วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 30.1 Other Scientific

ภาวะ Proteinuria ที่เกิดจาก Hypertrigly-ceridemia ในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer

เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

เขียนโดย Eva Furrow

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Português , Română , Español และ English

ภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกัน บทความนี้จะมาสรุปถึงวิธีการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโดย Dr. Eva Furrow (แปลโดน น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

Hypertriglyceridemia-associated proteinuria in Miniature Schnauzers

ประเด็นสำคัญ

ภาวะ Hypertriglyceridemia แบบปฐมภูมิเกิดได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer ส่งผลให้เกิด proteinuria, glomerular lipid thromboemboli และพยาธิสภาพอื่นๆ ต่อ glomerulus


สุนัขที่มี hypertriglyceridemia ไม่จำเป็นจะต้องตรวจเจอ azotemia หรือ hypoalbuminemia หากตรวจพบมักจะมีสาเหตุมาจากอย่างอื่น


Hyperadrenocorticism เป็นหนึ่งในโรคที่วินิจฉัยแยกแยะเมื่อพบ hypertriglyceridemia และ hypoalbuminemia


การรักษาประกอบด้วยการให้อาหารไขมันต่ำ หรืออาจให้ยาลดไขมันร่วมด้วย ส่วนภาวะ proteinuria สามารถควบคุมด้วยการให้ยาที่ยับยั้ง renin-angiotensin-aldosterone system


บทนำ

Hypertriglyceridemia แบบปฐมภูมิ หรือ familial idiopathic hypertriglyceridemia เป็นโรคที่เกิดได้บ่อยแต่ไม่ค่อยตรวจพบในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzers โดยมีอุบัติการณ์เกิดโรคสัมพันธ์กับอายุของสุนัข สุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 3 ปีจะอยู่ที่ 15% และสุนัขที่อายุมากกว่า 9 ปีจะมีโอกาสพบถึง 75% 1 ภาวะ hypertriglyceridemia จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดตับอ่อนอักเสบ, gallbladder mucocele และค่าเอนไซม์ตับที่สูงขึ้น 234 เมื่อไม่นานมานี้พบว่าภาวะ hypertriglyceridemia มีส่วนเกี่ยวข้องกับ proteinuria และพยาธิสภาพของ glomerulus ใน Miniature Schnauzer ด้วย 567

Miniature Schnauzers ที่มีภาวะ hypertriglyceridemia แบบปฐมภูมิ ประมาน 50% มีภาวะ proteinuria ซึ่งในสายพันธุ์นี้มีค่า fasting serum triglycerides สัมพันธ์กับ UPC ratio อย่างมาก 56 นอกจากนี้การตรวจชิ้นเนื้อไตของสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzers ที่มีภาวะ proteinuria ร่วมกับ hypertriglyceridemia พบว่ามี lipid thromboemboli (รูปที่ 1a,1b,1c,1d ) 7 จากรอยโรคที่พบสามารถบอกได้ว่า ภาวะ hypertriglyceridemia น่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดความผิดปกติใน glomerulus มากกว่าที่ความผิดปกติของ glomerulus ทำให้เกิดhypertriglyceridemia ในอันดับต่อไปจะกล่าวถึงลักษณะ ผลที่ตามมา การตรวจวินิจฉัย และการรักษา

"Glomerular lipid thromboemboli in a 10-year-old male neutered Miniature Schnauzer with primary hypertriglyceridemia and subclinical proteinuria. The lipid thromboemboli are visualized as intracapillary non-staining circular structures; hematoxylin and eosin. Image was captured at 40x magnification."

รูป 1a Glomerular lipid thromboemboli ในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer เพศผู้ ทำหมันแล้ว อายุ 10 ปี มีภาวะ hypertriglyceridemia แบบปฐมภูมิ และ proteinuria แบบไม่แสดงอาการ lipid thromboemboli จะมีลักษณะกลม ย้อมไม่ติดสี อยู่ในเส้นเลือดฝอย ภาพนี้ย้อมด้วยสี hematoxylin , eosin กำลังขยาย 40 เท่า
© Rachel Cianciolo, VMD, PhD, DACVP and the International Veterinary Renal Pathology Service

"Glomerular lipid thromboemboli in a 10-year-old male neutered Miniature Schnauzer with primary hypertriglyceridemia and subclinical proteinuria. The lipid thromboemboli are visualized as intracapillary non-staining circular structures; periodic acid-Schiff. Image was captured at 40x magnification."

