การทดสอบวินิจฉัย – การอาเจียนเรื้อรัง
ในแมวที่มีภาวะอาเจียนเรื้อรัง±ท้องเสีย แต่ระบบอื่นๆในร่างกายปกติดี สัตวแพทย์ควรพิจารณาการทดลองควบคุมอาหาร (elimination diet trial) และการทดสอบวินิจฉัยต่างๆในขั้นต้น (เช่น การตรวจปรสิตในอุจจาระ) ก่อนที่จะค่อยๆตรวจวินิจฉัยให้ครอบคลุมมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม แมวที่มีน้ำหนักลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือมีปัญหาสุขภาพในระบบอื่นๆที่ไม่ดีนั้นจำเป็นต้องได้รับการประเมินที่ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น (อ่านต่อด้านล่าง)
สำหรับอาการอาเจียนเฉียบพลัน การวินิจฉัยแยกโรคสำหรับการอาเจียนเรื้อรังนั้นยังรวมไปถึงภาวะต่างๆของระบบทางเดินอาหารและนอกระบบทางเดินอาหาร (ตารางที่ 2) การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ครอบคลุม (การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด, ค่าชีวเคมีในเลือด, total thyroxin, การวิเคราะห์ปัสสาวะ, การตรวจปรสิตในอุจจาระและการทดสอบเชื้อก่อโรคในอุจจาระ (เช่น ผ่าน PCR) ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นขั้นตอนการวินิจฉัยเบื้องต้นที่ไม่รุกรานมากนัก และสามารถช่วยแยกแยะโรคทั่วไปของระบบทางเดินอหารได้ ในกรณีส่วนใหญ่ ผู้เขียนขอแนะนำให้เก็บตัวอย่างซีรั่มเพิ่มเติมเผื่อใช้ตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น โดยพิจารณาจากผลตรวจเบื้องต้น ยกตัวอย่างเช่น การทดสอบเหล่านี้อาจรวมถึงการทดสอบการทำงานของตับอ่อนและ/หรือลำไส้ (fPLI, fTLI, โคบาลามีนในซีรั่ม) โรคติดเชื้อ (เช่น toxoplasma titers, feline coronavirus (FCoV) titers และการทดสอบการทำงานของตับ (ระดับกรดน้ำดีพื้นฐาน) การวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรังในแมวอาจเป็นเรื่องท้าทายเป็นพิเศษ เนื่องจากอาการแสดงทางคลินิกของแมวมักไม่จำเพาะและค่า fPL อาจปกติหรือเกือบสูงได้ตลอดขึ้นอยู่กับผลการตรวจทางคลินิกอื่นๆ สัตวแพทย์อาจพิจารณาการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (เช่น การตรวจ citrated blood เพื่อดูระยะเวลาการแข็งตัวของเลือดในกรณีที่เป็นโรคตับและทางเดินน้ำดีหรืออาจตรวจ ionized calcium ในกรณีที่สงสัยว่าเป็นเนี้องอก (neoplasia)
ตารางที่ 2
การวินิจฉัยแยกโรคสำหรับแมวที่อาเจียนเรื้อรัง
EHBDO = extrahepatic bile duct obstruction, FCoV = feline Coronavirus, FIP = feline infectious peritonitis, GI = gastrointestinal, FGESF = feline gastrointestinal eosinophilic sclerosing fibroplasia, LGAL = low-grade alimentary lymphoma, MCT = mast cell tumor.
