Icons/Social Share/Email Icons/Social Share/Facebook Icons/Social Share/Instagram Icons/Social Share/Kakao Talk Icons/Social Share/Line Icons/Social Share/LinkedIn Icons/Social Share/Messenger Icons/Social Share/Naver Band Icons/Social Share/OdnoKlassniki Icons/Social Share/Pintrest Icons/Social Share/Twitter Icons/Social Share/Vkontakte Icons/Social Share/WeChat Icons/Social Share/Whatsapp

หมายเลขหัวข้อ 29.2 Other Scientific

การระบุปัญหาและการจัดการภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

เผยแพร่แล้ว 19/05/2020

เขียนโดย J. Scott Weese

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Español และ English

เมื่อต้องระบุปัญหาด้านระบบทางเดินปัสสาวะ ศัพทวิทยาจัดเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากช่วยส่งเสริมความเข้าใจในภาวะของโรค และช่วยในการตัดสินใจเลือกวิธีการวินิจฉัยและการรักษา ดังที่ J. Scott Weese ได้กล่าวไว้ในบทความนี้ (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

Defining and managing canine urinary infections

ประเด็นสำคัญ

การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรคที่พบได้บ่อย การระบุปัญหาด้วยศัพท์ทางเทคนิกที่เหมาะสมช่วยในการตัดสินใจเลือกวิธีการวินิจฉัยและรักษาง่ายขึ้น


เคยเชื่อกันว่าภายในกระเพาะปัสสาวะเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ (sterile) แต่ในปัจจุบันมีแนวคิดว่าเชื้อแบคทีเรียมีการเข้าและออกจากกระเพาะปัสสาวะอย่างเป็นวงรอบ


สุนัขที่ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะอาจมีความยุ่งยากในการรักษา การระบุสาเหตุของการเกิดโรคจะช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จในระยะยาวได้


ปัจจุบันมีแนวคิดว่าการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะแบบไม่แสดงอาการ (subclinical bacteriuria) ในสุนัขอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเสมอไป


บทนำ

การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในสุนัขเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพ นอกเหนือจากเรื่องของความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์ป่วยแล้ว การติดเชื้อยังสร้างปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษา ความกังวลของเจ้าของสัตว์ และโอกาสในการโรคแทรกซ้อนตามมาเช่นนิ่วชนิดสตรูไวท์ โดยปัญหาที่กล่าวมาจะพบได้ในสุนัขที่มีการเกิดซ้ำของโรคหรือตอบสนองได้ไม่ดีต่อการรักษา

International Society for Companion Animal Infectious Diseases (ISCAID) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จึงจัดทำแนวทางการวินิจฉัย รักษา และป้องกัน 1

ขอบเขตและเนื้อหาของแนวทางแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเป็นข้อมูลที่ดีแก่สัตวแพทย์ในการจัดการสัตว์ป่วย

ชื่อสื่ออะไร

ศัพทวิทยา (terminology) มีส่วนสำคัญในความเข้าใจกระบวนการของโรค สร้างความชัดเจนในการสื่อสาร เป็นตัวแปรในการตัดสินใจทางเลือกสำหรับวินิจฉัยและการรักษา มีคำศัพท์และนิยามต่างๆให้เลือกใช้ดังตารางที่ 1

การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection) นิยามที่อาจสร้างความสับสนได้เพราะสามารถใช้บ่งบอกโรคติดเชื้อและภาวะตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะโดยไม่แสดงอาการ
การตรวจพบเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ (bacteriuria) การที่ตรวจพบเชื้อแบคทีเรียในตัวอย่างปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (bacterial cystitis) เป็นคำที่แม่นยำกว่าในการระบุถึงการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะอันมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเกิดซ้ำ (recurrent cystitis) การเกิด bacterial cystitis 3 ครั้งขึ้นไปภายใน 1 ปีที่ผ่านมา
กระเพาะปัสสาวะอักเสบที่รักษาไม่หาย (refractory cystitis) bacterial cystitis ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
การติดเชื้อยืดเยื้อ (persistent infection) การเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบซ้ำโดยมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดิมที่ไม่ถูกกำจัดจนหมด
การติดเชื้อซ้ำ (reinfection) การเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบซ้ำหลังจากที่กำจัดเชื้ออันเป็นสาเหตุได้หมดแล้ว ยืนยันผลได้โดยการเพาะเชื้อพบแบคทีเรียชนิดใหม่แตกต่างจากเดิม
พบเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะแบบไม่แสดงอาการ (subclinical bacteriuria) การที่พบแบคทีเรียในปัสสาวะโดยสุนัขไม่แสดงอาการป่วยของระบบทางเดินปัสสาวะ
ไม่ซับซ้อน (uncomplicated) ศัพท์ทางเทคนิกที่ใช้มากในการแพทย์ของคนเพื่อบอกถึงการติดเชื้อที่พบได้ในหญิงที่มีกิจกรรมทางเพศปกติโดยปราศจากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ไม่แนะนำให้ใช้คำนี้ในกรณีของสุนัขเพราะเราไม่อาจบอกได้ว่าในกรณีของสุนัขไม่ซับซ้อนจริง
ซับซ้อน (complicated) ศัพท์ทางเทคนิกที่ใช้เรียกการติดเชื้อที่เกิดซ้ำหรือการติดเชื้อที่เกิดในผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมด้วย เป็นคำกล่าวอย่างกว้าง และไม่เกิดประโยชน์วินิจฉัยแหรือรักษา

ตาราง 1 นิยามและความหมายอย่างง่าย (quick reference definitions)

ความแตกต่างระหว่างการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและการการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือ UTI (urinary tract infection) เป็นชื่อโรคที่ใช้กันแพร่หลายในวงการสัตวแพทย์ ทั้งในกรณีที่มีการแสดงออกถึงโรคของระบบทางเดินทางปัสสาวะ 2

3 รวมถึงกรณีที่ไม่แสดงอาการป่วยแต่ตรวจพบแบคทีเรียจากการเพาะเชื้อหรือตรวจตะกอนปัสสาวะโดยวิธีการส่องกล้องจุลทรรศน์แล้วพบแบคทีเรีย 4 5 6 7 ทำให้เกิดความสับสนในการรักษาได้หากไม่สามารถวินิจฉัยแยกแยะ subclinical bacteriuria ออกจากกัน

