วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 24.2 ทรัพยากรมนุษย์

การรับมือกับความผิดพลาดอย่างมีประสิทธิภาพ

เผยแพร่แล้ว 17/11/2023

เขียนโดย Marie K. Holowaychuk

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Español และ English

ความผิดพลาดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับพวกเราทุกคนในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ บทความนี้จะพิจารณาว่าผู้คนจะมีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อสิ่งต่างๆเกิดความผิดพลาดขึ้นและที่สำคัญคือเพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับความผิดพลาดได้ดีที่สุด (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล) 

veterinary team

ประเด็นสำคัญ

ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ (veterinary practice) และความผิดพลาดต่างๆนี้อาจส่งผลต่อเหล่าสัตวแพทย์อย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีวัฒนธรรม “ตำหนิและทำให้อับอาย” (blame and shame culture) 


เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดจนส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ป่วยมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดผลกระทบด้านลบ (negative impacts) ในระยะยาวต่อชีวิตของสัตวแพทย์เมื่อเปรียบเทียบกับความผิดพลาดที่ไม่เป็นอันตราย 


การเปิดเผยความผิดพลาดให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงทราบ การเปิดเผยแง่มุมทางเทคนิคที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำและการพึ่งพาผู้อื่นเพื่อขอความสนับสนุนจะช่วยให้สัตวแพทย์สามารถฟื้นตัวหลังจากเกิดความผิดพลาดได้ดียิ่งขึ้น 


การเรียนรู้ทางอารมณ์จะช่วยเพิ่มทักษะในการทนต่อแรงกดดัน (resilience) จากความผิดพลาดซึ่งอาจรวมไปถึงการฝึกสติ การมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศมากกว่าความสมบูรณ์แบบและปลูกฝังความเห็นอกเห็นใจตนเอง 


บทนำ 

การมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในระดับหนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับงานของมนุษย์ ซึ่งนั่นหมายความว่าสัตวแพทย์ก็มีความเสี่ยงที่จะทำผิดพลาดเมื่อปฏิบัติงานในคลินิกเช่นกัน โดยอันที่จริงแล้วความผิดพลาดถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานด้านสัตว์แพทย์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ขณะที่ต้องคาดการณ์ความผิดพลาดในการทำงาน ความรู้สึกกลัวต่อความผิดพลาดนั้นก็ถือเป็นความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่พบได้บ่อยที่สุดที่สัตวแพทย์มักจะอ้างถึง 1 ความกลัวนี้อาจรุนแรงขึ้นเนื่องจากความเครียดทางศีลธรรม (moral stress) ในบุคคลที่กำลังทำงานท่ามกลางสถานการณ์ที่นำไปสู่ข้อขัดแย้งหรือปัญหาทางจริยธรรม (ethical conflict) 2 ตัวอย่างเช่น เมื่อทีมทำงานที่ขาดพนักงานกำลังจัดการกับเคสรักษาที่มีความซับซ้อนหรือเมื่อสัตวแพทย์ถูกขอให้ทำการผ่าตัดโดยที่สัตวแพทย์รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณสมบัติหรือไม่ได้รับการฝึกฝนให้ทำ ซึ่งในสถานการณ์เหล่านี้หรือสถานการณ์อื่นๆที่คล้ายคลึงกันนั้นสามารถทำให้เกิดความเครียดทางศีลธรรม เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดและสัตวแพทย์ก็จะมีความเสี่ยงต่อความทุกข์ทางจิตใจมากขึ้น (psychological distress)

วามกลัวเกี่ยวกับความผิดพลาดไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับอันตรายที่เกิดขึ้นกับตัวสัตว์เท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินคดีที่อาจเกิดขึ้น การร้องเรียนต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสัตวแพทย์และการรับรู้หรือความเข้าใจของลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งในหลายๆสถานการณ์ความโน้มเอียงแรกคือการพยายามซ่อนความผิดพลาดเนื่องจากกลัวว่าจะถูกตำหนิหรือมีความรู้สึกอับอายส่วนตัว สัตวแพทย์บางคนที่ทำผิดพลาดหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มีศักยภาพที่จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหากพวกเขามีทักษะและกลยุทธ์ในการเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างยืดหยุ่น แต่ผู้ที่จมอยู่กับความผิดพลาดหรือชอบวิจารณ์ตนเองหรือเอาแต่โทษตัวเองมีแนวโน้มที่จะประสบกับความทุกข์ในระยะยาวในภายหลังหรือแม้แต่สัตวแพทย์เหล่านั้นอาจพิจารณาออกจากอาชีพโดยสิ้นเชิง สัตวแพทย์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนสำคัญเพื่อยอมรับแนวคิดที่ว่าความผิดพลาดเป็นปกติของการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์เพื่อขจัดวัฒนธรรม “ตำหนิและทำให้อับอาย” ที่ยังคงมีอยู่ในวงการสัตวแพทย์และเพื่อเข้าใกล้กับความผิดพลาดอย่างมีสติด้วยการเปิดเผยความผิดพลาด มีทัศนคติที่ดี มีการสนับสนุนและการเรียนรู้ทางเทคนิคและอารมณ์ ทั้งนี้เพราะความผิดพลาดเป็นส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์และสัตวแพทย์ต้องการสติในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ข้อผิดพลาดทางการแพทย์สามารถพบได้บ่อยแค่ไหน?  