การอัลตราซาวด์เป็นภาพทางรังสีวินิจฉัย (diagnostic imaging) ที่นิยมใช้โดยเฉพาะในผู้ที่มีทักษะเนื่องจากสามารถให้รายละเอียดที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับขนาดและโครงสร้างของอวัยวะภายในช่องท้องได้ การถ่ายภาพรังสีช่องท้องเบื้องต้นก็อาจพิจารณาทำได้แต่อาจไม่ไวต่อการวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ/ท่อน้ำดีอักเสบและไม่เหมาะสมในการประเมินการเปลี่ยนแปลงของผนังทางเดินอาหารที่สอดคล้องกับการอักเสบ/โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังแบบไม่ทราบสาเหตุ (IBD) (หรือ triaditis ซึ่งเป็นภาวะทั้งสามอย่างรวมกัน) รวมถึงเนื้องอกในระบบทางเดินอาหาร (GI neoplasia) แบบแพร่กระจาย ก้อนเนื้อในช่องท้องนั้นสามารถระบุได้เฉพาะในภาพถ่ายรังสี โดยจะพบขนาดใหญ่กว่าปกติแต่จะไม่ค่อยพบแหล่งกำเนิดของก้อนเนื้อ (origin)
มีเพียงอัลตราซาวด์เท่านั้นที่สามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงภายในผนังทางเดินอาหารได้อย่างละเอียดมากกว่า (เช่น ความหนาและโครงสร้าง การสูญเสียชั้นของผนังทางเดินอาหารจะเพิ่มความสงสัยว่าเป็นเนื้องอก) รวมถึงการประเมินต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง (เพื่อดูขนาดและความสามารถในการสะท้อนเสียงสะท้อน (echogenicity)) ความสามารถในการสะท้อนเสียงสะท้อนของชั้นลำไส้เฉพาะ (เช่น ชั้น mucosa) ที่มากขึ้นอาจเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงจากการอักเสบหรือเนื้องอกหรือ (ไม่ค่อยพบ) โรคหลอดน้ำเหลืองโป่งพอง (lymphangiectasia) นอกจากนี้ยังมักพบการหนาตัวของชั้น muscularis ในโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังแบบไม่ทราบสาเหตุ (IBD) โดยสามารถพบได้ในแมวที่มีสุขภาพดีด้วย สัตวแพทย์ที่มีทักษะสามารถประเมินตับอ่อนด้วยการอัลตราซาวด์ได้อย่างน่าเชื่อถือแต่ว่าความไวสำหรับโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรังนั้นไม่ค่อยดีและอาจดูเหมือนปกติ 4Forman MA, Steiner JM, Armstrong JP, et al. ACVIM consensus statement on pancreatitis in cats. J. Vet. Intern. Med. 2021;35:703-723.
.
แหล่งกำเนิดและโครงสร้างภายในของก้อนเนื้อใดใดก็สามารถระบุผ่านการอัลตราซาวด์ได้เช่นกัน แต่ต้องจำไว้เสมอว่าในแมวบางตัวที่มีภาวะความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารแบบปฐมภูมิ (primary GI conditions) แบบแพร่กระจาย เช่น ภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรังที่ตอบสนองต่ออาหาร (FRE), IBD หรือแม้แต่ LGAL ผลการตรวจด้วยภาพรังสีอาจปกติ ดังนั้นการอัลตราซาวด์ที่ “ปกติ” จึงไม่สามารถตัดประเด็นโรคทางเดินอาหารปฐมภูมิออกไปได้
สัตวแพทย์ควรพิจารณาการสุ่มตัวอย่างจากโครงสร้างที่ผิดปกติ (เช่น FNA) โดยให้ทำร่วมกับการแสกนอัลตราซาวด์ ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาหารือกับเจ้าของก่อน ซึ่งข้อบ่งชี้หลักของการตรวจ FNA คือการแยกความแตกต่างระหว่างภาวะอักเสบและเนื้องอก แม้จะไม่สามารถใช้วินิจฉัยได้เสมอไปแต่ก็เป็นหัตถการที่สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องอุปกรณ์เฉพาะและสามารถทำได้ภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึก รวมถึงเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย (morbidity) น้อยมากสำหรับกรณีที่มีโรคตับและทางเดินน้ำดีเฉียบพลัน การเจาะถุงน้ำดี (cholecystocentesis) ควรพิจารณาในกรณีที่สงสัยว่าเป็นโรคตับและทางเดินน้ำดีเรื้อรังซึ่งการเปลี่ยนแปลงจากการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์จะมีความละเอียดอ่อนกว่า หากผลการตรวจทางเซลล์วิทยาไม่สามารถวินิจฉัยได้ ก็สามารถทำซ้ำได้ (ยกเว้นตัวอย่างน้ำดี) หรือทำการตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) จากอวัยวะที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น การตัดชิ้นเนื้อตับหรือการตัดชิ้นเนื้อจากชั้น mucosa ของทางเดินอาหารโดยวิธีผ่าตัดผ่านกล้อง (laparoscopic) หรือผ่าตัดเปิดช่องท้อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีก้อนเนื้อในช่องท้องเพียงก้อนเดียว (+/- ต่อมน้ำเหลืองโต) การอัลตราซาวด์และการตัดชิ้นเนื้อจะสามารถช่วยแยกแยะเนื้องอกออกจากการวินิจฉัยอื่นๆที่เป็นไปได้ ซึ่งได้แก่ แกรนูโลมาที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราหรือโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (granulomas of fungal or feline infectious peritonitis (FIP)) โรคที่เกิดจากเชื้อมัยโคแบคทีเรีย (mycobacterial disease) หรือ (หากอยู่ในทางเดินอาหาร) feline gastrointestinal eosinophilic sclerosing fibroplasia (FGESF) 8Linton M, Nimmo JS, Norris JM, et al. Feline gastrointestinal eosinophilic sclerosing fibroplasia: 13 cases and review of an emerging clinical entity. J. Feline Med. Surg. 2015;17:392-404.