เพื่อเป็นการลดความสับสนที่อาจเกิดขึ้นเมื้อใช้นิยาม “การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ” ทั้งในแง่ความกว้างของความหมาย รวมไปถึงกระบวนการเกิดโรค ทางผู้เขียนแนะนำให้ใช้คำว่า bacterial cystitis เมื่อตรวจยืนยันได้ว่าแบคเทีเรียเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง 1

การตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะแบบไม่แสดงอาการ (subclinical bacteriuria)

ในอดีตมีความเชื่อว่ากระเพาะปัสสาวะเป็นแหล่งปลอดเชื้อ แต่ในปัจจุบันมีแนวคิดใหม่ว่าเชื้อแบคทีเรียมีการเข้าและออกจากกระเพาะปัสสาวะอย่างเป็นวงรอบโดยมีโอกาสเกิดในสุนัขเพศเมียมากกว่าเพศผู้อันเป็นผลมาจากทางเดินปัสสาวะที่สั้นกว่า และพบในประชากรสุนัขป่วยด้วยโรคเช่น โรคที่กดภูมิคุ้มกัน โรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง หรือแม้แต่โรคอ้วน นอกจากแนวคิดที่ว่ามีแบคทีเรียเพียงชนิดเดียวเคลื่อนที่เข้าและออกจากกระเพาะปัสสาวะในปัจจุบันมีข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของแบคทีเรียหลายชนิดรวมกันเป็นไมโครไบโอต้า (microbiota)ในคนที่มีสุขภาพดี รวมถึงคนที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวข้องกับไขสันหลังและโรคไต 8

9 10 ความหลากหลายของชนิดแบคทีเรียที่พบในกระเพาะปัสสาวะอาจไม่มากเท่ากับในทางเดินอาหารแต่ถือว่ามีปริมาณมาก การเคลื่อนตัวของแบคทีเรีย ผลต่อการเกิดโรค รวมไปถึงการพบแบคทีเรียที่มีชีวิตจริงยังต้องได้รับการศึกษาหาคำอธิบายต่อไป

การมีอยู่ของแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะของสุนัขโดยไม่ทำให้เกิดโรคถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรียที่ตรวจพบเป็นครั้งคราวหรือไมโครไบโอต้าที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ อุบัติการณ์ที่จะพบขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากรสุนัขและสามารถพบได้ในอัตราที่สูง (ตาราง 2)

ความเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่พบได้ในการจัดการโรคระบบทางเดินปัสสาวะสุนัขคือการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะแบบไม่แสดงอาการไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเสมอไป 1

ในคนได้มีความพยายามผลักดันแนวคิดนี้เพื่อลดการเกิดเชื้อดื้อยา 11 12 13 14 15 การรักษา subclinical bacteriuria ในสตรีที่มีสุขภาพดีส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะตามมาเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไมได้ทำการรักษา 16 มีความกังวลว่าหากไม่รักษาอาจทำให้ subclinical bacteriuria พัฒนากลายไปเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (cystitis) กรวยไตอักเสบ (pyelonephritis)และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด (urosepsis) ในสุนัขยังมีข้อมูลด้านความเสี่ยงไม่มากจากการศึกษาที่ไม่เพียงพอ แต่พบว่าภาวะ bacteriuria ไม่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยในสุนัขที่เป็นอัมพาต 17 หรือสุนัขเพศเมียที่แข็งแรงดี 18

กลุ่มประชากร ความชุกของ bacteriuria
สุนัขที่ได้รับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน (19) 2.1%
สุนัขที่ได้รับยา ciclosporin (20) 30%
สุนัขที่ได้ยากลุ่ม glucocorticoids (21) 18%
Hyperadrenocorticism ( 22 ) 46%
เบาหวาน (22) 37%
ลูกสุนัขที่ติดเชื้อพาร์โวไวรัส (23) 26%
ลูกสุนัขปกติ (23) 6.3%
สุนัขที่เป็นโรคอ้วน (24) 13%
สุนัขที่ได้รับยา oclacitinib (25) 3%

ตาราง 2 ความชุกของ subclinical bacteriuria ในสุนัข

เมื่อทำการพิจารณาถึงความชุกของการเกิด subclinical bacteriuria ในประชากรสุนัขหลายกลุ่ม ที่ค่อนข้างสูงนำมาเทียบกับอุบัติการณ์การเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือ urosepsis ที่ค่อนข้างต่ำแล้ว สามารถสรุปได้ว่าภาวะ subclinical bacteriuria ไม่ก่อให้เกิดอันตราย จึงไม่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาเสมอไป 26

การติดเชื้อแบบซับซ้อนหรือไม่ซับซ้อน แตกต่างกันหรือไม่

การแบ่งระดับการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะจากแบคทีเรีย (bacterial cystitis) ในสุนัขมักใช้คำนิยามที่ใช้กันในคนเช่น ไม่ซับซ้อน (simple uncomplicated) หรือซับซ้อน (complicated) แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการนิยามแบบที่กล่าวมาสามารถใช้กับสุนัขได้จริงหรือไม่ กรณีที่ดีคือเป็นการตีกรอบขอบเขตของการติดเชื้อที่เกิดขึ้น กรณีที่แย่คือเป็นการใช้คำที่ผิดและนำไปสู่การวินิจฉัยรวมถึงการรักษาที่ผิดพลาดได้ simple uncomplicated ในคนจะใช้กับการติดเชื้อที่พบได้เป็นครั้งคราวในสตรีที่สุขภาพดี ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นใดนอกจากกิจกรรมทางเพศ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้การรักษาล้มเหลว มักพบในวัยรุ่นปกติที่มีกิจกรรมทางเพศซึ่งในประชากรสุนัขจะไม่มีกลุ่มเหมือนกับในคนโดยตรง แต่ไม่ได้หมายความว่าในสุนัขจะไม่พบ simple uncomplicated infection สิ่งที่ยังไม่ได้รับการยืนยันคือสาเหตุของการเกิด uncomplicated infection รวมไปถึงผลของมันต่อแนวทางการรักษา (ถ้ามี) การให้คำจำกัดความถึงการติดเชื้อแบบ complicated infection มักนำไปสู่การใช้ยาต้านจุลชีพที่นานขึ้น (เช่น 28 วัน) ซึ่งอาจไม่จำเป็นเสมอไป ถึงแม้สุนัขจะได้รับการยืนยันว่าเป็นการติดเชื้อแบบ complicated จริง การดูแลรักษาจะแตกต่างกันไปในแต่ละราย ยกตัวอย่างเช่นสุนัขที่มีการติดเชื้อแบบ recurrent infection จากความผิดปกติทางกายวิภาค อาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อแบบ uncomplicated หลายครั้งที่ตอบสนองต่อการรักษาระยะสั้น ความเห็นของผู้เขียนบทความคือให้หลีกเลี่ยงการใช้นิยามว่า complicated และ uncomplicated เพราะอาจนำไปสู่การคาดเดาและการรักษาที่เกินความจำเป็น