ในทุกๆปี ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ประมาณ 1.5 ล้านครั้งซึ่งเกิดขึ้นในสาขาทางการแพทย์ของมนุษย์และในแต่ละปียังมีผู้เสียชีวิตเกือบ 100,000 รายจากข้อผิดพลาดทางการแพทย์ 3 ทั้งนี้อุบัติการณ์ของข้อผิดพลาดในทางสัตวแพทยศาสตร์นั้นได้รับการประเมินน้อยกว่าแต่ก็สามารถพบได้บ่อยเช่นเดียวกัน มีการศึกษาล่าสุดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประเภทและความรุนแรงของข้อผิดพลาดทางการแพทย์ที่ได้รับรายงานในสถานประกอบการสัตวแพทย์ 3 แห่งในประเทศสหรัฐอเมริกา (โรงพยาบาลสัตว์เล็กเพื่อการเรียนการสอน (small animal teaching hospital) โรงพยาบาลสัตว์ใหญ่เพื่อการเรียนการสอน (large animal teaching hospital) และการปฏิบัติเฉพาะทางสัตว์เล็ก (small animal multispecialty practice)) โดยใช้ระบบรายงานเหตุการณ์ตามความสมัครใจ ซึ่งข้อผิดพลาดถูกจัดประเภทตามที่อธิบายไว้ในตารางที่ 1 พร้อมตัวอย่าง นอกจากนี้เหตุการณ์ยังถูกจัดประเภทตามการส่งผลออกเป็น เกือบเกิดความผิดพลาด (เช่น ข้อผิดพลาดยังไม่ถึงผู้ป่วยแต่อาจทำให้เกิดอันตรายได้) ไม่เป็นอันตราย (เช่น ข้อผิดพลาดมาถึงผู้ป่วยแต่ก็ไม่ก่อให้เกิดอันตราย) ก่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (เช่น ข้อผิดพลาดมาถึงผู้ป่วยและก่อให้เกิดอันตราย) หรือภาวะที่ไม่ปลอดภัย (เช่น สถานการณ์หรือภาวะที่เพิ่มความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย) บันทึกได้รับการตรวจสอบย้อนหลังเพื่อวัดความรุนแรงของข้อผิดพลาด 4 โดยในระหว่างการศึกษาตลอด 3 ปี พบว่ามีรายงานเหตุการณ์ทั้งหมด 560 เหตุการณ์หรือเทียบเท่ากับข้อผิดพลาดประมาณ 5 ครั้งต่อผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ 1000 รายซึ่งถือว่าสูงกว่าการเข้ารับบริการปฐมภูมิ (primary care visits) ของผู้ป่วยมนุษย์อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งประมาณ 1 ในทุกๆ 1000 ครั้งที่มาเข้ารับบริการอาจส่งผลให้เกิดอันตรายที่สามารถป้องกันได้ โดยข้อผิดพลาดของยา (drug errors) เป็นข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อยที่สุดในการศึกษา ตามด้วยความล้มเหลวในการสื่อสาร ทั้งนี้พบข้อผิดพลาดต่อผู้ป่วยโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายประมาณร้อยละ 45 ของข้อผิดพลาดทั้งหมด แต่ร้อยละ 15 ของข้อผิดพลาดทั้งหมดนั้นสามารถส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ รวมถึงร้อยละ 8 นั้นอาจส่งผลให้เกิดโรคถาวรหรือเสียชีวิตได้ และสัดส่วนข้อผิดพลาดสูงสุดนั้นเกิดขึ้นในโรงพยาบาลสัตว์เล็กเพื่อการเรียนการสอนซึ่งอาจเป็นเพราะมีการรายงานเป็นจำนวนมาก 4

มีการศึกษาอื่นที่นับประเภทของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยอ้างอิงจากบันทึกการรายงานเกือบ 3000 รายงานที่ส่งไปยังบริษัทประกันภัยเพื่อเรียกร้องการชดใช้ค่าเสียหายทางสัตวแพทย์ในประเทศสหราชอาณาจักร โดยพบว่าข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการผ่าตัดนั้นพบได้บ่อยที่สุด (ร้อยละ 41) ตามด้วยการรักษาพยาบาล (ร้อยละ 30) การคลอด (ร้อยละ 13) การวินิจฉัย (ร้อยละ 9) คำแนะนำ (ร้อยละ 5) และการดมยาสลบ (ร้อยละ 2) ซึ่งการประเมินเพิ่มเติมของกลุ่มย่อยของการกล่าวอ้างเหล่านั้นระบุว่าร้อยละ 51 ของข้อผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นจากข้อจำกัดด้านการรับรู้ (cognitive limitations) ในรูปแบบของข้อผิดพลาดจากการเสียสมาธิ (absent-minded errors of distraction) (เช่น พลั้งเผลอหรือหลงลืม) และความผิดพลาดที่เกิดจาการประยุกต์ใช้กฎผิดหรือความผิดพลาดจากความไม่รู้ (rule- or knowledge-based mistakes) โดยความผิดพลาดที่เกิดจากการประยุกต์ใช้กฎผิดนั้นเป็นผลมาจากการใช้ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง ในขณะที่ความผิดพลาดจากความไม่รู้นั้นเป็นผลมาจากความพยายามที่ไม่ถูกต้องในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน 5

ตารางที่ 1 หมวดหมู่ คำอธิบายและตัวอย่างของข้อผิดพลาดทางการแพทย์ในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ 

หมวดหมู่  คำอธิบาย  ตัวอย่าง 
ยา  ความผิดพลาดในการบริหารยา  ให้ยาผิดกับสัตว์ป่วย  
โรคแทรกซ้อนจากการรักษา (Iatrogenic)   ความผิดพลาดเกี่ยวกับกระบวนการทำงานหรือการรักษา (นอกเหนือจากยา)  ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัด 
ระบบ  ความล่าช้า ความผิดพลาดในการรักษาหรือปัญหาของโปรโตคอล  สัตวแพทย์ลืมให้การรักษา 
การสื่อสาร  ความสับสนเกี่ยวกับคำสั่งของสัตว์ป่วย (patient orders)  การสื่อสารที่ผิดพลาดส่งผลให้สัตว์ป่วยได้รับการรักษาผิดตัว 
ห้องปฏิบัติการ  ตัวอย่างสูญหายหรือติดป้ายฉลากผิด  คนติดป้ายฉลากหลอดเลือดผิด ทำให้ผลการตรวจเลือดไม่ถูกต้องตามที่ต้องการ 
การกำกับดูแล  การวินิจฉัยพลาดหรือผิดไปจากมาตรฐานการดูแล (standard of care)  สัตวแพทย์วินิจฉัยสัตว์ป่วยผิดว่าเป็นโรคไตวายไม่ใช่โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) 
เจ้าหน้าที่  เจ้าหน้าที่หรือการฝึกอบรมไม่เพียงพอจนส่งผลให้เกิดความผิดพลาด  สมาชิกในทีมที่ไม่ได้รับการฝึกฝนสอดสายยางให้อาหาร (a feeding tub) เข้าไปในทางเดินหายใจของสัตว์ป่วยอย่างไม่ถูกต้อง 
อุปกรณ์  อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งไม่พร้อมใช้งานหรือจำเป็นต้องซ่อมแซม  จอภาพเสียและไม่สามารถใช้เฝ้าติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจของสัตว์ป่วยและตรวจจับภาวะการเต้นผิดปกติของหัวใจ (arrhythmia) ไม่ได้ 

การมองความผิดพลาดในมุมมองที่ถูกต้อง 

การสำรวจสัตวแพทย์ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศสหราชอาณาจักรจำนวนมากกว่า 100 คน ในปี 2001 พบว่าร้อยละ 78 เคยทำผิดพลาดตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานในคลินิก 6 อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องชี้แจ้งก่อนว่าความผิดพลาดนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายเสมอไปและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์นั้นก็ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดเสมอไปเช่นเดียวกัน ทั้งนี้แม้ว่าเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์บางอย่างอาจเกิดจากความผิดพลาดจากความประมาทเลินเล่อ (เช่น ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการดูแล) แต่ในบางกรณีสัตวแพทย์อาจปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามมาตรฐานแต่ทำผิดพลาดในกระบวนการ ตัวอย่างเช่น สัตวแพทย์อาจปฏิบัติตามมาตรฐานการดูแลโดยการถ่ายภาพรังสีเพื่อให้แน่ใจว่าสอดสายยางให้อาหารทางจมูก (nasal feeding tube) เข้าไปในระบบทางเดินอาหารอย่างเหมาะสม แต่อาจตรวจสอบภาพถ่ายรังสีและคิดว่าสายยางอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องทั้งๆที่สอดเข้าไปในทางเดินหายใจโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งสิ่งนี้อาจส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หากสุนัขได้รับอาหารผ่านสายยาง (รูปภาพที่ 1) นอกจากนี้ในบางครั้งสัตวแพทย์จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อภาวะแทรกซ้อนที่คาดเดาไม่ได้ เช่น ปฏิกิริยาของยา (drug reaction) หรือความผันแปรทางชีวภาพโดยธรรมชาติ (inherent biological variability) ของสัตว์ป่วย โดยลืมไปว่าสัตว์ที่ได้รับการรักษาโรคเดียวกันด้วยวิธีในลักษณะเดียวกันอาจมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันได้ ซึ่งสถานการณ์ต่างๆเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดแต่สัตวแพทย์อาจต้องรับผิดชอบต่อกระบวนการตัดสินใจของตนเองที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์