รูป 1b Glomerular lipid thromboemboli ในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer เพศผู้ ทำหมันแล้ว อายุ 10 ปี มีภาวะ hypertriglyceridemia แบบปฐมภูมิ และ proteinuria แบบไม่แสดงอาการ lipid thromboemboli จะมีลักษณะกลม ย้อมไม่ติดสี อยู่ในเส้นเลือดฝอย ภาพนี้ย้อมด้วยสี periodic acid - Schiff กำลังขยาย 40 เท่า
© Rachel Cianciolo, VMD, PhD, DACVP and the International Veterinary Renal Pathology Service

"Glomerular lipid thromboemboli in a 10-year-old male neutered Miniature Schnauzer with primary hypertriglyceridemia and subclinical proteinuria. The lipid thromboemboli are visualized as intracapillary non-staining circular structures; Masson’s trichrome. Image was captured at 40x magnification."

รูป 1c Glomerular lipid thromboemboli ในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer เพศผู้ ทำหมันแล้ว อายุ 10 ปี มีภาวะ hypertriglyceridemia แบบปฐมภูมิ และ proteinuria แบบไม่แสดงอาการ lipid thromboemboli จะมีลักษณะกลม ย้อมไม่ติดสี อยู่ในเส้นเลือดฝอย ภาพนี้ย้อมด้วยสี Masson’s trichrome กำลังขยาย 40 เท่า
© Rachel Cianciolo, VMD, PhD, DACVP and the International Veterinary Renal Pathology Service

"Glomerular lipid thromboemboli in a 10-year-old male neutered Miniature Schnauzer with primary hypertriglyceridemia and subclinical proteinuria. The lipid thromboemboli are visualized as intracapillary non-staining circular structures; Jones’s methenamine silver. Image was captured at 40x magnification."

รูป 1d Glomerular lipid thromboemboli ในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer เพศผู้ ทำหมันแล้ว อายุ 10 ปี มีภาวะ hypertriglyceridemia แบบปฐมภูมิ และ proteinuria แบบไม่แสดงอาการ lipid thromboemboli จะมีลักษณะกลม ย้อมไม่ติดสี อยู่ในเส้นเลือดฝอย ภาพนี้ย้อมด้วยสี Jones’s methenamine silver กำลังขยาย 40 เท่า © Rachel Cianciolo, VMD, PhD, DACVP and the International Veterinary Renal Pathology Service

ลักษณะพยาธิสภาพทางคลินิก

การแสดงออกทางคลินิกในกรณีของภาวะ proteinuria จาก hypertriglyceridemia อยู่ในตารางที่ 1 ดังที่ได้กล่าวมาตอนต้นว่าภาวะนี้พบได้มากในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer ที่โตแล้วจนสูงวัย 5 ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างประชากรเพศผู้และเพศเมีย หากไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน สุนัขจะไม่แสดงอาการเจ็บป่วย 56 อาจพบไขมันสะสมบริเวณดวงตาได้จากภาวะ hypertriglyceridemia 8 การวินิจฉัยว่าสุนัขมีภาวะ proteinuria จาก hypertriglyceridemia มักเกิดจากความบังเอิญเมื่อทำการตรวจปัสสาวะในการตรวจร่างกายประจำปีหรือตรวจรักษาโรคอื่นๆ

สิ่งที่เข้าข่าย สิ่งที่ไม่เข้าข่าย
การตรวจปัสสาวะ
  • ความถ่วงจำเพาะหลากหลาย
  • Inactive sediment
  • พบ proteinuria จาก Dipstick test*
  • ความถ่วงจำเพาะเท่าเดิมตลอด
  • Hematuria, pyuria
UPC
  • สัมพ้นธ์กับภาวะ hypertriglyceridemia:

- Fasting triglyceride concentrations อยู่ที่ 100-400 mg/dL (1.1-4.5 mmol/L) จะพบภาวะ mild proteinuria และ UPC < 2

- Fasting triglyceride concentrations > 400 mg/dL (> 4.5 mmol/L) จะพบภาวะ proteinuria และ UPC > 2
  • มีค่า UPC สูงขึ้น โดยไม่พบภาวะ hypertriglyceridemia หรือไม่เป็นไปตามความสัมพันธ์ทางด้านซ้ายมือ เช่นพบ UPC > 2 โดยที่ fasting triglyceride concentration < 200 mg/dL หรือ < 5.2 mmol/L)
Serum chemistry
  • ระดับ albumin อยู่ในเกณฑ์ปกติ (มัธยฐาน 3.6 g/dL, 54 μmol/L)
  • ระดับ creatinine อยู่ในเกณฑ์ปกติ (มัธยฐาน 0.7 mg/dL, 61 μmol/L)
  • มีภาวะ hypercholesterolemia ระดับปานกลางถึงรุนแรง (> 400 mg/dL, > 4.5 mmol/L)
  • ระดับ enzyme alkaline phosphatase และ enzyme ตับตัวอื่นสูงขึ้น
  • Hypoalbuminemia
  • Azotemia
  • Hypercholesterolemia โดยไม่พบ hypertriglyceridemia
  • Hyperbilirubinemia
  • ค่า alanine aminotransferase > alkaline phosphatase
Complete blood count
  • พบลักษณะ mild thrombocytosis ซึ่งเกิดได้ทั่วไปในสุนัข Miniature Schnauzer สูงวัย
  • Anemia
  • Thrombocytopenia
  • Inflammatory leukogram
ตาราง 1 ลักษณะพยาธิวิทยาทางคลินิกที่ตรวจพบในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer ที่มีภาวะ proteinuria จาก hypertriglyceridemia

*ผล proteinuria จาก Dipstick test มีความน่าเชื่อถือต่ำ ถึงแม้ผลตรวจจะออกมาว่าเป็น trace proteinuria แต่หากเป็นปัสสาวะที่เจือจาง อาจหมายถึงภาวะที่อันตรายได้ (10)

 

 

 

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่พบได้ในภาวะ proteinuria จาก hypertriglyceridemia สามารถดูได้จาก ตาราง 1 ความรุนแรงของภาวะ proteinuria จะขึ้นอยู่ค่า fasting serum triglyceride 56 พบว่าสุนัข Miniature Schnauzer ที่มีภาวะ mild hypertriglyceridemia (100-400 mg/dL, 1.1-4.5 mmol/L) ประมาน 25-41% จะมี proteinuria ที่มี UPC < 2 โดยมาก ในขณะที่สุนัขที่มีภาวะ moderate หรือ severe hypertriglyceridemia (> 400 mg/dL, > 4.5 mmol/L) ประมาณ 85-88% จะมี proteinuria ที่มี UPC > 2 และอาจมากกว่า 5 ได้ ค่าความถ่วงจำเพาะจะพบได้หลากหลาย เหมือนกับสุนัขพันธุ์เดียวกัน อายุเท่ากัน ที่ไม่ได้มีภาวะ proteinuria จาก hypertriglyceridemia ตะกอนของปัสสาวะที่ตรวจจะเป็น inactive urine sediment

ภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia จะไม่เกี่ยวข้องกับ hypoalbuminemia และ azotemia 6 ค่าปกติของ serum creatinine ในสุนัข Miniature Schnauzer จะ < 1.0 mg/dL, 88 μmol/L 69