.
นอกจากนี้การเจาะดูดด้วยเข็มขนาดเล็ก (FNA) ยังมีประโยชน์ในการระบุลักษณะของเนื้องอกภายในหรือภายนอกทางเดินอาหาร แม้ว่าเนื้องอกบางชนิด (lymphoma, adenocarcinoma, mast cell tumors) จะหลุดลอก (exfoliate) ได้ดีกว่าเนื้องอกชนิดอื่น (gastrointestinal stromal tumors (GIST), leiomyoma หรือ leiomyosarcoma) สำหรับมะเร็งบางบนิดที่พบได้บ่อยกว่า การทำ FNA ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจระยะทั้งหมด (full staging) (การประเมินการแพร่กระจายไปยังตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆ) ได้อีกด้วย
สุดท้ายนี้การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography (CT)) แทบไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในการวินิจฉัยโรคในช่องท้องปฐมภูมิ (primary abdominal disease) ที่ทำให้เกิดอาการอาเจียนเรื้อรัง แต่อย่างไรก็ตามการทำ CT อาจช่วยวินิจฉัยภาวะลำไส้บิดตัว (mesenteric torsions) (พบได้น้อยมากในแมว) ความผิดปกติของหลอดเลือด (vascular abnormalities (portosystemic shunts)) หรือช่วยประเมินก้อนเนื้อขนาดใหญ่ในช่องท้องก่อนการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก (กรณีที่มีการรุกรานเข้าไปในโครงสร้างโดยรอบ เช่น หลอดเลือด เกิดลิ่มเลือด ฯลฯ เป็นต้น)
การตัดชิ้นเนื้อในระบบทางเดินอาหารเพื่อส่งตรวจ
การวินิจฉัยแยกโรค 2 อย่างหลักสำหรับแมวที่มีอาการอาเจียนเรื้อรัง, ±ท้องเสีย, ±น้ำหนักลด แต่ไม่พบผลการตรวจวินิจฉัยที่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังแบบไม่ทราบสาเหตุ (IBD) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจากทางเดินอาหารชนิดโตช้าและมีการดำเนินโรคอย่างค่อยเป็นค่อยไป (LGAL) 1Marsilio S. Feline chronic enteropathy. J. Small Anim. Pract. 2021;62:409-419.
,9Freiche V, Fages J, Paulin VM, et al. Clinical, laboratory and ultrasonographic findings differentiating low-grade intestinal T-cell lymphoma from lymphoplasmacytic enteritis in cats. J. Vet. Intern. Med. 2021;35:2685-2696.
, ซึ่งน่าเสียดายที่ทั้ง 2 อย่างนี้มักจะมีลักษณะอาการแสดงทางคลินิกที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นการตัดชิ้นเนื้อจึงมักเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยให้สัตวแพทย์แยกความแตกต่างระหว่างภาวะเหล่านี้ได้อย่างมั่นใจ การตัดชิ้นเนื้อสามารถทำได้ทั้งในระหว่างการส่องกล้อง endoscope โดยใช้อุปกรณ์เฉพาะตัดชิ้นเนื้อจากเยื่อเมือกของทางเดินอาหาร (mucosal punch biopsies) หรือผ่าตัดเพื่อตัดชิ้นเนื้อทั้งหมด (surgical full-thickness biopsies) ซึ่งทั้งสองวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน (ตารางที่ 3) แต่ความแม่นยำในการวินิจฉัยอาจขึ้นกับอยู่วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่างด้วย ตัวอย่างเช่น มีข้อเสนอแนะว่าการตัดชิ้นเนื้อทั้งหมดจากลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) จะมีความแม่นยำมากกว่าการตัดชิ้นเนื้อผ่านกล้อง endoscope ในการแยกความแตกต่างระหว่าง IBD กับ LGAL 10Evans SE, Bonczynski JJ, Broussard JD, et al. Comparison of endoscopic and full-thickness biopsy specimens for diagnosis of inflammatory bowel disease and alimentary tract lymphoma in cats.
.