A radiograph reveals a nasal feeding tube is misplaced in the airway of a dog instead of the esophagus

รูปภาพที่ 1 ภาพถ่ายรังสีแสดงให้เห็นว่าสายยางให้อาหารทางจมูกถูกสอดผิดตำแหน่งแล้วเข้าไปอยู่ในระบบทางเดินหายใจของสุนัขแทนที่จะเป็นหลอดอาหาร (esophagus) 
© Marie K. Holowaychuk

ผลที่ตามมาของเหตุการณ์เกือบพลาด (near-misses events) และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (adverse events) 

ผลจากการสำรวจออนไลน์ของสมาชิก Veterinary Information Network มากกว่า 600 รายพบว่าร้อยละ 74 ของผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เกือบพลาดอย่างน้อย 1 เหตุการณ์และร้อยละ 30 รายงานว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อย่างน้อย 1 เหตุการณ์ 7 โดยสัดส่วนของสัตวแพทย์ที่ได้รับผลกระทบเชิงลบทั้งในระยะสั้น (≤ 1 สัปดาห์) และระยะยาว (> 1 สัปดาห์) ต่อชีวิตส่วนตัวและอาชีพนั้นจะสูงกว่าในผู้ตอบแบบสอบถามที่ประสบกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เมื่อเทียบกับเหตุการณ์เกือบพลาด (ตารางที่ 2) ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าผลกระทบเชิงลบของการทำผิดพลาดจะเลวร้ายลงเมื่อสัตว์ป่วยได้รับอันตรายเมื่อเทียบกับกรณีที่สัตว์ป่วยไม่ได้รับผลกระทบเชิงลบ อีกทั้งยังส่งผลต่ออาชีพมากกว่าชีวิตส่วนตัว

ตารางที่ 2 สัดส่วนของสัตวแพทย์ที่ได้รับผลกระทบทางลบต่อชีวิตส่วนตัวและอาชีพของพวกเขาหลังจากเกิดเหตุการณ์ใกล้พลาดและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 

  ระยะสั้น (≤ 1 สัปดาห์)  ระยะยาว (> 1 สัปดาห์) 
เหตุการณ์ใกล้พลาด  ชีวิตส่วนตัว  64% 34%
อาชีพ  68% 36%
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์  ชีวิตส่วนตัว  78% 51%
อาชีพ  84% 56%

การตอบสนองต่อเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในทางปฏิบัติ

การสำรวจทางออนไลน์เพื่อตรวจสอบประสบการณ์และปฏิกิริยาของสัตวแพทย์ที่ทำงานในคลินิก “ทำหมัน” (spay-neuter clinic) หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการเสียชีวิตโดยไม่ได้ตั้งใจ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนรู้สึกถึงถึงปฏิกิริยาจากภายในทันทีซึ่งรวมถึงสัญญาณของความวิตกกังวลหรือความเครียดเทียบเท่ากับการตอบสนองของระบบประสาทซิมพาเธติกหรือ fight-or-flight response ความรู้สึกที่ผู้ตอบแบบสอบถามอธิบายนั้น ได้แก่ ความวิตกกังวล ความรู้สึกผิด ความเศร้าและความสงสัยในตนเอง ตลอดจนความเห็นอกเห็นใจต่อลูกค้าหรือคนอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ (รูปภาพที่ 2) ทั้งนี้สัตวแพทย์บางคนสามารถก้าวผ่านความรู้สึกเหล่านี้ได้ภายในหนึ่งวันหรือหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่คนอื่นๆอาจได้รับผลกระทบอย่างลึกซึ้งเป็นเวลานานหลายเดือนหรือหลายปีหลังจากนั้น เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งต่างๆเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดหนึ่งในสองผลลัพธ์ระยะยาวคือการเลือกที่จะอยู่ในงานหรือออกจากงาน (หรืออาชีพ) สิ่งที่ดูเหมือนจะช่วยแยกสัตวแพทย์ที่สามารถเข้มแข็งและก้าวผ่านเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เหล่านี้ไปได้เร็วขึ้นออกจากผู้ที่ยังคงประสบกับความเจ็บปวดซ้ำๆก็คือกลยุทธ์ที่พวกเขาจะใช้ในการเผขิญหน้ากับผลที่จะเกิดขึ้นตามมา 8

A veterinarian

รูปภาพที่ 2 สัตวแพทย์จะรู้สึกผิดและเศร้าหลังจากรู้ว่าทำผิดพลาดกับสัตว์ป่วย © Shutterstock 

กลยุทธ์การเผชิญปัญหาเชิงลบและเชิงบวก 

ยุทธ์การเผชิญปัญหาที่ไม่ดีต่อสุขภาพหลังจากเกิดความผิดพลาดหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อาจรวมถึงการใช้สารเสพติด (เช่น ยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์) การนอนหลับมากเกินไป พฤติกรรมการหลีกเลี่ยง การกินมากเกินไปหรือน้อยเกินไปและการแยกตัวออกจากเพื่อน ครอบครัวหรือกิจกรรมปกติ ซึ่งในหลายๆสถานการณ์นั้นมีแนวโน้มที่เราจะซ่อนความผิดพลาดหรือไม่เปิดเผยเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับบุคคลหรืออาชีพที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากสัตวแพทย์มักแสดงลักษณะความสมบูรณ์แบบ (เช่น การไม่ยอมรับต่อความผิดพลาดหรือพฤติกรรมที่มีความบกพร่อง) ดังนั้นความผิดพลาดหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จึงมักมาพร้อมกับการวิจารณ์ตนเองมากเกินไปและความกังวลอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับมุมมองหรือความคิดเห็นของผู้อื่น การศึกษาที่ตรวจสอบนักศึกษาสัตวแพทย์พบว่าความนิยมความสมบูรณ์แบบ (perfectionism) จะสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอารมณ์ (neuroticism) ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเข้มแข็งทนต่อแรงกดดัน (resilience) 9 การสนับสนุนกลยุทธ์การรับมือเชิงบวกและการบรรเทาความเชื่อเรื่องความนิยมความสมบูรณ์แบบถือเป็นสิ่งสำคัญในการเร่งและเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวหลังจากความผิดพลาด

มีกลยุทธ์เชิงบวกมากมายที่สามารถช่วยลดผลกระทบด้านลบของข้อผิดพลาดทางคลินิกและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้ ซึ่งนั่นรวมถึงการเปิดเผยข้อมูล การเรียนรู้ทางเทคนิค มุมมองและการประเมิน การสนับสนุนและการสร้างความเป็นเพื่อนร่วมงาน การเรียนรู้ทางอารมณ์ในรูปแบบของการมีสติสัมปชัญญะ การมุ่งมั่นอย่างมีสุขภาพดีและความเห็นอกเห็นใจตนเอง 

การเปิดเผย 

มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยนั้นต้องการทราบเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นแม้ว่าจะไม่มีอันตรายใดใดเกิดขึ้นก็ตาม 10 การทบทวนแบบครอบคลุมรอบด้านหรือ comprehensive review เกี่ยวกับการเปิดเผยเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยในทางการแพทย์ของมนุษย์นั้นแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบวิชาชีพให้บริการด้านสุขภาพนั้นต้องสนับสนุนการยอมรับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อผู้ป่วยและครอบครัวของพวกเขาด้วย การทบทวนยืนยันว่าผู้ป่วยต้องการการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาและทันท่วงที มีคำขอโทษตามความเหมาะสมและมีการรับรองเกี่ยวกับการดูแลพวกเขาในอนาคต 11 ทั้งนี้เจ้าของสัตว์เลี้ยงก็อาจมีความต้องการเดียวกันซึ่งนั่นหมายความว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สัตวแพทย์ควรรักษาความเชื่อที่ว่าลูกค้าสมควรได้รับข้อมูลทั้งหมดในกรณีที่เกิดความผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่วย สัตวแพทย์สามารถขอโทษเจ้าของสัตว์เลี้ยงได้พร้อมกับอธิบายว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีก (รูปภาพที่ 3) การเสนอที่จะจ่ายเงินให้กับการรักษาใดใดที่จำเป็นหลังจากข้อผิดพลาดยังช่วยบรรเทาความรู้สึกผิดในทีมสัตวแพทย์ได้ นอกจากนั้นสัตว์ก็จะได้รับการรักษาเพิ่มเติมทั้งหมดที่จำเป็นอันเป็นผลมาจากความผิดพลาด ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่สามารถอธิบายได้จะลดลง และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสัตวแพทย์ ลูกค้าและสัตว์ป่วยให้เข้มแข็งมากขึ้น โดยเป้าหมายคือให้ทุกคนมีโอกาสที่จะประมวลผลและฟื้นตัวจากความเครียดทางอารมณ์ และมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในพฤติกรรม “ตำหนิและทำให้อับอาย” (blame and shame culture) น้อยลงด้วย

A veterinarian apologizes to his client

รูปภาพที่ 3 สัตวแพทย์ขอโทษลูกค้าของเขาและเปิดเผยว่าเขาทำผิดพลาดระหว่างการรักษาสุนัขของเธอ © Shutterstock 

การเรียนรู้ทางเทคนิค

สัตวแพทย์ทำหมันที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มีโอกาสได้รับผลกระทบต่อชีวิตส่วนตัวหรืออาชีพในระยะยาวน้อยกว่าและมีแนวโน้มที่จะทำงานต่อไปหากพวกเขาพยายามตรวจสอบเพื่อเรียนรู้ว่าเหตุใดจึงเกิดข้อผิดพลาดขึ้น  8 การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทางเทคนิคหลังจากเกิดข้อผิดพลาดไม่เพียงแต่จะช่วยให้ค้นพบสาเหตุของข้อผิดพลาดนั้นแต่ยังช่วยให้ค้นพบว่าครั้งหน้าเราจะสามารถทำอะไรที่แตกต่างออกไปได้บ้าง (รูปภาพที่ 4) การไม่สามารถเข้าใจว่าอะไรคือข้อผิดพลาดและจะป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์แบบเดียวกันเกิดขึ้นอีกครั้งได้นั้นอย่างไรนั้นเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นของสมาชิกทุกคนในทีมสัตวแพทย์ที่ได้รับผลกระทบจากข้อผิดพลาด โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัยโดยรวมของการปฏิบัติจะดีขึ้นเมื่อตรวจพบข้อผิดพลาด และสามารถดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเดียวกันในอนาคต เช่น หากเกิดข้อผิดพลาดเนื่องจากโปรโตคอลไม่พร้อมใช้งานหรือล้าสมัย โปรโตคอลนั้นอาจจำเป็นต้องเขียนหรืออัปเดตใหม่พร้อมมาตรการป้องกันเพิ่มเติมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีก

The veterinary team can and should review a case if a mistake has been made

รูปภาพที่ 4 ทีมสัตวแพทย์สามารถและควรตรวจสอบเคสหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเพื่อพิจารณาว่าขั้นตอนใดในโปรโตคอลการปฏิบัติที่ต้องอัปเดตหรือเปลี่ยนแปลง © Shutterstock 

มุมมองและการประเมิน

หลังจากเกิดข้อผิดพลาด สิ่งสำคัญสำหรับสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้องคือต้องมองสถานการณ์ในบริบทที่กว้างขึ้น กล่าวคือในแง่ของสัตว์ทั้งหมดที่ได้รับความช่วยเหลือนั้นมีเพียงไม่กี่ตัวที่ได้รับอันตราย แม้ว่าความผิดพลาดจะเกิดขึ้นแต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ทำผิดพลาดจะเป็นสัตวแพทย์ที่ “ไม่ดี” และถึงแม้จะรู้สึกผิดแต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ความรู้สึกดังกล่าวลุกลามไปสู่ความรู้สึกอับอาย ความรู้สึกผิด (guilt) เกิดจากการทำผิดหรือไม่เป็นไปตามความคาดหวังหรือภาระผูกพัน ในขณะที่ความอับอาย (shame) นั้นเกิดจากความกังวลว่าบุคคลนั้นจะดูเป็นอย่างไรในสายตาผู้อื่น ความอับอายก็คือความรู้สึกหรือประสบการณ์ที่เจ็บปวดอย่างมากจากการเชื่อว่าบุคคลนั้นมีข้อบกพร่องและไม่คู่ควรที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ดังนั้นเมื่อสัตวแพทย์ทำผิดพลาด ความอับอายของพวกเขาคือความรู้สึกที่คนอื่นจะเชื่อว่าพวกเขาไม่สมควรที่จะประกอบอาชีพสัตวแพทย์ หรืออีกนัยหนึ่ง ความรู้สึกผิดคือ “ฉันทำผิดพลาด” ในขณะที่ความอับอายคือ “ฉันเป็นสัตวแพทย์ที่ไม่ดี” โดยความรู้สึกผิดเป็นอารมณ์ที่สมเหตุสมผลและเป็นสิ่งที่มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะรู้สึกหลังจากทำผิดพลาด แต่ความอับอายนั้นไม่ก่อให้เกิดผลอันใด ไม่มีประโยชน์และนำไปสู่การตัดขาด (disconnection) สิ่งสำคัญคือต้องต่อต้านความรู้สึกอับอายและความโดดเดี่ยว และยอมรับว่าทุกคนทำผิดพลาดได้ นอกจากนี้การกำหนดขอบเขตของสถานการณ์ยังสามารถช่วยได้ เช่น การตระหนักว่าสัตว์ป่วยไม่ได้เสียชีวิตหรือสัตว์ป่วยรายอื่นไม่ได้รับผลกระทบ ในทำนองเดียวกันก็คือการรักษาความเชื่อที่ว่า “ชีวิตมีอะไรมากกว่าสัตวแพทยศาสตร์” 