โอกาสพบ hypercholesterolemia ในสุนัขที่มีภาวะ mild hypertriglyceridemia พบได้ยากกว่าสุนัขที่มีภาวะ moderate ถึง severe hypertriglyceridemia โดยพบใน 40% ของสุนัขที่มีค่า serum triglyceride > 400 mg/dL , > 4.5 mmol/L 1 นอกจากนี้สุนัขที่มีภาวะ moderate ถึง severe hypertriglyceridemia ประมาณ 60% ยังพบค่า enzyme ตับที่สูงขึ้น ได้แก่ alkaline phosphatase และ enzyme ตัวอื่นอีกอย่างน้อย 1 ชนิด 4 น่าจะมีสาเหตุจากการที่มีไขมันมาสะสมที่ตับ ค่าเม็ดเลือดต่างๆไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่อาจพบ mild thrombocytosis (ค่า platelet count อยู่ที่ 400-500 x 103/μL) ซึ่งเป็นปกติในสุนัข Miniature Schnauzer สูงอายุ 6

การตรวจวินิจฉัย

รูป 2 ลักษณะตัวอย่างเลือดที่มีภาวะ lipemia สามารถใช้เป็นตัวบอกถึงภาวะ hypertriglyceridemia ได้ lipemia ที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่าจะมีค่า triglyceride อย่างน้อย 200 mg/dL © Eva Furrow

การตรวจพบ hypertriglyceridemia และ proteinuria ใน Miniature Schnauzer คือกระบวนการสำคัญในการวินิจฉัย ภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia แต่ในขณะเดียวกัน สัตวแพทย์ยังต้องวินิจฉัยแยกแยะความผิดปกติอื่นออกไปด้วย ขั้นตอนในการวินิจฉัยอย่างง่ายอยู่ใน (ตาราง 2) ค่า serum chemistry (รูป2) และการตรวจปัสสาวะคือกุญแจสำคัญในการตัดสาเหตุของ proteinuria จาก post-renal และ pre-renal ทั้งยังบ่งชี้ถึงความผิดปกติอื่นๆ เช่น hypoalbuminemia azotemia ที่แสดงถึงความเสียหายรุนแรงของ glomerulus 1112 ประวัติการรักษาด้วยยากลุ่ม corticosteroids หรือ phenobarbital รวมถึงโรคอื่นๆที่ ส่งผลให้เกิดภาวะ hyperlipidemia ได้ 13 รวมถึงโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน hyperadrenocorticism และ hypothyroidism มีผลให้เกิดภาวะ proteinuria ได้เช่นกัน 141516

ขั้นตอนที่ 1 ประเมินภาวะ Pre-renal , Post-renal proteinuria (11) 

  • Hyperglobulinemia – หากพบ Hyperglobulinemia ให้พิจารณาใช้วิธี serum หรือ urine protein electrophoresis เพื่อหา neoplastic gammopathy
  • Pyuria and/or bacteriuria – · หากพบ pyuria และ/หรือ bacteriuria ให้ทำการเพาะเชื้อเพื่อตัดสาเหตุจากการติดเชื้อ
  • Hematuria – หากพบ hematuria ให้พิจารณาวิธีภาพวินิจฉัยของระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อตัดสาเหตุจากนิ่วและเนื้องอก และอาจจะต้องทำการเพาะเชื้อด้วย

ขั้นตอนที่ 2 ประเมินหาสาเหตุอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคที่อันตรายกับไต (12)

  • ภาวะ hypoalbuminemia, renal azotemia และการสูญเสียความสามารถในการทำให้ปัสสาวะเข้มข้น ไม่ค่อยเกี่ยวเนื่องกับภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia ควรทำการวินิจฉัยเพิ่มเติม

ขั้นตอนที่ 3 ประเมินหาสาเหตุอื่นที่เกี่ยวข้องกับ hyperlipidemia (17)

  • สุนัขอาจอดอาหารไม่นานพอก่อนเจาะเลือดตรวจ
  • เบาหวาน
  • Hyperadrenocorticism*
  • Hypothyroidism
  • โรคอ้วน
  • ได้รับยากลุ่ม corticosteroids หรือ phenobarbital
ตารางที่ 2 แสดงถึงขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัยภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia ในสุนัข Miniature Schnauzer

*Note: *สุนัขที่มีภาวะ hyperadrenocorticism และ hypertriglyceridemia แบบปฐมภูมิ สามารถพบความผิดปกติจากการตรวจวินิจฉัยได้คล้ายกัน เช่น lipidemia, ค่า alkaline phosphatase และ enzyme ตับตัวอื่นสูงขึ้น รวมถึง proteinuria การซักประวัติอย่างละเอียดจะช่วยวินิจฉัยแยกแยะได้

