อาการแสดงทางคลินิกเพิ่มเติมที่พบได้น้อยกว่าอาจเกิดขึ้นเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคไขมันพอกตับในแมว (เช่น ภาวะเลือดออกผิดปกติ (bleeding diathesis) โรคสมองจากตับ โรคผิวหนังเปราะบาง (skin fragility syndrome)) หรือสาเหตุพื้นเดิม (เช่น มีไข้พร้อมกับโรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือการอักเสบ เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ ภาวะปัสสาวะมากและภาวะดื่มน้ำมากในแมวที่เป็นโรคไตหรือเบาหวาน เป็นต้น)
ผลการตรวจทางคลินิกพยาธิวิทยา
ลักษณะเด่นทางชีวเคมีของโรคไขมันพอกตับในแมวคือการเพิ่มสูงขึ้นของ alkaline phosphatase activity (ALP) ซึ่งพบได้ในแมวที่เป็นโรคนี้มากกว่าร้อยละ 80 7Center SA, Crawford MA, Guida L, et al. A retrospective study of 77 cats with severe hepatic lipidosis: 1975-1990. J. Vet. Intern. Med. 1993;7(6):349-359.
,9Kuzi S, Segev G, Kedar S, et al. Prognostic markers in feline hepatic lipidosis: a retrospective study of 71 cats. Vet. Rec. 2017;181(19):512.
,11Center SA, Baldwin BH, Dillingham S, et al. Diagnostic value of serum gamma-glutamyl transferase and alkaline phosphatase activities in hepatobiliary disease in the cat. J. Am. Vet. Med. Assoc. 1986;188(5):507-510.
. จากการทดลองพบว่าระดับ ALP ที่เพิ่มสูงขึ้นจะเกิดขึ้นก่อนภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง (hyperbilirubinemia) 8Biourge VC, Groff JM, Munn RJ, et al. Experimental induction of hepatic lipidosis in cats. Am. J. Vet. Res. 1994;55(9):1291-1302.
, ซึ่ง ALP ถือเป็นตัวบ่งชี้ที่มีความไวสูงและค่อนข้างจำเพาะต่อโรคไขมันพอกตับในแมว แต่ในทางกลับกันกิจกรรมของ gamma-glutamyl transpeptidase (GGT) นั้นแทบจะไม่เพิ่มสูงขึ้น ยกเว้นแต่จะมีภาวะทางเดินท่อน้ำดีตีบหรืออุดตัน/พยาธิสภาพของท่อน้ำดี (cholestatic/biliary pathology) เกิดขึ้นพร้อมกัน 11Center SA, Baldwin BH, Dillingham S, et al. Diagnostic value of serum gamma-glutamyl transferase and alkaline phosphatase activities in hepatobiliary disease in the cat. J. Am. Vet. Med. Assoc. 1986;188(5):507-510.
. ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของ ALP ที่แตกต่างกันหากพบร่วมกับ GGT ปกติหรือเพิ่มสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยจึงบ่งชี้ได้ว่าแมวเป็นโรคไขมันพอกตับ อย่างไรก็ตาม ยังมีการวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnoses) อื่นๆสำหรับ ALP ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงโรคตับและทางเดินน้ำดี (เช่น โรคตับอักเสบจากท่อน้ำดี (cholangiohepatitis) ท่อน้ำดีอุดตัน (biliary obstruction)) และโรคฮอร์โมน (เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน)
ภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง (hyperbilirubinemia) และกิจกรรมของ alanine (ALT)/aspartate (AST) aminotransferase ที่เพิ่มสูงขึ้นถือเป็นผลตรวจทั่วไปที่ไม่จำเพาะเจาะจง 7Center SA, Crawford MA, Guida L, et al. A retrospective study of 77 cats with severe hepatic lipidosis: 1975-1990. J. Vet. Intern. Med. 1993;7(6):349-359.