การสนับสนุนและการสร้างความเป็นเพื่อนร่วมงาน

 ทั้ง 2 อย่างนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบุคคลเชื่อว่าจะมีใครสักคนหนึ่งให้พึ่งพาในช่วงเวลาที่ถูกข่มขู่ สิ่งนี้จะช่วยปกป้องสัตวแพทย์จากความทุกข์ได้ 12 ดังนั้นสำหรับข้อผิดพลาดในทางปฏิบัติ การรู้ว่ามีคนอื่น “เคยอยู่ที่นั่น เคยทำอย่างนั้น” จะสามารถนำความโล่งใจอย่างไม่น่าเชื่อมาสู่คนที่ทำผิดพลาดเป็นครั้งแรก สัตวแพทย์ที่ประสบกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ควรได้รับการสนับสนุนให้พึ่งพาครอบครัว เพื่อนฝูงและเพื่อนร่วมงานเพื่อขอคำแนะนำด้านเทคนิคและการสนับสนุนทางจิตใจ (รูปภาพที่ 5) การแบ่งปันประสบการณ์กับบุคคลที่ไว้ใจได้หรือกลุ่มโซเชียลมีเดียส่วนตัวอาจเป็นวิธีหนึ่งในการรวบรวมความช่วยเหลือและบรรเทาความอับอาย สิ่งสำคัญคือต้องแสดงการสนับสนุนสมาชิกในทีมคนอื่นๆเนื่องจากผู้ที่รู้สึกว่าตนเองถูกตำหนิมากกว่าที่ได้จะรับการสนับสนุนให้รายงานความผิดพลาดจะมีโอกาสน้อยที่จะเปิดเผยความจริงในอนาคตและใช้เวลานานกว่าจะยอมกลับมาเปิดเผยในภายหลัง

Veterinary colleagues

รูปภาพที่ 5 เพื่อนร่วมงานสัตวแพทย์ควรให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันหลังจากเกิดความผิดพลาดในทางปฏิบัติ © Shutterstock 

การเรียนรู้ทางอารมณ์

วิธีที่สัตวแพทย์จัดการและให้กำลังใจตนเองผ่านเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นั้นสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวHow veterinarians handle and support themselves through an adverse event is paramount to their recovery 8 การเคี้ยวเอื้อง (rumination) หรือจมอยู่กับสถานการณ์รังแต่จะนำไปสู่ความทุกข์มากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรวมกับการวิจารณ์ตนเอง ความสงสัยในตนเองจะสามารถตอบโต้ได้ด้วยการมีความถ่อมตัวที่จะรู้ว่าสัตวแพทย์เสี่ยงที่จะทำอันตรายในขณะที่กำลังพยายามทำความดี ซึ่งในทำนองเดียวกันอารมณ์ทุกข์ใจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หลังจากทำผิดพลาดและสัตว์แพทย์ควรคาดการณ์ไว้ก่อนและจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นด้วยสติและความมุ่งมั่นอย่างมีสุขภาพดี รวมถึงความเห็นอกเห็นใจตนเองนั้นก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเผชิญปัญหาเชิงบวกและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสัตวแพทย์

สติสัมปชัญญะ

ารมีสติสัมปชัญญะนั้นเป็นสภาวะทางจิตใจที่เกิดขึ้นได้โดยการมุ่งความสนใจไปในช่วงเวลาปัจจุบัน โดยขณะเดียวกันก็สังเกตและยอมรับความรู้สึก ความคิดหรือความรู้สึกทางกายอย่างใจเย็นโดยไม่ต้องมีการตัดสิน เทคนิคที่เป็นประโยชน์นี้ริ่มมีการค้นคว้าวิจัยมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดบพบว่าสามารถนำมาใช้กับบุคคลที่พบว่าตนเองกำลังครุ่นคิดถึงแต่ความผิดพลาดในอดีตหรือกังวลว่าความผิดพลาดครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นอีกเมื่อใด นอกจากนี้การมีสติยังมีประโยชน์อีกมากมาย ได้แก่ การฝึกสติสามารถช่วยลดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ช่วยจัดการกับการใช้สารเสพติด ปรับปรุงสภาพร่างกาย เช่น อาการปวดเรื้อรัง มะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และจัดการกับภาวะความดันโลหิตสูง 13 แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือสามารถช่วยลดผลกระทบที่เป็นอันตรายจากความเครียดต่อสมองและร่างกายได้ การเปลี่ยนแปลงของวงจรการสั่งการของสมอง (brain circuitry)  และวัดการทำงานของสมองที่ซับซ้อนระหว่างการทำ neuroelectric และ neuroimaging (เช่น functional MRI) แสดงให้เห็นในผู้ที่ฝึกสติ โดยพบว่าโครงสร้างของ cortex ที่สัมพันธ์กับความสนใจ (attention) ความจำ ความสามารถด้านบริหารจัดการ (executive functions) และการควบคุมอารมณ์นั้นเปลี่ยนแปลงไป สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการฝึกสติจะช่วยส่งเสริมการควบคุมตนเองทั้งในด้านสมาธิและอารมณ์ ตลอดจนความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (behavioral flexibility) การเปลี่ยนแปลงของสมองส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอารมณ์ (limbic system) ซึ่งควบคุมอารมณ์ พฤติกรรม แรงจูงใจและความทรงจำระยะยาวก็สังเกตเห็นได้ได้ผู้ที่ฝึกสติเช่นกัน 14

Marie K. Holowaychuk

After an error, it is important for the veterinarian involved to see the situation in its wider context – i.e., in terms of all the animals that have been helped and how few have been harmed.