ตารางที่ 3 ข้อดีและข้อเสียของการตัดชิ้นเนื้อโดยใช้กล้อง endoscope และการผ่าตัดเพื่อตัดชิ้นเนื้อ
เมื่อทำการตัดชิ้นเนื้อจากเยื่อเมือกด้วยกล้อง endoscope ไกด์ไลน์ในปัจจุบันได้แนะนำให้เก็บตัวอย่างอย่างน้อย 6 ตัวอย่างจากแต่ละส่วนของระบบทางเดินอาหารของแมว 11Washabau RJ, Day MJ, Willard MD, et al. Endoscopic, biopsy, and histopathologic guidelines for the evaluation of gastrointestinal inflammation in companion animals. J. Vet. Intern. Med. 2010;24:10-26.
, ทั้งนี้แม้ว่าสัตวแพทย์ส่วนใหญ่จะเก็บตัวอย่างอย่างน้อย 8-15 ตัวอย่างจากแต่ละส่วนเนื่องจากความกังวลว่าบางตัวอย่างอาจมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน แต่การขนส่งและการประมวลผลตัวอย่างก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน 12Ruiz GC, Reyes-Gomez E, Hall EJ, et al. Comparison of 3 handling techniques for endoscopically obtained gastric and duodenal biopsy specimens: a prospective study in dogs and cats. J. Vet. Intern. Med. 2016;30;1014-1021.
, ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับวิธีการของห้องปฏิบัติการ/นักพยาธิวิทยา การศึกษาล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่าตัวอย่างจากระบบทางเดินอาหารที่ผ่านวิธี mounted ร่วมกับการปรับการวางตำแหน่งทิศทาง (orientated) จะดีกว่าตัวอย่างชิ้นเนื้อที่ลอยอยู่ในฟอร์มาลินอย่างอิสระ 12Ruiz GC, Reyes-Gomez E, Hall EJ, et al. Comparison of 3 handling techniques for endoscopically obtained gastric and duodenal biopsy specimens: a prospective study in dogs and cats. J. Vet. Intern. Med. 2016;30;1014-1021.
.
เพราะฉะนั้นการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการตัดชิ้นเนื้อจึงควรพิจารณาแต่ละกรณีโดยขึ้นกับดัชนีความสงสัย (the index of suspicion) ในภาวะเฉพาะหรือมีโรคร่วมหลายโรค ตัวอย่างเช่น หากสัตวแพทย์สงสัยว่าเป็นโรคตับและทางเดินน้ำดีและ/หรือโรคตับอ่อนร่วมกับภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง การตัดชิ้นเนื้อจากทั้ง 3 อวัยวะโดยการผ่าตัดอาจให้ผลดีทั้งในทางการแพทย์และทางปฏิบัติแทนที่จะตัดชิ้นเนื้อลำไส้ด้วยกล้อง endoscope เพียงอย่างเดียว แต่สุดท้ายแล้ว ค่าใช้จ่าย การรุกรานร่างกาย ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและความต้องการของเจ้าของก็ล้วนแต่มีบทบาทต่อการตัดสินใจทั้งสิ้น
แม้ว่าการตรวจทางพยาธิวิทยาจะยังคงเป็นการตรวจมาตรฐานสูงสุด (gold standard) ในการแยก IBD จาก LGAL แต่ก็ยังมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในบริบทของความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) 1,9. สาเหตุน่าจะมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า LGAL นั้นเป็นภาวะที่ต่อเนื่องมาจาก IBD ที่ยาวนานในแมว ซึ่งจะแตกต่างกับสุนัขที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงมีความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่การอักเสบไปจนถึงเนื้องอกในระดับอัตราเลื่อน (sliding scale) บางครั้งจึงทำให้วินิจฉัยได้ยาก นอกจากนี้แม้จะมีเทมเพลตทางจุลพยาธิวิทยา (histopathological templates) 11Washabau RJ, Day MJ, Willard MD, et al. Endoscopic, biopsy, and histopathologic guidelines for the evaluation of gastrointestinal inflammation in companion animals. J. Vet. Intern. Med. 2010;24:10-26.
, แต่ก็ดูเหมือนว่าจะมีปัญหาในกราแยก IBD จาก LGAL จากเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดี การศึกษาแบบอำพราง (blinded study) เมื่อไม่นานมานี้พบว่ามีการตัดชิ้นเนื้อจากลำไส้ส่วน duodenum 12/20 ชิ้นจากแมวที่มีสุขภาพดีจัดเป็น LGAL แต่มีแมวเพียง 3 ตัวเท่านั้นที่มีอาการทางระบบทางเดินอาหารหลังจากติดตามผลการรักษาเป็นเวลาเฉลี่ย 709 วัน 13Marsilio S, Ackermann MR, Lidbury AJ, et al. Results of histopathology, immunohistochemistry, and molecular clonality testing of small intestinal biopsy specimens from clinically healthy client-owned cats. J. Vet. Intern. Med. 2019;33:551-558.
