคติดเชื้อรามักพบเส้นขนที่หัก ปื้นแดงและขนร่วง รังแคหรือ dander สามารถพบได้ในกรณีของ Cheyletiella และแมวที่เป็นภูมิแพ้หรือติด Otodecdes cynotis อาจตรวจพบว่าเป็นหูชั้นนอกอักเสบด้วย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ควรใช้หวีสางเส้นขนเพื่อตรวจหาหมัด และปรสิตภายนอกอื่นๆ เช่น Cheyletiella spp. หรือ Felicola subrostratus การขูดตรวจผิวหนังมีประโยชน์ในการตรวจ Demodex spp. Notoedres cati และ Sarcoptes scabiei อาจจำเป็นต้องทดลองใช้ยากำจัดปรสิตภายนอกเพื่อวินิจฉัยสาเหตุนี้ด้วย การใช้ยากำจัดหมัดที่โตเต็มวัยและได้ผลเร็วได้แก่ spinosad nitenpyram หรือ furalaner สัตวแพทย์ต้องอธิบายให้เจ้าของสัตว์ทราบถึงวงจรชีวิตของหมัดว่าไข่หมัดจะไม่ถูกกำจัดด้วยยา ดังนั้นเจ้าของสัตว์จำเป็นต้องทำการกำจัดหมัดต่อเนื่องเพื่อให้หมดไปจากสิ่งแวดล้อม รวมถึงใช้ยากำจัดหมัดกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆภายในบ้านด้วย

Demodex gatoi found on fecal flotation.

รูป 6 Demodex gatoi ที่พบจากการทำ fecal floatation © Catherine Milley, DVM, Dipl. ACVD

 

การตรวจอุจจาระด้วยวิธี fecal floatation สามารถช่วยวินิจฉัยการติดปรสิตภายนอกได้ เช่น Otodectes, Notoedres, Cheyletiella mites, Demodex gatoi (รูป 6) Lynxacarus radovskyi และ Chigger mites 19 หากตรวจพบพยาธิ Dipylidium caninum ในอุจจาระ มีโอกาสสูงที่จะเจอหมัดบนตัวแมวเพราะเป็น intermediate host ของพยาธิ 20

สัตว์ที่แสดงอาการ miliary dermatitis ทุกกรณีควรมีการตรวจทาง cytology เพื่อดูการมีอยู่ของแบคทีเรีย ยีสต์ และใช้ในการวางแผนการรักษา รวมถึงติดตามอาการของ pemphigus foliaceus และเชื้อราชนิดอื่นบนผิวหนัง หากพบแบคทีเรียบนผิวหนังอาจพิจารณาเพาะเชื้อหาความไวต่อยาปฏิชีวนะเพื่อเลือกยาให้เหมาะสม

การเพาะเชื้อรา การทดสอบ Wood’s lamp การส่องตรวจเส้นขนด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการตรวจ PCR หาเชื้อรา ช่วยในการวินิจฉัยได้ แต่ไม่ได้มีความแม่นยำ 100% สัตวแพทย์ต้องใช้ข้อมูลที่ได้ ประกอบกับการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และรอยโรคเพื่อยืนยัน

หลังจากที่ได้ตัดสาเหตุเกี่ยวกับการติดเชื้อหรือรักษาแล้ว สัตวแพทย์จะสามารถทำการวินิจฉัยต่อได้ด้วยการทำ tissue biopsy และ dermatohistopathology เพื่อหาสาเหตุที่เกี่ยวกับ pemphigus foliaceus การแพ้ยา urticaria pigmentosa เนื้องอก และยังสามารถใช้ผลตรวจชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันภาวะภูมิแพ้ได้ด้วย การตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะสามารถใช้ตัดสาเหตุจากโรคอื่นเช่น hyperthyroidism และ การติดเชื้อ retrovirus ที่ส่งผลให้แผลหายช้าหรือมีโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย

หากแมวมีอาการคันที่ไม่ได้ขึ้นกับฤดูกาลและพบ miliary dermatitis เมื่อทำการตัดสาเหตุแพ้น้ำลายหมัดได้แล้ว สัตวแพทย์ควรทำการทดสอบการแพ้อาหาร โดยใช้อาหารที่มีส่วนประกอบของ novel protein หรือ hydrolyzed protein โดยมากจะเริ่มเห็นการตอบสนองที่ดีขึ้นใน 6 สัปดาห์หากแมวมีการแพ้อาหารจริง แต่อาจจะใช้เวลาถึง 12 สัปดาห์ ถึงจะหายสนิท 2 และควรยืนยันการแพ้อาหารด้วยการกลับไปให้อาหารปกติหลังจากที่หายแล้ว

การทดสอบ intradermal test และ serum allergy test จะช่วยในการรักษาหลังสามารถตัดสาเหตุอื่นออกไปได้จากแมวที่มีประวัติความน่าจะเป็น atopy แต่ไม่ควรใช้เป็นการทดสอบเพื่อวินิจฉัย atopic syndrome โดยตรง

การรักษา

การรักษา miliary dermatitis ให้ได้ผลดีจำเป็นต้องรักษาการติดเชื้อร่วมกันการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างเหมาะสม

หากพบแบคทีเรียจากการตรวจ cytology สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะทั้งแบบกินและแบบใช้ภายนอก ยาชนิดกินที่นิยมเลือกใช้อันดับแรกคือ amoxicillin-clavulanic acid และ cefovecin หลังจากที่การติดเชื้อที่ผิวหนังดีขึ้นยังคงต้องให้ยาต่อไปอัก 1 สัปดาห์ 21 ยาใช้ภายนอกเช่น chlorhexidine benzoyl peroxide silver sulfadiazine และ fusidic acid สามารถใช้ร่วมกับยากินเพื่อทำให้กระบวนการหายเร็วขึ้น 22 หรือใช้เดี่ยวในกรณีที่รอยโรคมีขนาดไม่ใหญ่มากและจำกัด หลังจากที่ใช้ยาเฉพาะที่แล้ว เจ้าของสัตว์จำเป็นต้องควบคุมไม่ให้แมวเลียตัวเองจนกว่ายาจะแห้งหรือดูดซึมจนหมดโดยอาจใส่ elizabeth collar หรือ ดึงความสนใจด้วยของเล่น

สัตว์ป่วยที่ติดเชื้อรา dermatophyte ทุกกรณีควรได้รับการรักษาด้วยยาภายนอก ตัวเลือกที่ได้ผลดีได้แก่ การจุ่ม Lime sulfur 2% สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ฟอกด้วย miconazole 2% กับ chlorhexidine 2% หรือ enilconazole 0.2% 23 หากมีการใช้ยาฆ่าเชื้อราแบบกินร่วมด้วย ยาที่เหมาะสมกับแมวคือ itraconazole และ terbinafine ควรใช้ยาจนกว่าผลการเพาะเชื้อราจะเป็นลบ 2-3 ครั้งต่อเนื่องในการทดสอบรายสัปดาห์ ด้วยลักษณะความสามารถในการแพร่ของเชื้อรา จำเป็นต้องแยกแมวที่ติดเชื้อ รวมถึงทำการรักษาสัตว์ทุกตัวด้วยยาภายนอกจนกว่าการรักษาจะจบลง การจัดการสปอร์ของเชื้อราที่มีความทนทานในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง 18 เดือน 16 ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เจ้าของสัตว์ต้องใช้ที่ดูดฝุ่นหรือผ้าที่มีไฟฟ้าสถิตย์สำหรับดักเส้นขนเพื่อลดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ตามด้วยการฆ่าเชื้อด้วย sodium hypochlorite 0.5% หรือสารออกซิไดซ์อื่นๆ 16

การกำจัดปรสิตภายนอกควรเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับชนิดของปรสิตที่สงสัยหรือตรวจพบ การใช้ยากำจัดปรสิตภายนอกที่ได้ผลเป็นวงกว้างและใช้ต่อเนื่องเช่น selamectin หรือ imidacloprid 10% ร่วมกับ moxidectin 1% จะครอบคลุมปรสิตภายนอกของแมวเกือบทุกชนิด 12 ปรสิต D. gatoi จะหายยากกว่าชนิดอื่นและอาจจะต้องทำการรักษาด้วยการจุ่ม Lime sulfur 2% สัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลาถึง 6 สัปดาห์ รวมถึงต้องรักษาสัตว์ตัวอื่นที่เลี้ยงร่วมกันด้วย มีหลักฐานว่าสามารถใช้ imidacloprid 10% ร่วมกับ moxidectin 1% รักษาได้เหมือนกัน 24