Marie K. Holowaychuk

 การวิจัยที่ศึกษาถึงประโยชน์ของการฝึกสติในหมู่บุคลากรทางการแพทย์ของมนุษย์นั้นแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่สำคัญหลายประการ การฝึกสติช่วยให้พยาบาลรับมือกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการปรับปรุงความสามารถในการมีสมาธิและสงบในสถานการณ์ที่ตึงเครียด 15 นอกจากนี้พยาบาลที่ผ่านการฝึกสติได้สำเร็จยังแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพทางคลินิก ความสามารถในการรับมือกับอารมณ์เชิงลบ การตระหนักรู้ถึงความคิดและความรู้สึกในระหว่างเหตุการณ์ที่ตึงเครียด รวมถึงความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยที่ดีขึ้นอีกด้วย 16 ซึ่งเมื่อการฝึกสติเสร็จสิ้น นักศึกษาแพทย์ แพทย์และพยาบาลยังแสดงให้เห็นถึงความตระหนักรู้ในตนเองและสามารถดูแลตัวเองได้ดีขึ้น ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงของความเหนื่อยหน่ายในวิชาชีพ 17 ทั้งนี้การฝึกสติยังมีศักยภาพในการลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพให้บริการด้านสุขภาพ การศึกษาล่าสุดในประเทศจีนที่เปรียบเทียบกลุ่มแพทย์ที่ได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มฝึกสมาธิหรือกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าแพทย์ที่เข้าร่วมการทำสมาธิแบบเจริญสติเป็นเวลา 8 สัปดาห์จะมีสติ วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient safety culture) และความสามารถด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย (patient safety competency) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะเดียวกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ก็ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน 18 ผลการวิจัยเหล่านี้ล้วนชี้ให้เห็นว่าไม่เพียงแต่การมีสติจะสามารถบรรเทาความเครียด ส่งเสริมการดูแลตนเองและจัดเป็นกลยุทธ์การรับมือเชิงบวกหลังเกิดข้อผิดพลาดขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพที่จะลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งหมดอีกด้วย

 
มีการค้นพบที่คล้ายคลึงกันนี้ในวรรณกรรมทางสัตวแพทย์เช่นกัน โดยมีข้อเสนอแนะว่าการฝึกสติสามารถเป็นประโยชน์ต่อสัตวแพทย์ได้ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมการฝึกสติจะช่วยลดความเครียดในหมู่เจ้าหน้าที่คณาจารย์ที่โรงเรียนสัตวแพทย์แคริเบียน (Caribbean veterinary school) 19 ในทำนองเดียวกันก็มีการศึกษาที่ตรวจสอบความเข้มข้นของ cortisol และ α-amylase ในน้ำลาย รวมถึงความเครียดของนักศึกษาสัตวแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่ทำการผ่าตัดสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ พบว่าผู้ที่ฝึกลมหายใจ 5 นาที (5-minute mindfulness breathing exercise) ก่อนการทำหัตถการจะมีระดับ α-amylase ต่ำกว่าและมีความรู้สึกผ่อนคลายและสงบมากขึ้น 20 ด้วยเหตุนี้สัตวแพทย์จึงควรได้รับการสนับสนุนให้ฝึกสติอย่างเป็นทางการอยู่เป็นประจำ เช่น การฝึกลมหายใจ การผ่อนคลายร่างกาย โยคะหรือการทำสมาธิ (กล่องข้อความที่ 1) เพื่อเพิ่มความสามารถในการอยู่กับปัจจุบันและปรับปรุงสุขภาพจิตหลังจากความผิดพลาดหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น การฝึกสติอย่างไม่เป็นทางการสามารถทำได้ตลอดทั้งวันทำงาน ไม่ว่าจะระหว่างการนัดหมาย ระหว่างช่วงพักหรือขณะเดินทาง ในช่วงเวลาเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจิตใจกำลังปั่นป่วน วุ่นวายหรือครุ่นคิด การเปลี่ยนเส้นทางการรับรู้ไปยังช่วงเวลาปัจจุบันโดยมุ่งเน้นไปที่การหายใจหรือสังเกตความรู้สึกทางกายในร่างกายของเราก็อาจเป็นประโยชน์ได้มาก การฝึกแบบฝึกหัด 5-4-3-2-1 (กล่องข้อความที่ 2) เป็นอีกหนึ่งวิธีในการลดการตอบสนองต่อความเครียดและตระหนักถึงที่นี่และตอนนี้ 

กล่องข้อความที่ 1 ตัวอย่างของแอปสำหรับการเริ่มฝึกสมาธิที่สามารถดาวน์โหลดได้ 

  • Buddhify – การทำสมาธิเจริญสติ
  • Calm – การนอนหลับ การทำสมาธิ การผ่อนคลาย
  • Headspace: การทำสมาธิและการนอนหลับ 
  • Insight Timer – การทำสมาธิ
  • Mindfulness.com การทำสมาธิ 
  • The Mindfulness App 

กล่องข้อความที่ 2 วิธีทำแบบฝึกหัด 5-4-3-2-1 ซึ่งถือเป็นการฝึกสติอย่างไม่เป็นทางการ 

  • สังเกตเมื่อจิตใจกำลังปั่นป่วน วุ่นวายหรือครุ่นคิดและมีความมุ่งมั่นที่จะอยู่กับปัจจุบันอย่างเต็มที่ 
  • ระบุ 5 สิ่งที่คุณเห็น 
  • ระบุ 4 สิ่งที่คุณได้ยิน
  • ระบุ 3 สิ่งที่คุณสมผัสได้ 
  • ระบุ 2 สิ่งที่คุณได้กลิ่น  
  • ระบุ 1 สิ่งที่คุณสามารถลิ้มรสได้
  • สังเกตสภาพจิตใจของคุณหลังจากการปรับประสาทสัมผัสและดื่มด่ำกับช่วงเวลาปัจจุบัน 

ความมุ่งมั่นอย่างมีสุขภาพดี

เป็นความคาดหวังที่ไม่มีทางเป็นจริงที่เราจะคิดว่าในฐานะมนุษย์ สัตวแพทย์นั้นจะสามารถผ่านอาชีพการงานของตนไปได้โดยไม่ทำผิดพลาด ซึ่งความผิดพลาดนั้นไม่ใช่ว่าสัตวแพทย์ตั้งใจจะทำร้ายสัตว์หรือว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่ระมัดระวังมากพอ แต่เป็นเพราะพวกเขาเป็นมนุษย์และไม่ได้สมบูรณ์แบบ เพราะฉะนั้นในขณะที่สัตวแพทย์หลายคนคาดหวังให้ตัวเองสมบูรณ์แบบ ความคาดหวังนี้จึงนำไปสู่ความทุกข์ทางจิตใจเมื่อทำผิดพลาด ความมุ่งมั่นอย่างมีสุขภาพดีในการให้การดูแลทางการแพทย์อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยพิจารณาจากทรัพยากรและเวลาที่มีอยู่คือแนวทางในการปฏิบัติทางคลินิกที่มีประสิทธิผลและส่งผลเสียน้อยกว่ามาก การสอบถามความนิยมความสมบูรณ์แบบ (perfectionism) ในผู้ประกอบวิชาชีพให้บริการด้านสุขภาพ (healthcare providers) ของมนุษย์ในช่วงการระบาดของ COVID ชี้ให้เห็นว่าประสบการณ์ที่ตึงเครียดจากวิกฤตสุขภาพของโลกนั้นรุนแรงมากขึ้นจากความทุกข์ที่เดิมมีอยู่ในระดับที่สูงอยู่แล้วในเหล่าผู้ประกอบวิชาชีพให้บริการด้านสุขภาพที่นิยมความสมบูรณ์แบบ 21 ผู้เขียนบทความนี้ขอสนับสนุนการมุ่งมั่นเพื่อความเป็นเลิศมากกว่าการมุ่งมั่นเพื่อความสมบูรณ์แบบ ในแง่ของการตระหนักว่าเมื่อใดที่ “ดีพอ” ก็คือ “ดีพอ” แล้ว และเรียนรู้ที่จะไม่ปลูกฝังความไม่พอใจที่เกี่ยวข้องกับงานจนกลายเป็นความไม่พอใจตนเอง การยอมรับว่าในบางครั้ง “การปฏิบัติที่ดีพอ” นั้นดีกว่า “การปฏิบัติที่สมบูรณ์แบบ” ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสัตวแพทย์ในการรักษาความคาดหวังที่สามารถเป็นจริงได้และหลีกเลี่ยงความทุกข์