ภาวะ Hyperadrenocorticism หรือ Cushing จะวินิจฉัยแยกแยะได้ยากจาก hypertriglyceridemia แบบปฐมภูมิ เพราะมีค่าเอนไซม์ตับที่สูงคล้ายกัน หากตรวจร่างกายพบลักษณะที่จำเพาะต่อ Cushing เช่น alopecia hyperpigmentation ท้องหย่อนยาน กินอาหาร/น้ำมาก และ ปัสสาวะมาก ให้พิจารณาทำ low dose dexamethasone suppression test เพื่อยืนยันภาวะ hyperadrenocorticism 17 หากว่าการตรวจร่างกายไม่พบลักษณะที่บ่งชี้ถึง Cushing สามารถใช้ urine cortisol-to-creatinine ratio เพื่อตัดข้อสงสัยได้ ภาวะ mild hypertriglyceridemia ยังสามารถพบได้ในสุนัขที่เป็นโรคอ้วน ตับอ่อนอักเสบ และท่อน้ำดีอุดตัน 13 18

ท้ายที่สุดแล้วการวินิจฉัยภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia คือการวินิจฉัยแบบตัดสาเหตุอื่นออกไป ในขั้นตอนสุดท้ายคือการทำ renal biopsy เพื่อนำชิ้นเนื้อไตไปย้อมสีด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ (รูป 1a 1b 1c 1d) 7 หากพบลักษณะของ glomerular lipid thromboemboli จะบ่งชี้ถึงความเสียหายที่เกิดจากไขมัน อาจพบร่วมกับ segmental glomerulosclerosis หรือไม่ก็ได้ หากส่องตรวจแล้วไม่พบการสะสมของไขมัน หรือมีรอยโรคชนิดอื่นปรากฏร่วมกัน สามารถอนุมานได้ว่าภาวะ proteinuria มีสาเหตุมาจากอย่างอื่น สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือ 1 ใน 5 ของสุนัข Miniature Schnauzer ที่ผ่านการ renal biopsy พบว่ามีภาวะ immune-complex mediated glomerulonephritis 7 ซึ่งตอบสนองได้ดีต่อการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน 19 การตัดสินใจทำ renal biopsy ในสุนัขที่สงสัยภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia ควรระวังโรคอื่นที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ เช่น severe hemorrhage 20

การรักษา

Eva Furrow

การตรวจพบ proteinuria และ hypertriglyceridemia ในสุนัข miniature schnauzer ไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัยภาวะ hypertriglyceridemia-associated proteinuria หากไม่ตัดสาเหตุอื่นๆ ออกก่อน

Eva Furrow

It may be prudent to perform a blood pressure measurement in any Miniature Schnauzer that is diagnosed with renal proteinuria; antihypertensive therapy should be prescribed for all dogs with persistent hypertension."

รูป 3 การตรวจวัดความดันในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer ที่วินิจฉัยว่ามีภาวะ renal proteinuria จะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาให้ยาลดความดัน © E McNeill/D Bernie/M Edis

การรักษาภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia ในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer ไม่ได้มีการค้นคว้าถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด แต่การจัดการกับภาวะ hypertriglyceridemia จากข้อมูลในคนและสัตว์ฟันแทะจะมีความสำคัญมาก เริ่มโดยการให้อาหารที่จำกัดปริมาณไขมัน (ไขมันน้อยกว่า 25 กรัม ต่อพลังงาน 1,000 Kcal) 13 การจำกัดปริมาณโปรตีนในสุนัขที่มี ภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าจะช่วยได้หรือไม่ 21 หลังจากได้ให้อาหารไขมันต่ำไปแล้ว 2 เดือนหากทำการเจาะเลือดแล้วยังพบค่า fasting serum triglyceride ยังคงสูงอยู่ ให้เริ่มยากลุ่ม fibrate เพื่อช่วยลดอันตรายของความเสี่ยงการเกิด proteinuria และ ตับอ่อนอักเสบ 256 จากการที่ระดับ serum triglyceride > 400 mg/dL (> 4.5mmol/L) ยา Bezafibrate มีประสิทธิภาพดีในการลดระดับของ triglyceride ในกระแสเลือดสุนัขให้กลับมาอยู่ในระดับปกติได้ใน 30 วัน 22 ขนาดที่แนะนำคือ 50 mg ทุก 24 ชั่วโมง โดยการกิน