การแพ้น้ำลายหมัดเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของ miliary dermatitis ในแมวทั่วโลก การทดลองรักษาด้วยยากำจัดหมัดตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นควรทำในแมวที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของหมัด และแมวที่มีหมัดอาจต้องรักษาต่อเนื่อง 2-3 เดือนเพื่อให้ผลการรักษาออกมาดี นอกจากนี้ยังต้องรักษาสัตว์ทุกตัวที่สัมผัสกับแมวเพื่อลดโอกาสการถูกหมัดกัดต่อไปในอนาคต

กรณีที่แพ้อาหาร หลังจากที่ทดสอบด้วยการจำกัดอาหารและยืนยันด้วยการกลับไปกินอาหารเดิมแล้วอาการแย่ลง สัตวแพทย์ควรทำการทดสอบการแพ้ต่อวัตถุดิบแต่ละชนิดเพื่อที่จะได้วางแผนหลีกเลี่ยงวัตถุดิบที่แมวแพ้ หรืออีกทางเลือกคือให้อาหารที่มี novel protein หรือ hypdrolyzed protein ในระยะยาว

แมวที่เป็น atopy จะตอบสนองต่อการรักษาแบบผสมผสานได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการทำ allergy test การทำ desensitization ให้ยาที่ช่วยควบคุมอาการเช่น corticosteroids cyclosporine antihistamines ให้อาหารที่ช่วยในการเสริมความแข็งแรงของผิวหนัง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาว โดยเฉพาะกลุ่ม omega-3 มาก การใช้ยาภายนอกกลุ่มยาฆ่าเชื้อ corticosteroids และยาชาเฉพาะที่เช่น pramoxine จะช่วยให้อาการ atopy ทุเลาลงได้เช่นกัน

โดยสรุป Miliary dermatitis มีสาเหตุหลากหลายประการ การรักษาที่ได้ผลที่สุดคือการวินิจฉัยสาเหตุและการจัดการสาเหตุทั้งหมดที่ซ่อนอยู่ การแพ้น้ำลายหมัดเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดและควรพิจารณาในแมวทุกตัวที่เป็น miliary dermatitis

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำแบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE Credit ได้ที่นี่

ทำแบบทดสอบ VET-CE

แหล่งอ้างอิง

  1. “Miliary.” Available at: www.merriam-webster.com. Accessed June 10, 2017.

  2. Miller W, Griffin C, Campbell K. Hypersensitivity disorders. In: Miller W, Griffin C, Campbell K (eds). Muller & Kirk‘s Small Animal Dermatology 7th ed. St. Louis: Elsevier, 2013; 363-431.

  3. Steffan J, Olivry T, Forster S, et al. Responsiveness and validity of the SCORFAD, an extent and severity scale for feline hypersensitivity dermatitis. Vet Dermatol 2012;23:410-e77.

  4. Gross T, Ihrke P, Walder E, et al. Ulcerative and crusting diseases of the epidermis. In: Gross T, et al (eds). Skin Diseases of the Dog and Cat: Clinical and Histopathologic Diagnosis 2nd ed. Ames: Blackwell Science, 2005;118-121.

  5. Hobi S, Linek M, Marignac G, et al. Clinical characteristics and causes of pruritus in cats: a multicentre study on feline hypersensitivity-associated dermatoses. Vet Dermatol 2011;22:406-413.

  6. Favrot C, Steffan J, Seewald W, et al. Establishment of diagnostic criteria for feline non-flea-induced hypersensitivity dermatitis. Vet Dermatol 2011;23:45-e11.

  7. Favrot C, Steffan J, Seewald W. Allergy – pathogenesis, diagnostics, and clinical signs: Clinical signs in cats with hypersensitivity dermatitis. Vet Dermatol FC-15 Free Communication Abstracts Session 3: 2008;19 (Suppl. 1):33-34.