Marie K. Holowaychuk

Because veterinarians often exhibit trait perfectionism, (i.e., an intolerance to mistakes or flawed behaviors), a mistake or adverse event is often accompanied by overly critical self-talk and profound concerns regarding other people’s views or opinions.

Marie K. Holowaychuk

ความเห็นอกเห็นใจตนเอง 

เป็นเรื่องปกติที่สัตวแพทย์อาจมีความรู้สึกทุกข์ใจได้หลังจากทำผิดพลาด สิ่งสำคัญคือสัตวแพทย์ต้องจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นด้วยการให้อภัยและเห็นอกเห็นใจตนเองหรือก็คือต้องมีความเห็นอกเห็นใจอยู่ภายในใจ นักศึกษาสัตวแพทย์ชาวออสเตรเลียใช้แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความเห็นอกเห็นใจตนเองและความเข้มแข็ง ผลการศึกษาพบว่านักเรียนที่มีคะแนนความเห็นอกเห็นใจตนเองสูงก็จะมีคะแนนความเข้มแข็งสูงขึ้นด้วย 22 ซึ่งในทำนองเดียวกัน พยาบาลดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีคะแนนความเห็นอกเห็นใจต่อตนเองสูงกว่าจะมีคะแนนความเครียดจากความรู้สึกร่วมในเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจต่ำกว่าซึ่งจะเป็นตัววัดความเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจ 23 การค้นพบเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการปลูกฝังความรู้สึกเห็นอกเห็นใจตนเองสามารถช่วยเพิ่มความสามารถของสัตวแพทย์ในการฟื้นตัวหลังจากเกิดความผิดพลาดหรือเหตุการณ์ตึงเครียดอื่นๆ โดยได้รับการยืนยันด้วยรายงานล่าสุดที่พบว่าการฝึกอบรมสามารถช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพให้บริการด้านสุขภาพ (healthcare providers) รู้จักปลูกฝังความเห็นอกเห็นใจในตนเองซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมการดูแลตนเองและลดการตัดสินหรือวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง 24 ความเห็นอกเห็นใจตนเองนั้นประกอบไปด้วย 3 สถานะหลัก ได้แก่ ความเมตตา การมีสติและการยอมรับในความเป็นมนุษย์ทั่วไป (กล่องข้อความที่ 3) โดยสามารถปลูกฝังได้โดยใช้แบบฝึกหัดต่างๆ เช่น การทำสมาธิ การหยุดพักหรือการเขียนบันทึกความเห็นอกเห็นใจตนเอง (ตารางที่ 3)  

กล่องข้อความที่ 3 คำจำกัดความขององค์ประกอบทั้ง 3 ของความเห็นอกเห็นใจตนเอง 

ความเมตตาต่อตนเอง   ปฏิบัติต่อตนเองราวกับว่าคุณเป็นเพื่อนสนิทที่กำลังผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก  
สติสัมปชัญญะ  เปิดกว้างและตระหนักถึงความทุกข์ของคุณโดยไม่จมอยู่กับความทุกข์หรือถูกครอบงำด้วยเรื่องราวเชิงลบ   
การยอมรับความเป็นมนุษย์ทั่วไป  ยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนไม่สมบูรณ์และมีข้อบกพร่องและมีโอกาสทำผิดพลาดหรืออดทนต่อความยากลำบาก 

(* จากความเห็นอกเห็นใจตนเองโดย Dr. Kristin Neff: see https://self-compassion.org/)

ตารางที่ 3 ขั้นตอนสำหรับการจดบันทึกความเห็นอกเห็นใจตนเองพร้อมตัวอย่าง

ขั้นตอน  คำอธิบาย  ตัวอย่าง 
ภาพสะท้อน (reflection)  คิดถึงความผิดพลาดและจดทุกสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกแย่หรือตัดสินตนเอง   ฉันคำนวณการให้ยาแบบ constant rate infusion สำหรับสัตว์ป่วยรายหนึ่งของฉันผิด เขาเริ่มรู้สึกซึมและคลื่นไส้เป็นพิเศษและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ฉันควรจะตรวจสอบการคำนวณของฉันอีกครั้งและเข้าไปจัดการกับสัตว์ป่วยเร็วกว่านี้เมื่อเห็นความผิดปกติของมัน 
สติสัมปชัญญะ  ตระหนักถึงอารมณ์เจ็บปวดที่คุณรู้สึกและจดไว้  ฉันรู้สึกผิดและละอายใจ ฉันปวดท้องและปวดหัวเมื่อคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น 
ความเป็นมนุษย์ทั่วไป   เขียนว่าความผิดพลาดนี้เชื่อมโยงกับประสบการณ์ของมนุษย์ที่ใหญ่ขึ้นอย่างไร  ทุกคนทำผิดพลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาเหนื่อยหรือยุ่ง 
ความเมตตาต่อตนเอง  เขียนคำปลอบโยนที่ใจดีและมีความเข้าอกเข้าใจ  เป็นที่เข้าใจได้ว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว ฉันทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในช่วงวันที่ขาดคนและเร่งรีบ คราวหน้าฉันจะใช้เวลาในการตรวจสอบการคำนวณขนาดยาของฉันอีกครั้ง 

สรุป

ข้อผิดพลาดเป็นเรื่องปกติในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์และอาจส่งผลกระทบต่อสัตวแพทย์ตลอดอาชีพการงานของพวกเขา ผลที่ตามมาจากความผิดพลาดอาจร้ายแรงจนทำให้เกิดผลกระทบต่อตนเองและอาชีพในระยะยาวหรืออาจถึงขั้นตัดสินใจลาออกจากวิชาชีพได้ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคคลหลังจากเกิดความผิดพลาดจึงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งและจะสามารถทำได้ด้วยกลยุทธ์การรับมือกับปัญหาที่เหมาะสม เช่น การเปิดเผยข้อผิดพลาดต่อเจ้าของของสัตว์เลี้ยง การค้นหาวิธีที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีกในอนาคต การขยายมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบจากความผิดพลาด การพึ่งพาผู้อื่นเพื่อขอการสนับสนุน และการเรียนรู้ทางอารมณ์ในแง่ของการฝึกสติ ความมุ่งมั่นอย่างมีสุขภาพดีและความเห็นอกเห็นใจตนเอง 

References

  1. Vande Griek, Clark MA, Witte TK, et al. Development of a taxonomy of practice-related stressors experienced by veterinarians in the United States. J. Am. Vet. Med. Assoc. 2018;252:227-233. 