สำหรับสุนัขหนักน้อยกว่า 12 kg, 100 mg สำหรับสุนัข หนัก 12.5-25 kg และ 200 mg สำหรับสุนัขหนักมากกว่า 25 kg Bezafibrate อยู่ในรูปแบบของยาเม็ดที่ค่อยๆปล่อยตัวยาออกมา และผลิตมาในขนาด 200 mg ถึงแม้จะต้องแบ่งยาสำหรับสุนัขหนักน้อยกว่า 25 kg ก็ยังให้ผลที่ดีในการลด triglyceride สามารถใช้ยา fenofibrate ที่ขนาด 2-4 mg/kg ทุก 24 ชั่วโมง 23 หรือ clinofibrate ขนาด 10 mg/kg ทุก 12 ชั่วโมงแทนได้ 24 ผลข้างเคียงที่เด่นชัดของยากลุ่มนี้ในคนคือ myopathy และ hepatotoxicity แต่ยังไม่พบในสุนัขที่ได้รับยาตามขนาดที่กล่าวไว้ด้านบน มีการเสนอแนะให้เสริมกรดไขมัน omega-3 และ niacin เพื่อช่วยรักษา hyperlipidemia แต่ยังไม่มีการทดสอบทางประสิทธิภาพที่ชัดเจนเพียงพอ 13

การรักษาภาวะ proteinuria ด้วยยาที่ขัดขวาง renin-angiotensin-aldosterone system สามารถทำได้ในรายที่ค่า UPC ratio > 0.5 อย่างต่อเนื่อง 21 โดยยาที่ใช้อาจเป็นกลุ่มที่ขัดขวาง angiotensin converting enzyme อย่าง enalapril, benazepril ที่ขนาด 0.5 mg/kg ทุก 24 ชั่วโมงหรือกลุ่ม angiotensin receptor blocker เช่น telmisartan ขนาด 1 mg/kg วันละครั้ง หลังเริ่มยาไปแล้ว 1-2 สัปดาห์ 21 ควรทำการตรวจค่า UPC, serum creatinine, serum potassium และ ความดันโลหิตซ้ำอีกครั้ง ยากลุ่ม antithrombotic agent มีการใช้กันแพร่หลายในกรณีของสุนัขที่มีภาวะ proteinuric glomerular disease 6 แต่จากการประเมินสุนัข Miniature Schnauzer ที่มีภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia ยังไม่พบการเกิดการอุดตันจากลิ่มเลือดแต่อย่างไรเนื่องจากมีตัวอย่างน้อย สัตวแพทย์จึงต้องใช้วิจารณญาณในการใช้ยา antithrombic agent ยาลดความดันควรเลือกใช้เมื่อสุนัขมีความดัน > 150 mmHg ต่อเนื่อง (รูปที่ 3) 21 อย่างไรเนื่องจากมีตัวอย่างน้อย สัตวแพทย์จึงต้องใช้วิจารณญาณในการใช้ยา antithrombic agent ยาลดความดันควรเลือกใช้เมื่อสุนัขมีความดัน > 150 mmHg ต่อเนื่อง (รูปที่ 3) 21

พยากรณ์โรค

โดยทั่วไปจัดว่าดี กรณีศึกษาตามยาวนี้เป็นการติดตามสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer ที่มีภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia โดยมีสุนัขตัวอย่างเพียง 8 ตัว เป็นเวลาเฉลี่ย 18 เดือน 6 โดยในขณะที่เฝ้าสังเกตไม่พบอาการที่แย่ลงของโรคไตหรือการเสียชีวิตจาก ภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia นอกจากนี้ยังไม่พบความเสียหายต่อหัวใจหรือเกิดภาวะ hypercoagulopathy จากการตรวจการทำงานของ antithrombin 3 6