การติดเชื้อยืดเยื้อและการติดเชื้อซ้ำสำคัญหรือไม่

จัดว่ามีความสำคัญเพราะสุนัขที่มีการเกิดการติดเชื้อซ้ำจะมีความยากในการรักษา เมื่อเกิดการติดเชื้อซ้ำขึ้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการระบุสาเหตุให้ได้เพื่อความสำเร็จระยะยาวในการรักษา การใช้ยาต้านจุลชีพตัวเดิมซ้ำโดยปราศจากการระบุสาเหตุของการติดเชื้อจะได้ผลการรักษาที่ไม่ดีนักและนำไปสู่การติดเชื้อซ้ำได้ รวมถึงการทำให้เกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพอีกด้วย การระบุสาเหตุในสุนัขที่มีการติดเชื้อซ้ำอาจไม่สามารถทำได้ในทุกราย และถึงแม้ว่าระบุสาเหตุได้ ก็อาจไม่สามารถรักษาที่สาเหตุได้ทุกครั้งเสมอไป

การวินิจฉัยว่าการติดเชื้อมีสาเหตุมาจากการที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นตัวก่อโรคได้หมดหรือมีการติดเชื้อซ้ำจากการที่มีแบคทีเรียใหม่เข้าไปสู่กระเพาะปัสสาวะมีผลต่อแนวทางการวินิจฉัยและรักษา

การวินิจฉัยแยกแยะการติดเชื้อแบบยืดเยื้อและการติดเชื้อซ้ำทำได้หรือไม่

การวินิจฉัยแยกแยะสามารถทำได้ในบางครั้ง หากสามารถระบุแบคทีเรียที่ต่างชนิดกันได้ในการติดเชื้อแต่ละครั้งจะหมายความว่าเกิดการติดเชื้อซ้ำโดยเชื้อชนิดใหม่ หากพบแบคทีเรียชนิดเดิมแต่มีความไวต่อยาต้านจุลชีพที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะความสามารถในการดื้อยาที่เกิดจากการมีอยู่หรือขาดหายไปของยีน เช่นการดื้อยากลุ่มเบต้าแลคแตม มีความเป็นไปได้ว่าการติดเชื้อเป็นแบบเกิดซ้ำ หากพบแบคทีเรียชนิดเดิมที่ยังมีความไวต่อยาต้านจุลชีพเดิม อาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อยืดเยื้อที่รักษาไม่หาย หรือการติดเชื้อซ้ำโดยแบคทีเรียสายพันธุ์เดิม การจะระบุที่มาให้ชัดเจนต้องทำผ่าน molecular typing เท่านั้น หากสัตวแพทย์สามารถคาดเดาสาเหตุของการเกิดโรคได้จะทำให้การวินิจฉัยแยกแยะทำได้ง่ายขึ้นส่งผลต่อแผนการวินิจฉัยและรักษา (ตาราง 3)

การติดเชื้อแบบยืดเยื้อ (persistent infection)
สาเหตุที่เป็นไปได้ วิธีการที่ทำได้
เจ้าของสัตว์ให้ความร่วมมือไม่เต็มที่ พูดคุยกับเจ้าของสัตว์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ผลความไวต่อยาต้านจุลชีพที่ผิดพลาด ทบทวนผลการเพาะเชื้อแบคทีเรีย การเลือกใช้ยา รวมไปถึงขนาดและวิธีการบริหารยา
การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพไม่เหมาะสม  
ขนาดของยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสม  
การมีไนดัส(nidus)ที่เชื้อแบคทีเรียสามารถหลบยาต้านจุลชีพได้ เช่นก้อนเนื้อหรือนิ่ว การใช้ภาพรังสีวินิจฉัย
เชื้อแบคทีเรียมีการเข้าแทรกซึมที่ผนังกระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะในกรณีที่ใช้ยาต้านจุลชีพซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานในเนื้อเยื่อได้ต่ำเช่น amoxicillin การส่องกล้องตรวจ (cystoscopy)
ต่อมลูกหมากอักเสบ (prostatitis)

การติดเชื้อซ้ำ (re-infection)
สาเหตุที่เป็นไปได้ วิธีการที่ทำได้
ความผิดปกติทางกายวิภาคไม่ว่าจะเป็นแต่กำเนิดหรือในภายหลังเช่น โรคอ้วน การตรวจระบบสืบพันธุ์
ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอันมีสาเหตุจากความเจ็บป่วย ยา รวมไปถึงความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ การตรวจโลหิตวิทยาอย่างละเอียด
โรคไต การตรวจภาพวินิจฉัยและการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ

ตาราง 3 สาเหตุที่เป็นไปได้และการจัดการ recurrent bacteria cystitis

การวินิจฉัยกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากแบคทีเรีย (bacterial cystitis)