  2. Montoya AIA, Hazel S, Matthew SM, et al. Moral distress in veterinarians. Vet. Rec. 2019;185:631. 

  3. Stelfox HT, Palmisani S, Scurlock C, et al. The “to Err is Human” report and the patient safety literature. BMJ Qual. Saf. 2006;15:174-178.

  4. Wallis J, Fletcher D, Bentley A, et al. Medical errors cause harm in veterinary hospitals. Front. Vet. Sci. 2019;6:12. 

  5. Oxtoby C, Ferguson E, White K, et al. We need to talk about error: causes and types of error in veterinary practice. Vet. Rec. 2015;177:438. 

  6. Mellanby R, Herrtage M. Survey of mistakes made by recent veterinary graduates. Vet. Rec. 2005;155:761-765. 

  7. Kogan LR, Rishniw M, Hellyer PW, et al. Veterinarians’ experiences with near misses and adverse events. J. Am. Vet. Med. Assoc. 2018;252:586-595.

  8. White SC. Veterinarians’ emotional reactions and coping strategies for adverse events in spay-neuter surgical practice. Anthrozoös 2018;31:117-131. 

  9. Holden CL. Characteristics of veterinary students: perfectionism, personality factors, and resilience. J. Vet. Med. Educ. 2020;47:488-496. 

  10. Gallagher TH, Waterman AD, Ebers AG, et al. Patients’ and physicians’ attitudes regarding the disclosure of medical errors. J. Am. Med. Assoc. 2003;289:1001-1007.

  11. O’Connor E, Coates HM, Yardley IA, et al. Disclosure of patient safety incidents: a comprehensive review. Int. J. Qual. Health Care 2010;22:371-379. 

  12. Michie S, Williams S. Reducing work related psychological ill health and sickness absence: a systematic literature review. Occup. Environ. Med. 2003;60:3-9.

  13. Grossman P, Niemann L, Schmidt S, et al. Mindfulness-based stress reduction and health benefits: a meta-analysis. J. Psychosom. Res. 2004;57:35-43. 

  14. Ivanovski B, Malhi GS. The psychological and neurophysiological concomitants of mindfulness forms of meditation. Acta neuropsychiatric 2007;19:76-91.

  15. Green AA, Kinchen EV. The effects of mindfulness meditation on stress and burnout in nurses. J. Holist. Nurs. 2021;39:356-368.

  16. Sarazine J, Heitschmidt M, Vondracek H, et al. Mindfulness workshops effects on nurses’ burnout, stress, and mindfulness skills. Holist. Nurs. Pract. 2021;35:10-18.

  17. Burton A, Burgess C, Dean S, et al. How effective are mindfulness-based interventions for reducing stress among healthcare professionals? A systematic review and meta-analysis. Stress Health 2017;33(1):3-13.

  18. Liu C, Chen H, Cao X, et al. Effects of mindfulness meditation on doctors’ mindfulness, patient safety culture, patient safety competency and adverse event. Int. J. Environ. Res. Public Health 2022;19:3282.

  19. Artemiou E, Gilbert GE, Callanan A, et al. Mind-body therapies: an intervention to reduce work-related stress in veterinary academia. Vet. Rec. 2018;183:596.

  20. Stevens BS, Royal KD, Ferris K, et al. Effect of a mindfulness exercise on stress in veterinary students performing surgery. Vet. Surg. 2019;48:360-366.

  21. Flett GL, Hewitt PL. The perfectionism pandemic meets COVID-19: Understanding the stress, distress and problems in living for perfectionists during the global health crisis. J. Concurrent Disorders 2020;2:80-105.

  22. McArthur M, Mansfield C, Matthew S, et al. Resilience in veterinary students and the predictive role of mindfulness and self-compassion. J. Vet. Med. Educ. 2017;44:106-115.

  23. Upton KV. An investigation into compassion fatigue and self-compassion in acute medical care hospital nurses: a mixed methods study. J. Compassionate Health Care 2018;5:7.

  24. Beaumont E, Irons C, Rayner G, et al. Does compassion-focused therapy training for health care educators and providers increase self-compassion and reduce self-persecution and self-criticism? J. Contin. Educ. Health Prof. 2016;36:4-10.

Marie K. Holowaychuk

Marie K. Holowaychuk

Dr. Holowaychuk is a small animal emergency and critical care specialist and passionate advocate for veterinary wellbeing อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 24.2 เผยแพร่แล้ว 20/10/2023

การวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในแมวตั้งแต่แรกเริ่ม

โรคข้อเสื่อมในแมวยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสมแม้ว่าจะพบความชุก (prevalence) อย่างมาก บทความนี้จะพิจารณาว่าเราจะเอาชนะความท้าทายในการวินิจฉัยโรคตั้งแต่แรกเริ่มได้อย่างไรซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่ดีขึ้น

โดย Lauren M. Meneghetti และ Karen L. Perry

หมายเลขหัวข้อ 24.2 เผยแพร่แล้ว 20/09/2023

โรคไขมันพอกตับในแมวหัวข้อ

โรคไขมันพอกตับในแมวเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีอันตรายถึงชีวิต แต่การวินิจฉัยและรักษาที่ดีจะทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวก

โดย Ran Nivy

หมายเลขหัวข้อ 24.2 เผยแพร่แล้ว 13/09/2023

ฉันจะจัดการกับแมวที่อาเจียนได้อย่างไร

การอาเจียนเพียงอย่างเดียวหรือการอาเจียนที่เกิดร่วมกับอาการแสดงทางคลินิกอื่นๆถือเป็นอาการสำคัญที่พบได้บ่อยที่ทำให้เจ้าของต้องพาสัตว์มาที่โรงพยาบาล (presenting complaint) ในบทความนี้ผู้เขียนได้แบ่งปันคำแนะนำสำหรับแนวทางทางคลินิกอย่างเป็นระบบสำหรับกรณีอาเจียนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง

โดย Ivan Montanes-Sancho และ Silke Salavati

หมายเลขหัวข้อ 24.2 เผยแพร่แล้ว 06/09/2023

การน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุในแมว

“แมวน้ำหนักลด” เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในคลินิกสัตวแพทย์ บทความนี้นำเสนอแนวทางการเข้าถึงปัญหาแมวที่น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

โดย Audrey K. Cook