กล่าวโดยสรุป Hypertriglyceridemia แบบปฐมภูมิมีโอกาสเกิดง่ายในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer ที่โตเต็มวัยจนถึงชรา และพบร่วมกับ glomerular–range proteinuria มีหลักฐานว่าภาวะ proteinuria เกิดจากความเสียหายต่อไตโดยไขมัน พบรอยโรค lipid emboli จากการตรวจชื้นเนื้อไตที่ได้จากสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer ที่มีภาวะ proteinuria และ hypertriglyceridemia ภาวะนี้มักไม่แสดงอาการทางคลินิก หรือพบความผิดปกติรุนแรงของไต เช่น hypoalbuminemia, azotemia และลิ่มเลือดอุดตัน เมื่อตรวจพบภาวะ proteinuria และ hypertriglyceridemia พร้อมกันในสุนัขสายพันธุ์นี้ สัตวแพทย์จำเป็นต้องตัดสาเหตุอื่นเช่น hyperadrenocorticism ให้ได้ก่อนที่จะสรุปว่าเป็น ภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia การรักษาประกอบไปด้วยการจัดการภาวะ hypertriglyceridemia ด้วยอาหาร และอาจเพิ่มยากลุ่ม fibrate การยับยั้ง renin-angiotensin-aldosterone system เพื่อลดภาวะ proteinuria จากข้อมูลที่มีจำกัดพบว่าการพยากรณ์โรคค่อนข้างดีเยี่ยม แต่ถ้าตรวจพบ ภาวะ hypoalbuminemia, azotemia และ isosthenuria อย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องหาสาเหตุอื่นที่ซ่อนอยู่


พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำแบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE Credit ได้ที่นี่

ทำแบบทดสอบ VET-CE

แหล่งอ้างอิง

  1. Xenoulis PG, Suchodolski JS, Levinski MD, et al. Investigation of hypertriglyceridemia in healthy Miniature Schnauzers. J Vet Intern Med 2007;21:1224-1230.