,9Kuzi S, Segev G, Kedar S, et al. Prognostic markers in feline hepatic lipidosis: a retrospective study of 71 cats. Vet. Rec. 2017;181(19):512.
. การสะสมไขมันในตับไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม จะทำให้เกิดการบวมของเซลล์ (cellular swelling) และภาวะท่อน้ำดีคั่งในตับ (intrahepatic cholestasis) รวมถึงการทำลายออกซิเดชั่น (oxidative damage) และการอักเสบทุติยภูมิ (secondary inflammation) ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมของเอนไซม์ transaminase เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นระดับของเอนไซม์ transaminase ในตับที่ผิดปกติจึงไม่จำเป็นต้องบ่งชี้ถึงโรคตับ และการที่ ALT/AST เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า (เมื่อเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิง) ALT หลายเท่าอาจบ่งชี้ถึงโรคพื้นเดิมอื่นๆ (underlying disease) ได้เช่นกัน 7Center SA, Crawford MA, Guida L, et al. A retrospective study of 77 cats with severe hepatic lipidosis: 1975-1990. J. Vet. Intern. Med. 1993;7(6):349-359.
.
ความเข้มข้นของยูเรีย (urea concentration) ที่ต่ำอาจเกิดจากการรับประทานโปรตีนที่น้อยลงและความผิดปกติของวัฏจักรยูเรีย (urea cycle) โดยอย่างหลังจะรุนแรงขึ้นหากมีภาวะพร่องอาร์จินีนและวิตามินบี 12 ซึ่งมักเกิดขึ้นในโรคไขมันพอกตับในแมว ซึ่งในทำนองเดียวกัน ภาวะแอมโมเนียในเลือดสูงก็สามารถเกิดขึ้นจากภาวะตับวาย (hepatic failure) ภาวะพร่องวิตามินบี 12 และรับประทานอาร์จินีนในอาหารที่ไม่เพียงพอ โดยจะมีผลกระทบทางคลินิกและการรักษา 1Valtolina C, Favier RP. Feline Hepatic Lipidosis. Vet. Clin. North Am. Small Anim. Pract. 2017;47(3):683-702.
,2Verbrugghe A, Bakovic M. Peculiarities of one-carbon metabolism in the strict carnivorous cat and the role in feline hepatic lipidosis. Nutrients 2013;5(7):2811-2835.
. นอกจากนี้ความผิดปกติอื่นๆที่พบได้ไม่บ่อยนักจะรวมถึงภาวะโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำ (hypoalbuminemia)/ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ (hypoproteinemia) จากการสูญเสียโปรตีนในลำไส้ (protein losing enteropathy) และ/หรือความล้มเหลวในการสังเคราะห์ที่ตับ (hepatic synthetic failure) ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ (hypocholesterolemia) และภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงที่เกี่ยวข้องกับภาวะท่อน้ำดีคั่ง (cholestasis-associated hypercholesterolemia) 7Center SA, Crawford MA, Guida L, et al. A retrospective study of 77 cats with severe hepatic lipidosis: 1975-1990. J. Vet. Intern. Med. 1993;7(6):349-359.
,9Kuzi S, Segev G, Kedar S, et al. Prognostic markers in feline hepatic lipidosis: a retrospective study of 71 cats. Vet. Rec. 2017;181(19):512.
. ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (hypertriglyceridemia) โดยทั่วไปมักพบในแมวที่มีภาวะอ้วนและโดยเฉพาะในช่วงที่เป็นโรคไขมันพอกตับ 12. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) นั้นเป็นผลตามมาจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ภาวะตับอ่อนอักเสบหรือเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว (overt diabetes mellitus) 7Center SA, Crawford MA, Guida L, et al. A retrospective study of 77 cats with severe hepatic lipidosis: 1975-1990. J. Vet. Intern. Med. 1993;7(6):349-359.