การซักประวัติและการตรวจร่างกายสุนัขสามารถนำไปสู่การตั้งข้อสงสัยว่าสุนัขอาจป่วยด้วย bacterial cystitis ต่างกับในแมวที่ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างมักไม่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ สุนัขที่ป่วยมักพบอาการเหล่านี้ ได้แก่ ปัสสาวะกระปริบกระปรอย (pollakiuria) แสดงอาการเจ็บเมื่อปัสสาวะ (stranguria) ปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria) โดยไม่มีอาการนอกเหนือจากที่ระบบปัสสาวะ การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (urinalysis) เป็นวิธีที่ง่าย ประหยัดและเป็นประโยชน์มาก (รูป1) ค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะ (urine specific gravity) สามารถบอกถึงการทำงานของไต การใช้ dipstick ในการจุ่มตรวจปัสสาวะสามารถวินิจฉัยยืนยันภาวะ hematuria ค่าความเป็นกรด-ด่างของปัสสาวะ รวมถึงความผิดปกติที่ไม่ควรมองข้ามอื่นๆ เช่น glucosuria การตรวจเซลล์วินิจฉัย (cytology) จะช่วยยืนยันการมีอยู่ของเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง แบคทีเรีย และอาจพบตะกอน ผลึก หรือเซลล์ผิดปกติอื่นๆที่บ่งชี้ว่าสุนัขอาจป่วยด้วยโรคนิ่ว โรคไต หรือเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะตามลำดับ (รูป 2)

Urinalysis should be performed – wherever possible – in any dog presenting with signs of a possible urinary infection, as it is an easy, cost-effective and useful diagnostic step.
รูป 1 ควรทำ urinalysis ทุกครั้งที่ทำได้หากพบสุนัขที่มาด้วยอาการเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ เพราะทำได้ง่าย ประหยัด และเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย © Shutterstock
Urine cytology from a dog with bacterial cystitis. Note the white blood cells (solid arrow) and red blood cells (dashed arrow).
รูป 2 cytology ของปัสสาวะ ในกรณีที่สุนัขป่วยด้วย bacterial cystitis สามารถพบเม็ดเลือดขาว (ลูกศรเส้นทึบ) และเม็ดเลือดแดง (ลูกศรเส้นประ) © Dorothee Bienzle

การรักษาด้วยยาต้านจุลชีพแรกเริ่มโดยไม่อิงกับผลเพาะเชื้อจากปัสสาวะในสุนัขที่พึ่งเคยเป็น bacterial cystitis ครั้งแรกสามารถกระทำได้ ยาต้านจุลชีพแรกเริ่มมีโอกาสที่จะให้ผลการรักษาที่น่าพอใจหากว่าสุนัขมีแนวโน้มที่จะดื้อยาค่อนข้างต่ำ เช่นไม่ได้รับยาต้านจุลชีพในช่วงเวลาที่ผ่านมา หรือสุนัขอยู่ในพื้นที่ที่พบอัตราการดื้อยาต่ำ หากพิจารณาว่าสุนัขมีโอกาสที่จะมีเชื้อแบคทีเรียที่มีโอกาสดื้อยาต้านจุลชีพสูง ไม่ว่าจากการมีประวัติได้รับยามาก่อนหน้านี้หรือการอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่พบอัตราการดื้อยาสูง จำเป็นต้องทำการเพาะเชื้อจากปัสสาวะเพื่อหาความไวต่อยาต้านจุลชีพ ตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บโดยการรองสามารถใช้ตรวจเซลล์วิทยาได้ แต่หากต้องการเพาะเชื้อควรเก็บตัวอย่างด้วยการเจาะดูดกระเพาะปัสสาวะผ่านทางหน้าท้อง (cystocentesis) มากกว่า มีรายงานว่าหากสามารถรองเก็บปัสสาวะด้วยกรรมวิธีที่สะอาดจะให้ผลเพาะเชื้อได้ไม่ต่างกับวิธี cystocentesis โดยปัสสาวะที่รองเก็บจะต้องถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังเก็บ และใช้ค่า cut-off ที่ 100,000 CFU/mL 27

สถานพยาบาลสัตว์หลายแห่งไม่สามารถนำส่งตัวอย่างปัสสาวะเพื่อเพาะเชื้อในเวลาอันรวดเร็วได้ทำให้วิธีนี้ไม่เหมาะสม การเก็บปัสสาวะเพื่อเพาะเชื้อโดยวิธี cystocentesis จึงเหมาะสมที่สุด

การแปลผลการเพาะเชื้ออย่างละเอียดเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน ถึงแม้จะใช้วิธี cystocentesis ในการเก็บตัวอย่างแต่เรายังสามารถพบการปนเปื้อนที่นำไปสู่การ colonization ของแบคทีเรียที่ไม่ได้มีส่วนในการก่อโรคได้ เมื่อผลการเพาะเชื้อพบเชื้อหลายชนิดการรักษาควรมุ่งไปที่แบคทีเรียที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นตัวก่อโรคมากกว่าการกำจัดแบคทีเรียทุกตัว หากพบเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ก่อโรคระบบทางเดินปัสสาวะในภาวะปกติเช่น Bacillus coagulase negative Staphylococci หรือเชื้อที่พบได้ในสิ่งแวดล้อมอื่นๆ สัตวแพทย์ผู้ทำการแปลผลต้องพึงระลึกว่าอาจมาจากการปนเปื้อน หากพบเชื้อที่กล่าวมาเพียงชนิดเดียวในการเพาะเชื้อจะมีความเป็นไปได้สูงว่าเชื้อนั้นคือตัวการก่อโรคแต่ไม่เสมอไป รวมทั้งการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพในลำดับที่สูงขึ้นเพื่อกำจัดแบคทีเรียที่มีความทนทานต่อยาต้านจุลชีพได้หลายชนิดอาจไม่จำเป็น การเลือกยาต้านจุลชีพแรกเริ่มอาจเกิดประโยชน์มากกว่าถึงแม้จะไม่ตรงกับผลเพาะเชื้อที่ได้

การให้ยาต้านจุลชีพควรคำนึงถึงสาเหตุของการอักเสบเพราะเกือบทุกกรณีมักพบสาเหตุที่โน้มนำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ไม่ยาก การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุอาจทำได้ยากในกรณีที่สัตว์ป่วยเป็นครั้งแรก แต่เป็นสิ่งที่สามารถทำได้และจำเป็นในกรณีที่มีการกลับมาเป็นซ้ำ (รูป 3)

Persistent infection in the bladder can be due to the presence of a nidus where the bacterium can evade antimicrobials, such as uroliths
รูป 3 การติดเชื้อแบบยืดเยื้อ (persistent infection) ที่กระเพาะปัสสาวะอาจเพราะมีไนดัส (nidus) ที่เชื้อแบคทีเรียสามารถหลบจากยาต้านจุลชีพได้เช่น ก้อนนิ่ว © Dr. Michelle Evason

การรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบจากแบคทีเรีย (bacterial cystitis)

แนวทางในการรักษาสุนัขที่เป็น bacterial cystitis มีการเปลี่ยนแปลงไปมากช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การใช้ยาต้านจุลชีพเป็นเวลานาน (14 วัน) 28

29 อย่างแพร่หลาย โดยไม่มีหลักฐานที่อ้างอิงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม ในคนมีการแนะนำให้ใช้ยาในการรักษาที่สั้นลง (3-5 วัน) ซึ่งน่าจะมีความคล้ายคลึงกันในสุนัข แนวทางการให้ยาต้านจุลชีพของ ISCAID ในปี 2011 แนะนำว่าควรใช้ยาเป็นเวลา 7-10 วัน แต่มีความเห็นว่าการใช้ยาในช่วงเวลาที่สั้นกว่านี้อาจให้ผลดีเช่นเดียวกันแต่ยังไม่มีเหตุผลสนับสนุนมากพอ 26 นอกจากนี้มีการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ยาต้านจุลชีพในช่วงระยะเวลาที่สั้นเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาที่ยาวกว่าปรากฎว่าได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่นการใช้ยา trimethoprim-sulfa เป็นเวลา 3 วัน ให้ผลทางคลินิกเท่ากับการใช้ cephalexin 10 วัน 3 หรือการใช้ enrofloxacin นาน 3 วันได้ผลเท่ากับการใช้ amoxicillin/clavulanic acid เป็นเวลา 14 วัน 2 ทางสัตวแพทย์ยังขาดผลการทดลองแบบสุ่ม (randomized control) ด้านประสิทธิภาพทางคลินิกของการใช้ยาต้านจุลชีพตัวเดียวกันแต่ระยะเวลาไม่เท่ากัน แต่หลักฐานสนับสนุนหลายประการที่มีจนถึงปัจจุบันโน้มนำให้ใช้ยาต้านจุลชีพในระยะเวลาที่สั้นลงกว่าในเดิม ส่งผลให้แนวทางของ ISCAID ฉบับปรับปรุง ปี 2019 แนะนำให้ใช้ยาต้านจุลชีพเป็นเวลา 3-5 วัน ในกรณีของ cystitis ที่เกิดเป็นครั้งคราว 1 ยาต้านจุลชีพแรกเริ่มที่แนะนำให้ใช้อยู่ในตารางที่ 4 ยาต้านจุลชีพตัวอื่นสามารถใช้ได้ขึ้นกับผลการเพาะเชื้อที่แสดงถึงความไวต่อยานั้น ลักษณะของโรค(มีการขยายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง) ความสามารถของสัตว์ป่วยในการรับยา รวมไปถึงความร่วมมือของเจ้าของสัตว์ในการบริหารยาได้ถูกตามเวลาและขนาด

ยาและขนาดที่ใช้ ข้อคิดเห็น
Amoxicillin
ขนาด 11-15 mg/kg PO q8-12h
ยาต้านจุลชีพขั้นแรกที่แนะนำให้ใช้ ถูกขับออกทางปัสสาวะในความเข้มข้นสูง ควรให้ยามีความเข้มข้นในปัสสาวะสูงที่สุดโดยที่ยังปลอดภัยต่อร่างกายสัตว์เพราะแบคทีเรียบางชนิดจะมีความไวต่อยาต้านจุลชีพในปัสสาวะมากกว่าในกระแสเลือด
Amoxicillin-clavulanic acid
ขนาด 12.5-25 mg/kg PO q12h
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า clavulanic acid มีส่วนช่วยให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้ดีกว่า amoxicillin เพียงตัวเดียวในปัสสาวะ เพราะความเข้มข้นของ amoxicillin ในปัสสาวะจะสูงอยู่แล้ว
Trimethoprim-sulfonamide
ขนาด 15-30 mg/kg PO q12h
ยาชนิดนี้มีประโยชน์ในหลายแง่มุมทำให้เป็นหนึ่งในยาต้านจุลชีพตัวแรกๆที่ควรเลือกเลือกใช้ แต่ด้วยผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ทำให้เป็นตัวเลือกที่รองลงมาเมื่อไม่สามารถใช้ amoxicillin หรือ amoxicillin/clavulanic acid ได้

ตาราง 4 ตาราง 4 ยาต้านจุลชีพขั้นแรกที่แนะนำให้ใช้ในกรณี bacterial cystitis ที่เกิดไม่บ่อยครั้ง*.
* สัตวแพทย์ควรพิจารณข้อชี้แนะในการใช้ยาปฏิชีวนะของชาติตามความเหมาะสม

กรณีศึกษา

กรณีสัตว์ป่วยต่อไปนี้จะเป็นการนำองค์ความรู้ด้านบนมาใช้ในการวินิจฉัยและรักษา

กรณีที่ 1 – subclinical bacteriuria

Meg เป็นสุนัขพันธุ์ golden retriever เพศเมีย อายุ 8 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ bacteriuria จากการเพาะเชื้อปัสสาวะที่เก็บโดยวิธี cystocentesis เมื่อได้รับการตรวจร่างกายประจำปี สุนัขไม่ได้แสดงอาการของโรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เคยมีประวัติการรักษาโรคการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (inflammatory bowel disease) ที่ได้รับยา prednisolone ขนาดต่ำ (5 mg q24h) เพื่อคุมอาการ การตรวจปัสสาวะผ่านกล้องจุลทรรศน์บ่งชี้ถึงภาวะ bacteriuria (>40/hpf) และ mild pyuria (5-10 WBC/hpf) แต่ไม่พบ hematuria ค่าความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.044 ผลการตรวจทางโลหิตวิทยาไม่พบความผิดปกติเด่นชัด สุนัขได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น subclinical bacteriuria และไม่จำเป็นต้องรักษาเพิ่มเติม

ปกติแล้วสุนัขที่ไม่ได้แสดงอาการของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะไม่ได้แนะนำให้ตรวจมทางห้องปฏิบัติการอย่างละเอียดเสมอไป 1