  2. Xenoulis PG, Levinski JS, Suchodolski JS, et al. Serum triglyceride concentrations in Miniature Schnauzers with and without a history of probable pancreatitis. J Vet Intern Med 2011;25:20-25.
  3. Kutsunai M, Kanemoto H, Fukushima K, et al. The association between gallbladder mucoceles and hyperlipidemia in dogs: a retrospective case control study. Vet J 2014; 199:76-79.
  4. Xenoulis PG, Suchodolski JS, Levinski MD, et al. Serum liver enzyme activities in healthy Miniature Schnauzers with and without hypertriglyceridemia. J Am Vet Med Assoc 2008;232:63-67. 
  5. Furrow E, Jaeger JQ, Parker VJ, et al. Proteinuria and lipoprotein lipase activity in Miniature Schnauzer dogs with and without hypertriglyceridemia. Vet J 2016;212:83-89.
  6. Smith RE, Granick JL, Stauthammer CD, et al. Clinical consequences of hypertriglyceridemia-associated proteinuria in Miniature Schnauzers. J Vet Intern Med 2017;31:1740-1748.
  7. Furrow E, Lees GE, Brown CA, et al. Glomerular lesions in proteinuric Miniature Schnauzer dogs. Vet Pathol 2017;54:484-489.
  8. Crispin SM. Ocular manifestations of hyperlipoproteinaemia. J Small Anim Pract 1993;34:500-506.
  9. Chang Y-M, Hadox E, Szladovits B, et al. Serum biochemical phenotypes in the domestic dog. PLoS ONE 2016;11:e0149650.
  10. Zatelli A, Paltrinieri S, Nizi F, et al. Evaluation of a urine dipstick test for confirmation or exclusion of proteinuria in dogs. Am J Vet Res 2010;71:235-240.
  11. Lees GE, Brown SA, Elliott J, et al. Assessment and management of proteinuria in dogs and cats: 2004 ACVIM forum consensus statement (small animal). J Vet Intern Med 2005;19:377-385.
  12. IRIS Canine GN Study Group Diagnosis Subgroup; Littman MP, Daminet S, Grauer GF, et al. Consensus recommendations for the diagnostic investigation of dogs with suspected glomerular disease. J Vet Intern Med 2013;27:S19-S26.
  13. Xenoulis PG, Steiner JM. Lipid metabolism and hyperlipidemia in dogs. Vet J 2010;183:12-21. 
  14. Herring IP, Panciera DL, Werre SR. Longitudinal prevalence of hypertension, proteinuria, and retinopathy in dogs with spontaneous diabetes mellitus. J Vet Intern Med 2014;28:488-495.
  15. Smets PMY, Lefebvre HP, Kooistra HS, et al. Hypercortisolism affects glomerular and tubular function in dogs. Vet J 2012;192:532-534.
  16. Gommeren K, van Hoek I, Lefebvre HP, et al. Effect of thyroxine supplementation on glomerular filtration rate in hypothyroid dogs. J Vet Intern Med 2009;23:844-849.
  17. Behrend EN, Kooistra HS, Nelson R, et al. Diagnosis of spontaneous canine hyperadrenocorticism: 2012 ACVIM consensus statement (small animal). J Vet Intern Med 2013;27:1292-1304. 
  18. Tvarijonaviciute A, Barić-Rafaj R, Horvatic A, et al. Identification of changes in serum analytes and possible metabolic pathways associated with canine obesity-related metabolic dysfunction. Vet J 2019;244:51-59.
  19. IRIS Canine GN Study Group Established Pathology Subgroup; Segev G, Cowgill LD, Heiene R, et al. Consensus recommendations for immunosuppressive treatment of dogs with glomerular disease based on established pathology. J Vet Intern Med 2013;27 Suppl 1:S44-54. 
  20. Vaden SL, Levine JF, Lees GE, et al. Renal biopsy: a retrospective study of methods and complications in 283 dogs and 65 cats. J Vet Intern Med 2005;19:794-801.
  21. IRIS Canine GN Study Group Standard Therapy Subgroup, Brown S, Elliott J, Francey T, et al. Consensus recommendations for standard therapy of glomerular disease in dogs. J Vet Intern Med 2013;27 Suppl 1:S27-43.
  22. de Marco V, Noronha KSM, Casado TC, et al. Therapy of canine hyperlipidemia with bezafibrate. J Vet Intern Med 2017;31:717-722.
  23. Kuehn NF. North American Companion Animal Formulary, 12th edition. North American Compendiums Inc. 2018
  24. Sato Y, Arai N, Yasuda H, et al. Clinofibrate improved canine lipid metabolism in some but not all breeds. J Vet Med Sci 2018;80:945-949. 
Eva Furrow

Eva Furrow

Dr. Furrow qualified from the University of Pennsylvania and after completion of a small animal internship at the same establishment she moved to the Midwest อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 30.1 เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

ภาวะ proteinuria ที่มีสาเหตุจากโรคไตในแมว

ภาวะ proteinuria พบได้บ่อยในการตรวจปัสสาวะ (urinalysis) และมีความสำคัญทางคลินิกแต่...

โดย Stacie C. Summers

หมายเลขหัวข้อ 30.1 เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

การตรวจคัดกรองภาวะไตวายเรื้อรังในแมวระยะเริ่มต้น

โรคไตเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยในการป่วยและการตายของแมวสูงอายุ...

โดย Jonathan Elliott และ Hannah J. Sargent

หมายเลขหัวข้อ 30.1 เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

การจำกัดปริมาณโปรตีนในแมวที่มีภาวะ ไตวายเรื้อรัง (CKD)

การจำกัดปริมาณโปรตีนในอาหารสำหรับแมวที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง...

โดย Nick Cave และ Meredith J. Wall

หมายเลขหัวข้อ 30.1 เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

การตรวจภาพวินิจฉัยไตในแมวเพื่อการคัดกรองเบื้องต้น

อัลตราซาวด์เป็นเครื่องมือที่สถานพยาบาลสัตว์ต่างๆ มีใช้มากขึ้นในปัจจุบัน...

โดย Gregory Lisciandro