,9Kuzi S, Segev G, Kedar S, et al. Prognostic markers in feline hepatic lipidosis: a retrospective study of 71 cats. Vet. Rec. 2017;181(19):512.
. ในทางกลับกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) นั้นจะพบได้ไม่บ่อยนัก 9Kuzi S, Segev G, Kedar S, et al. Prognostic markers in feline hepatic lipidosis: a retrospective study of 71 cats. Vet. Rec. 2017;181(19):512.
, แต่จะเกิดขึ้นจากภาวะตับวาย ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) หรือภาวะตับอ่อนอักเสบและถือเป็นตัวบ่งชี้การพยากรณ์โรคเชิงลบ (negative prognostic factor) 13Nivy R, Kaplanov A, Kuzi S, et al. A retrospective study of 157 hospitalized cats with pancreatitis in a tertiary care center: Clinical, imaging and laboratory findings, potential prognostic markers and outcome. J. Vet. Intern. Med. 2018;32(6):1874-1885.
.
ในแง่ของความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ (electrolyte derangement) ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) อาจเป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดและมีความสำคัญทางคลินิกมากที่สุดในแมวที่เป็นโรคไขมันพอกตับ 1Valtolina C, Favier RP. Feline Hepatic Lipidosis. Vet. Clin. North Am. Small Anim. Pract. 2017;47(3):683-702.
. ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscular weakness) การผลิตปัสสาวะที่เข้มข้นขึ้นไม่ได้ (inability to adequately concentrate urine) ร่วมกับการเกิดภาวะปัสสาวะมาก/ภาวะดื่มน้ำมาก (polyuria/polydipsia) ภาวะกระเพาะอาหารและลำไส้อุดตัน (gastric and intestinal ileus) การกำเริบของโรคสมองจากตับ (exacerbation of HE) และความผิดปกติของหัวใจในกรณีที่มีความรุนแรงมากกว่า ความรุนแรงที่แท้จริงของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำมักถูกบดบังด้วยภาวะขาดน้ำ (dehydration) เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสัตว์ ทั้งนี้การให้อาหารทางสายยางและทางเส้นเลือดจะสามารถช่วยให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดลดต่ำลงได้ 14Brenner K, KuKanich KS, Smee NM. Refeeding syndrome in a cat with hepatic lipidosis. J. Feline Med. Surg. 2011;13(8):614-617.
,15Boateng AA, Sriram K, Meguid MM, et al. Refeeding syndrome: treatment considerations based on collective analysis of literature case reports. Nutrition 2010;26(2):156-167.
. ดังนั้นการเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและการแก้ไขระดับโพแทสเซียมในเลือดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อย ได้แก่ ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (hypomagnesemia) และภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำ (Hypophosphatemia)1Valtolina C, Favier RP. Feline Hepatic Lipidosis. Vet. Clin. North Am. Small Anim. Pract. 2017;47(3):683-702.
,14Brenner K, KuKanich KS, Smee NM. Refeeding syndrome in a cat with hepatic lipidosis. J. Feline Med. Surg. 2011;13(8):614-617.
,15Boateng AA, Sriram K, Meguid MM, et al. Refeeding syndrome: treatment considerations based on collective analysis of literature case reports. Nutrition 2010;26(2):156-167.