Meg ได้รับการตรวจปัสสาวะต่อเนื่องเพื่อที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้ให้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างปัสสาวะถูกเก็บในแต่ละเดือนด้วยวิธี cystocentesis หรือการรองเก็บซึ่งตัวอย่างต้องได้รับการตรวจภายในไม่กี่ชั่วโมงและมีค่า cut-off ที่ > 100,000CFU/mL 27 การเพาะเชื้อทุกครั้งพบ E.coli ตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่เฝ้าติดตาม การตรวจตะกอนของปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาวที่บ่งบอกถึงการอักเสบแต่ไม่พบเม็ดเลือดแดง สุนัขไม่แสดงอาการของโรคระบบทางเดินปัสสาวะหรือโรคอื่นใดจึงไม่ได้ทำการรักษาและไม่มีปัญหาอื่นตามมา สาเหตุของ subclinical bacteriuria ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย ขั้นตอนต่อไปที่ควรทำคือการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (cystoscopy)

Meg เป็นตัวอย่างของ subclinical bacteriuria ชนิดยืดเยื้อ ในอดีตหากเพาะเชื้อพบ E.coli จะนำไปสู่ข้อสรุปการรักษาโดยยาต้านจุลชีพ อย่างไรก้อตามในคนได้มีการศึกษามากมายว่าการรักษาภาวะ subclinical bacteriuria ที่ไม่แสดงอาการป่วยไม่เกิดประโยชน์อันใด มีความพยายามอย่างแพร่พลายที่จะลดการรักษาคนที่มีภาวะ subclinical bacteriuria รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อนไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถบอกเล่าอาการเจ็บป่วยของตนเองได้เช่นผู้ป่วยจิตเภท ผู้ป่วยที่มีอาการอัมพาต ทำให้สรุปได้ว่า Meg ไม่ได้แสดงอาการเจ็บป่วยอันมีสาเหตุมาจาก E.coli ทำให้ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา

กรณีที่ 2 – bacterial cystitis

Molly เป็นสุนัขพันธุ์ labradoodle เพศเมีย อายุ 4 ปีที่มาด้วยอาการปัสสาวะกระปริบกระปรอย (pollakiuria) และปัสสาวะขัด (dysuria) เป็นระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง การซักประวัติและการตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติเด่นชัด ตัวอย่างปัสสาวะที่รองเก็บมีลักษณะผิดปกติ พบลักษณะปัสสาวะขุ่น มีสีแดง และก้อนสิ่งแปลกปลอมปนอยู่ ผลตรวจด้วย dipstick บ่งบอกภาวะ hematuria โดยไม่พบความผิดปกติอื่น ค่าความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.030 การตรวจเซลล์วิทยาพบเม็ดเลือดแดง 50/hpf และเม็ดลือดขาว 20-30/hpf บ่งบอกถึงภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ นอกจากนี้ยังพบแบคทีเรียชนิด rod จำนวนมากทำให้ทราบว่าการติดเชื้อแบคทีเรียน่าจะเป็นสาเหตุของโรค นอกจากนี้โอกาสที่จะเกิดภาวะดื้อยาต้านจุลชีพจะค่อนข้างต่ำเพราะสุนัขไม่มีประวัติการใช้ยารวมไปถึงเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลก่อนหน้านี้ ทางสัตวแพทย์จึงเพียงแค่พูดคุยถึงโอกาสในการทำ cystocentesis และการเพาะเชื้อแต่ไม่ได้บังคับ เจ้าของสัตว์เลือกที่จะไม่ทำการเพาะเชื้อ การรักษาทำโดยการให้ amoxicillin ขนาด 20 mg/kg PO q12h เป็นเวลา 4 วัน ร่วมกับการให้ meloxicam ขนาด 0.2 mg/kg PO เพียงครั้งเดียวเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด สุนัขมีอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง การซักถามเจ้าของทางโทรศัพท์หลังจากที่สุนัขได้ยาต้านจุลชีพจนครบแล้วพบว่าสุนัขมีอาการปกติดี สุนัขกลับมาเพื่อตรวจร่างกายอีกครั้งในหกเดือนและไม่พบความผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะอีก

กรณีนี้ค่อนข้างง่ายและพบได้ทั่วไป การเพาะเชื้อเป็นวิธีการวินิจฉัยที่ดีแต่ใช้ได้เพียวินิจฉัย bacterial cystitis และมีความจำเป็นน้อยลงหากสัตว์ป่วยไม่ได้มีแนวโน้มที่จะติกเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาต้านจุลชีพ Molly เป็นตัวอย่างของสุนัขที่ป่วยด้วยโรค bacteriaL cystitis เป็นครั้งคราวและไม่มีประวัติการเข้ารักษาที่สถานพยาบาลหรือได้รับยาต้านจุลชีพในช่วงเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการเพาะเชื้อจะช่วยได้มากในกรณีที่สุนัขไม่ตอบสนองต่อการรักษา สัตวแพทย์จึงควรแนะนำถึงประโยชน์ ความคุ้มค่า และความจำเป็นในการเพาะเชื้อจากปัสสาวะเมื่อพบ bacterial cystitis ในสุนัข

กรณีที่ 3 – นิ่วสตรูไวท์

Frankie เป็นสุนัขพันธุ์ผสม เพศผู้ที่ทำหมันแล้ว อายุ 8 ปี มาด้วยอาการ pollakiuria และ stranguria ซึ่งเป็นมานานอย่างน้อย 14 วัน การตรวจร่างกายไม่พบสิ่งผิดปกติ สุนัขไม่มีประวัติการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ

J. Scott Weese

หากว่าสามารถคุมการติดเชื้อในกรณีที่ bacterial cystitis มีสาเหตุมาจากนิ่วได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านจุลชีพต่อไปอีกถ้าทำการสลายนิ่วไปพร้อมกัน