  8. Ravens P, Xu B, Vogelnest L. Feline atopic dermatitis: a retrospective study of 45 cases (2001-2012). Vet Dermatol 2014;25:95-e28.

  9. Markwell P. Prevalence of food sensitivity in cats with chronic pruritus, vomiting or diarrhea. In: Kwochka K, et al. (eds). Advances in Veterinary Dermatology III, Boston: Butterworth Heinemann 1998:493.

  10. Miller W, Griffin C, Campbell K. Autoimmune and immune-mediated dermatoses. In: Miller W, et al (eds.) Muller & Kirk‘s Small Animal Der­matology. 7th ed. St. Louis: Elsevier, 2013;432-500.

  11. Murai T, Nogami S, Hasegawa A. Protozoal and parasitic diseases: Chigger infestation in three domestic cats with miliary dermatitis. Vet Dermatol Free Communication Abstracts Session 5:2008;19 (Suppl. 1):65.

  12. Miller W, Griffin C, Campbell K. Parasitic skin disease. In: Miller W, et al (eds.) Muller & Kirk‘s Small Animal Dermatology. 7th ed. St. Louis: Elsevier 2013;284-342.

  13. Beale K. Feline dermodicosis; a consideration in the itchy or overgroo­ming cat. J Feline Med Surg 2012;14:209-213.

  14. Favrot C. Clinical presentations and specificity of feline manifestations of cutaneous allergies. In: Noli C, et al (eds) Veterinary Allergy. Hoboken: John Wiley & Sons, 2014;211-216.

  15. Yu H, Vogelnest L. Feline superficial pyoderma: a retrospective study of 52 cases (2001-2011). Vet Dermatol 2012;23:448-e86.

  16. Miller W, Griffin C, Campbell K. Fungal and algal skin diseases. In: Miller W, et al (eds.) Muller & Kirk‘s Small Animal Dermatology. 7th ed. St. Louis: Elsevier, 2013; 223-283.

  17. Miller W, Griffin C, Campbell K. Viral, rickettsial, and protozoal skin diseases. In: Miller W, et al (eds.) Muller & Kirk‘s Small Animal Derma­tology. 7th ed. St. Louis: Elsevier, 2013;343-362.

  18. Miller W, Griffin C, Campbell K. Congenital and hereditary defects. In: Miller W, et al (eds.) Muller & Kirk‘s Small Animal Dermatology. 7th ed. St. Louis: Elsevier, 2013;573-617.

  19. Milley C, Dryden M, Rosenkrantz W, et al. Comparison of parasitic mite retrieval methods in a population of community cats. J Feline Med Surg 2017;19:657-664.

  20. Bowman D. Helminths. In: Bowman D, et al (eds.) Georgis‘ Parasitology for Veterinarians 8th ed. St. Louis: Elsevier, 2003:115-243.

  21. Beco L, Guaguere E, Mendex C, et al. Suggested guidelines for using systemic antimicrobials in bacterial skin infections (2): antimicrobial choice, treatment regimens and compliance. Vet Rec 2013;172:156-160.

  22. Hillier A, Lloyd D, Weese J, et al. Guidelines for the diagnosis and antimicrobial therapy of canine superficial bacterial folliculitis (Antimicrobial Guidelines Working Group of the International Society for Companion Animal Infectious Diseases). Vet Dermatol 2014;25:163-175.
  23. Moriello K. Treatment of dermatophytosis in dogs and cats: review of published studies. Vet Dermatol 2004;15:99-107.
  24. Short J, Gram D. Successful treatment of Demodex gatoi with 10% imidacloprid /1% moxidectin. J Am Anim Hosp Assoc 2016;52:68-72.
Catherine D. Milley

Catherine D. Milley

Dr. Milley graduated from the Western College of Veterinary Medicine in Canada in 2006 and worked in both mixed and small animal practice. อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 28.1 เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

โรคตุ่มน้ำพองเพมฟิกัสในแมว

โรคตุ่มน้ำพองเพมฟิกัส (pemphigus foliaceus) ในแมวเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย แต่...

โดย Ralf S. Mueller และ Christoph J. Klinger