. โดยภาวะเหล่านี้อาจพบเมื่อเข้ารับการรักษา (เป็นผลมาจากการสูญเสียที่ลำไส้และปัสสาวะ) แต่บ่อยครั้งก็เกิดขึ้นในระยะหลังของโรคหลังจากการให้สารน้ำและให้อาหารเข้าทางเส้นเลือดหรือทางสายยางให้อาหาร การพัฒนาดังกล่าวอาจมีผลกระทบเชิงลบ เช่น อาการทางกล้ามเนื้อ/หัวใจและระบบประสาท (ภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำและภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ) ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (hemolytic anemia) และเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) (ภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำ) และการพัฒนาของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำและภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำที่ดื้อยา (refractory hypokalemia and hypocalcemia) (ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ)
การเปลี่ยนแปลงความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC) นั้นมีความหลากหลายและไม่จำเพาะเจาะจง อีกทั้งยังอาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากโรคพื้นเดิมหรือภาวะแทรกซ้อนของโรคไขมันพอกตับในแมว การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเม็ดเลือดแดง (erythrocyte morphology) ได้แก่ เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ (poikilocytosis), เม็ดเลือดแดงขนาดเล็กกว่าปกติ (microcytosis) และฮีโมโกลบินถูกทำลายแล้วตกตะกอนอยู่ในเม็ดเลือดแดง (Heinz bodies) 1Valtolina C, Favier RP. Feline Hepatic Lipidosis. Vet. Clin. North Am. Small Anim. Pract. 2017;47(3):683-702.
,6Webb CB. Hepatic lipidosis: Clinical review drawn from collective effort. J. Feline Med. Surg. 2018;20(3):217-227.
,7Center SA, Crawford MA, Guida L, et al. A retrospective study of 77 cats with severe hepatic lipidosis: 1975-1990. J. Vet. Intern. Med. 1993;7(6):349-359.
. การเปลี่ยนแปลงอย่างหลังเป็นผลมาจากความเครียดออกซิเดชั่น (oxidative stress) และภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำ รวมถึงยังอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ นอกจากนี้ภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำอย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (hemolytic anemia) ได้โดยตรง 14Brenner K, KuKanich KS, Smee NM. Refeeding syndrome in a cat with hepatic lipidosis. J. Feline Med. Surg. 2011;13(8):614-617.
. เมื่อแมวมีภาวะเม็ดเลือดแดงขนาดเล็กกว่าปกติอย่างรุนแรง อาจบ่งชี้ถึงการขาดธาตุเล็ก (iron deficiency) หรือโรคหลอดเลือดในตับ (hepatic vascular disease) (เช่น โรคเส้นเลือดข้ามตับ (portosystemic shunts))
ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (coagulopathies) นั้นพบได้บ่อยในแมงที่เป็นโรคไขมันพอกตับ 1Valtolina C, Favier RP. Feline Hepatic Lipidosis. Vet. Clin. North Am. Small Anim. Pract. 2017;47(3):683-702.
,7Center SA, Crawford MA, Guida L, et al. A retrospective study of 77 cats with severe hepatic lipidosis: 1975-1990. J. Vet. Intern. Med. 1993;7(6):349-359.
และจากรายงานฉบับหนึ่งพบว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของสัต์ป่วยจะมี prothrombin time (PT) และ/หรือ activated partial thromboplastin time (aPTT) นานผิดปกติ (abnormally prolong) 9Kuzi S, Segev G, Kedar S, et al. Prognostic markers in feline hepatic lipidosis: a retrospective study of 71 cats. Vet. Rec. 2017;181(19):512.
. เมื่อเปรียบเทียบการทดสอบตรวจหาโปรตีนที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยภาวะพร่องวิตามินเค proteins induced by vitamin K absence test (PIVKA) ต่อการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดหรือ PT/aPTT test พบว่าความไวของการทดสอบแบบแรกจะสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญในการตรวจหาภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับวิตามินเคในแมวที่เป็นโรคตับและลำไส้ 16Center SA, Warner K, Corbett J, et al. Proteins invoked by vitamin K absence and clotting times in clinically ill cats. J. Vet. Intern. Med. 2000;14(3):292-297.
. แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบันการตรวจหา PIVKA ยังไม่มีวางจำหน่ายในท้องตลาด อีกทั้งความชุก (prevalence) ของภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติและภาวะพร่องวิตามินเคนั้นค่อนข้างสูงในแมวที่เป็นโรคไขมันพอกตับ ผู้เขียนจึงแนะนำให้เสริมวิตามินเค (ตารางที่ 2)