J. Scott Weese

Bacterial cystitis แบบเป็นครั้งคราวพบได้ยากในสุนัขเพศผู้ที่โตแล้ว สัตวแพทย์จึงทำการเก็บตัวอย่างปัสสาวะด้วยวิธี cystocentesis เพื่อการตรวจและเพาะเชื้อ ปัสสาวะมีค่า pH เท่ากับ 8 และความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.028 ปัสสาวะยังมีภาวะ hematuria (เม็ดเลือดแดง 100/hpf) ร่วมกับ pyuria (WBC 10/hpf) พบแบคทีเรียชนิด cocci เล็กน้อยและยังพบstruvite crystal สัตวแพทย์ได้ทำภาพรังสีวินิจฉัยเพิ่มเติมเพราะสงสัยนิ่วในกระเพาะปัสสาวะจากการที่พบตะกอนในปัสสาวะร่วมกับแบคทีเรียและค่า pH ที่สูง พบก้อนนิ่วที่มีลักษณะสอดคล้องกับนิ่วสตรูไวท์ จากนั้นสัตวแพทย์ได้ทำการพูดคุยเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษากับเจ้าของ เจ้าของขอเลือกรับการรักษาทางยาก่อน

ยาต้านจุลชีพแรกเริ่มที่เลือกใช้คือ amoxicillin ที่ขนาด 20 md/kg PO q12h เป็นระยะเวลา 7 วัน ซึ่งนานกว่าในกรณีที่ 1 เนื่องจากความซับซ้อนของการมีก้อนนิ่วที่อาจส่งผลให้เกิดการอักเสบที่ผนังกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นร่วมกับมีสภาวะภายในกระเพาะปัสสาวะที่แย่ลง เมื่อเริ่มคุมการอักเสบได้แล้วอาจไม่นำเป็นต้องให้ยาต้านจุลชีพต่อในกรณีที่กำลังสลายนิ่วไปพร้อมกัน 1

สัตวแพทย์บางคนเลือกที่จะใช้ยาต้านจุลชีพต่อในช่วงเวลาที่สลายนิ่วแต่ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงประสิทธิภาพมากเพียงพอ ในทางกลับกันการไม่ใช้ยาต้านจุลชีพในช่วงเวลาสลายนิ่วก็เป็นเช่นเดียวกัน แต่มีรายงานจากสัตวแพทย์ที่เลือกใช้วิธีหลังว่าให้ผลดีซึ่งสนับสนุนการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างพอเพียง เมื่อการอักเสบถูกควมคุมได้แล้วเท่ากับว่าไม่พบเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคอีกจึงไม่จำเป็นต้องให้นาต้านจุลชีพต่อ มีการพูดคุยถึงแบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ในก้อนนิ่วซึ่งมีโอกาสหลุดออกมาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะหลังจากที่นิ่วสลายไปแล้วแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าเชื้อที่หลุดออกมานี้จะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้

ผลการเพาะเชื้อปัสสาวะพบ Staphylococcus pseudintermedius >100,000 CFU/mL ซึ่งมีความไวต่อยา amoxicillin และอาการทางเดินปัสสาวะของสุนัขดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สุนัขได้รับอาหารสลายนิ่วและไม่พบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเมื่อตรวจด้วยภาพรังสีวินิจฉัยในอีก 8 สัปดาห์ถัดมา ในช่วงปีถัดมาไม่พบว่าสุนัขแสดงอาการโรคทางเดินปัสสาวะอีก

การใช้ศัพทวิทยาในการระบุรายละเอียดของโรคทางเดินปัสสาวะมีความสำคัญมากเพราะมีส่วนช่วยให้เข้าใจกระบวนการของโรคและสื่อสารระหว่างสัตว์แพทย์ด้วยกันหรือระหว่างสัตวแพทย์และเจ้าของได้ง่ายขึ้น การใช้ศัพทวิทยาที่ถูกต้องจะมีส่วนช่วยในการเลือกแนวทางวินิจฉัยและรักษาสุนัขที่มีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ การวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในระบบขับถ่ายปัสสาวะในอนาคตจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการเกิดพยาธิสภาพของกระเพาะปัสสาวะสุนัขได้ดีขึ้น

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำแบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ได้ที่นี่