. ถ้าการสังเกตทางคลินิกและการวินิจฉัยทางจุลพยาธิวิทยานั้นดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกัน ผู้เขียนบทความแนะนำอย่างยิ่งให้ปรึกษานักพยาธิวิทยาเพื่อหารือว่าสามารถทำอะไรเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยโรคได้อีก ซึ่งอาจรวมไปถึงการตรวจเนื้อเยื่อด้วยวิธี advanced immunohistochemistry หรือ clonality testing แต่วิธีการทดสอบเหล่านี้ก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกัน 9Freiche V, Fages J, Paulin VM, et al. Clinical, laboratory and ultrasonographic findings differentiating low-grade intestinal T-cell lymphoma from lymphoplasmacytic enteritis in cats. J. Vet. Intern. Med. 2021;35:2685-2696.
,14Freiche V, Paulin MV, Cordonnier N. Histopathologic, phenotypic, and molecular criteria to discriminate low-grade intestinal T-cell lymphoma in cats from lymphoplasmacytic enteritis. J. Vet. Intern. Med. 2021;35:2673-2684.
; ตัวอย่างเช่น การศึกษาวิจัยฉบับหนึ่งพบว่าร้อยละ 40 ของแมวที่เป็น IBD มีลักษณะความเป็น monoclonality หรือก็คือเซลล์ไลน์ที่มีต้นกำเนิดมาจากต้นกำเนิดเดียว ในตัวอย่างชิ้นเนื้อจากระบบทางเดินอาหาร 14Freiche V, Paulin MV, Cordonnier N. Histopathologic, phenotypic, and molecular criteria to discriminate low-grade intestinal T-cell lymphoma in cats from lymphoplasmacytic enteritis. J. Vet. Intern. Med. 2021;35:2673-2684.
.
การวินิจฉัย IBD หรือ LGAL ยังคงเป็นความท้าทายเนื่องจากอาการแสดงทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลภาพถ่ายรังสี ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา ผลตรวจด้วยวิธี immunohistochemistry และลักษณะ clonality อาจทับซ้อนกันระหว่างภาวะเหล่านี้ 1Marsilio S. Feline chronic enteropathy. J. Small Anim. Pract. 2021;62:409-419.
,9Freiche V, Fages J, Paulin VM, et al. Clinical, laboratory and ultrasonographic findings differentiating low-grade intestinal T-cell lymphoma from lymphoplasmacytic enteritis in cats. J. Vet. Intern. Med. 2021;35:2685-2696.
,14Freiche V, Paulin MV, Cordonnier N. Histopathologic, phenotypic, and molecular criteria to discriminate low-grade intestinal T-cell lymphoma in cats from lymphoplasmacytic enteritis. J. Vet. Intern. Med. 2021;35:2673-2684.
. นอกจากนี้ยังมีมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในทางเดินอาหารชนิดอื่นๆอีก เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจากทางเดินอาหารชนิดโตปานกลางถึงเร็ว (alimentary intermediate to high grade lymphomas) หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดลิมโฟไซต์เม็ดใหญ่ (large granular lymphomas) หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดเอพิเทลิโอโทรปิก (epitheliotropic lymphomas) ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นก้อนเนื้อในลำไส้เฉพาะที่โดยมีลักษณะเฉพาะคือพบเม็ดเลือดขาวชนิด B cell หรือ T cell จากการทดสอบ immunophenotype 15Barrs V, Beatty J. Feline alimentary lymphoma: 1. Classification, risk factor, clinical signs and non-invasive diagnostics. J. Feline Med. Surg. 2012;14:182-190.
,16Barrs V, Beatty J. Feline alimentary lymphoma: 2. Further diagnostics, therapy and prognosis. J. Feline Med. Surg. 2012;14:191-201.
. ภาวะเหล่านี้โดยปกติแล้วสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการทดสอบที่รุกรานน้อยกว่า เช่น การประเมินทางเซลล์วิทยาหรือดูการไหลเวียนของไซโตเมทรี (flow cytometry) โดยใช้วิธีการเจาะดูดด้วยเข็มขนาดเล็ก 15Barrs V, Beatty J. Feline alimentary lymphoma: 1. Classification, risk factor, clinical signs and non-invasive diagnostics. J. Feline Med. Surg. 2012;14:182-190.
,16Barrs V, Beatty J. Feline alimentary lymphoma: 2. Further diagnostics, therapy and prognosis. J. Feline Med. Surg. 2012;14:191-201.
.