ทำแบบทดสอบ VET-CE

แหล่งอ้างอิง

  1. Weese JS, Blondeau J, Boothe D, et al. International Society for Companion Animal Infectious Diseases (ISCAID) guidelines for the diagnosis and management of bacterial urinary tract infections in dogs and cats. Vet J in press.
  2. Westropp JL, Sykes JE, Irom S, et al. Evaluation of the efficacy and safety of high dose short duration enrofloxacin treatment regimen for uncomplicated urinary tract infections in dogs. J Vet Intern Med 2012;26:506-512.
  3. Clare S, Hartmann FA, Jooss M, et al. Short- and long-term cure rates of short-duration trimethoprim-sulfamethoxazole treatment in female dogs with uncomplicated bacterial cystitis. J Vet Intern Med 2014;28:818-826.
  4. Bubenik L, Hosgood G. Urinary tract infection in dogs with thoracolumbar intervertebral disc herniation and urinary bladder dysfunction managed by manual expression, indwelling catheterization or intermittent catheterization. Vet Surg 2008;37:791-800.
  5. Bubenik LJ, Hosgood GL, Waldron DR, et al. Frequency of urinary tract infection in catheterized dogs and comparison of bacterial culture and susceptibility testing results for catheterized and non-catheterized dogs with urinary tract infections. J Am Vet Med Assoc 2007;231:893-899.
  6. Lusby AL, Kirk CAB, Moyers TD, et al. Prevalence of asymptomatic bacterial urinary tract infections in morbidly obese dogs. ACVIM Forum 2011.
  7. Olby NJ, MacKillop E, Cerda-Gonzalez S, et al. Prevalence of urinary tract infection in dogs after surgery for thoracolumbar intervertebral disc extrusion. J Vet Intern Med 2010;24:1106-1111.
  8. Kramer H, Kuffel G, Thomas-White K, et al. Diversity of the midstream urine microbiome in adults with chronic kidney disease. Int J Urol Nephrol 2018;50:1123-1130.
  9. Siddiqui H, Nederbragt AJ, Lagesen K, et al. Assessing diversity of the female urine microbiota by high throughput sequencing of 16S rDNA amplicons. BMC microbiology 2011;11:244.
  10. Fouts DE, Pieper R, Szpakowski S, et al. Integrated next-generation sequencing of 16S rDNA and metaproteomics differentiate the healthy urine microbiome from asymptomatic bacteriuria in neuropathic bladder associated with spinal cord injury. J Transl Med 2012;10:174.
  11. Harding GKM, Zhanel GG, Nicolle LE, et al. Manitoba Diabetic Urinary Infection Study Group. Antimicrobial treatment in diabetic women with asymptomatic bacteriuria. N Engl J Med 2002;347:1576-1583.
  12. Cai T, Mazzoli S, Mondaini N, et al. The role of asymptomatic bacteriuria in young women with recurrent urinary tract infections: to treat or not to treat. Clin Infect Dis 2012;55:771-777.
  13. Leis JA, Rebick GW, Daneman N, et al. Reducing antimicrobial therapy for asymptomatic bacteriuria among non-catheterized inpatients: A proof-of-concept study. Clin Infect Dis 2014;58:980-983.
  14. Naik AD, Trautner BW. Editorial commentary: doing the right thing for asymptomatic bacteriuria: knowing less leads to doing less. Clin Infect Dis 2014;58:984-985.
  15. Nicolle LE, Bradley S, Colgan R, et al. Infectious Diseases Society of America guidelines for the diagnosis and treatment of asymptomatic bacteriuria in adults. Clin Infect Dis 2005; 40:643-654.
  16. Cai T, Nesi G, Mazzoli S, et al. Asymptomatic bacteriuria treatment is associated with a higher prevalence of antibiotic resistant strains in women with urinary tract infections. Clin Infect Dis 2015;61:1655-1661.
  17. Rafatpanah Baigi S, Vaden S, Olby NJ. The frequency and clinical implications of bacteriuria in chronically paralyzed dogs. J Vet Intern Med 2017;31:1790-1795.
  18. Wan SY, Hartmann FA, Jooss MK, et al. Prevalence and clinical outcome of subclinical bacteriuria in female dogs. J Am Vet Med Assoc 2014;245:106-112.
  19. McGhie JA, Stayt J, Hosgood GL. Prevalence of bacteriuria in dogs without clinical signs of urinary tract infection presenting for elective surgical procedures. Aust Vet J 2014 92:33-37.
  20. Peterson AL, Torres SM, Rendahl A, et al. Frequency of urinary tract infection in dogs with inflammatory skin disorders treated with ciclosporin alone or in combination with glucocorticoid therapy: a retrospective study. Vet Dermatol 2012;23:201-e43.
  21. Torres SMF, Diaz SF, Nogueira SA, et al. Frequency of urinary tract infection among dogs with pruritic disorders receiving long-term glucocorticoid treatment. J Am Vet Med Assoc 2005;227:239-243.
  22. Forrester SD, Troy GC, Dalton MN, et al. Retrospective evaluation of urinary tract infection in 42 dogs with hyperadrenocorticism or diabetes mellitus or both. J Vet Intern Med 1999;13:557-560.
  23. Koutinas AF, Heliadis N, Saridomichelakis MN, et al. Asymptomatic bacteriuria in puppies with canine parvovirus infection: a cohort study. Vet Microbiol 1998;63:109-116.
  24. Wynn SG, Witzel AL, Bartges JW, et al. Prevalence of asymptomatic urinary tract infections in morbidly obese dogs. Peer J 2016;4:e1711.
  25. Simpson AC, Schissler JR, Rosychuk RAW, et al. The frequency of urinary tract infection and subclinical bacteriuria in dogs with allergic dermatitis treated with oclacitinib: a prospective study. Vet Dermatol 2017;28:485-e113.
  26. Weese JS, Blondeau J, Boothe D, et al. Antimicrobial use guidelines for treatment of urinary tract infections in dogs and cats: antimicrobial guidelines working group of the International Society for Companion Animal Infectious Diseases. Vet Med Int 2011;4:1-9.
  27. Sorensen TM, Jensen AB, Damborg P, et al. Evaluation of different sampling methods and criteria for diagnosing canine urinary tract infection by quantitative bacterial culture. Vet J 2016;216:168-173.
  28. Gupta K, Hooton TM, Naber KG, et al. International clinical practice guidelines for the treatment of acute uncomplicated cystitis and pyelonephritis in women: A 2010 update by the Infectious Diseases Society of America and the European Society for Microbiology and Infectious Diseases. Clin Infect Dis 2011;52:e103-20.
  29. Warren JW, Abrutyn E, Hebel JR, et al. Guidelines for antimicrobial treatment of uncomplicated acute bacterial cystitis and acute pyelonephritis in women. Infectious Diseases Society of America (IDSA) 1999;29:745-758.
J. Scott Weese

J. Scott Weese

ปัจจุบัน J. Scott Weese ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ Ontario Veterinary College ในสาขาโรคติดจากสัตว์สู่คนหรือสาธารณสุขทางจุลชีววิทยาที่ University of Guelph อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 29.2 เผยแพร่แล้ว 04/10/2022

การนำนิ่วในกระเพาะปัสสาวะออกโดยรบกวนสัตว์ป่วยน้อยที่สุด

ทางเลือกในการนำนิ่วในทางเดินปัสสาวะออกโดยรบกวนผู้ป่วยน้อยที่สุดนั้นในปัจจุบันได้กลายเป็น...

โดย Marilyn Dunn

หมายเลขหัวข้อ 29.2 เผยแพร่แล้ว 04/10/2022

การจัดการกับนิ่วในทางเดินปัสสาวะและความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะในแมว

การป้องกันและการรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะในแมวนั้นต้องอาศัยการจัดการในหลายปัจจัย

โดย Cecilia Villaverde

หมายเลขหัวข้อ 29.2 เผยแพร่แล้ว 01/08/2021

การตรวจคัดกรองเบื้องต้นสำหรับภาวะปัสสาวะมีเลือดปนระยะแรกเริ่มในแมว

การตรวจคัดกรองภาวะปัสสาวะมีเลือดปน (hematuria) ในแมวสามารถทำได้โดยการเติม...

โดย Elodie Khenifar

หมายเลขหัวข้อ 29.2 เผยแพร่แล้ว 01/07/2021

การจัดการภาวะปัสสาวะกะปริบกะปรอยในสุนัข

ภาวะปัสสาวะกะปริบกะปรอยเป็นอาการแสดงที่สัตวแพทย์สัตว์เล็กพบได้บ่อย...

โดย Rafael Nickel