วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 30.1 โรคและความผิดปกติในไต

ภาวะ proteinuria ที่มีสาเหตุจากโรคไตในแมว

เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

เขียนโดย Stacie C. Summers

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Português , Română , Español , English และ 한국어

ภาวะ proteinuria พบได้บ่อยในการตรวจปัสสาวะ (urinalysis) และมีความสำคัญทางคลินิกแต่มักไม่ได้ถูกเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง Stacie Summers ได้อธิบายถึงความสำคัญของ proteinuria และวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการภาวะ proteinuria ในแมว (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

Feline renal proteinuria

ประเด็นสำคัญ

ภาวะ proteinuria เกี่ยวข้องกับการเกิด azotemia ในแมวสูงอายุและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออัตราการอยู่รอดของแมวที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง


ภาวะ proteinuria ที่มีสาเหตุมาจากโรคไตมักเกิดจากโรคไตวายเรื้องรังในระยะเริ่มต้น


Immune-complex glomerulonephritis พบได้ในแมว การวินิจฉัยทำโดยการตัดชิ้นเนื้อไตไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่านและสีย้อม immunofluorescence


การจัดการภาวะ proteinuria ขึ้นกับสาเหตุโน้มนำ อาจต้องใช้ยาหลายชนิด อาหารที่จำกัดปริมาณโปรตีน หรือยากดภูมิคุ้มกันในบางราย


บทนำ

กระบวนการเกิดของภาวะ proteinuria ในแมวมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่นความผิดปกติแบบ pre-renal post-renal หรือจากไตโดยตรง (renal) นอกจากนี้ยังเกิดจากการทำงานของไตที่เปลี่ยนไป (functional proteinuria) ภาวะ proteinuria เป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้กับทั้งสัตวแพทย์และเจ้าของสัตว์เพราะมีความเกี่ยวข้องกับภาวะ azotemia ในแมวสูงอายุ ทั้งยังเป็นปัจจัยชี้วัดความอยู่รอดของแมวที่มีภาวะไตวายเรื้อรังอีกด้วย 1 2 ภาวะ proteinuria มีนิยามคือปริมาณโปรตีนที่สูงกว่าค่าปกติในปัสสาวะซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติของ renal tubule renal glomeruli และ/หรือ renal interstitial space จากการที่ภาวะนี้ส่งผลลบต่อแมวจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สัตวแพทย์จะต้องวินิจฉัยและรักษาอาการนี้ด้วยการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน ในบทความนี้จะนำเสนอข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับความเข้าใจในกระบวนการเกิดโรคของภาวะ proteinuria ในแมว แนวทางการตรวจวินิจฉัย และการจัดการในปัจจุบัน

การบันทึกเวชระเบียนภาวะ proteinuria

การวินิจฉัยยืนยันภาวะ proteinuria เรื้อรังควรใช้ตัวอย่างปัสสาวะสองตัวอย่างซึ่งเก็บคนละช่วงเวลาเพื่อความแม่นยำ สิ่งสำคัญคือปัสสาวะต้องมีลักษณะของ inactive urine sediment และสัตว์ป่วยต้องมีอาการคงที่ บางกรณีอาจตรวจพบ proteinuria พร้อมกับอาการที่แสดงออกถึงภาวะ hypoalbuminemia เช่น peripheral edema และ effusion หลังจากที่ทำการยืนยันภาวะ proteinuria ด้วย urine dipstick หรือ sulfosalicylic turbidimetric test แล้ว จึงทำการหาความรุนแรงของภาวะ proteinuria ด้วยการใช้ UPC ratio ซึ่งเป็นการทดสอบเชิงปริมาณ เกณฑ์ของ IRIS จะแบ่งผลของ UPC ratio ในแมวออกเป็น 3 กลุ่มคือ non-proteinuria (UPC < 0.2) borderline proteinuric (UPC 0.2-0.4) หรือ proteinuric (UPC > 0.4) โดยในอุดมคติแล้วควรจะตรวจหาจากตัวอย่างปัสสาวะสองชุดขึ้นไป 3 แมวที่มีภาวะ proteinuria เรื้อรัง (UPC >0.4) ทุกตัวควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะ proteinuria

หลังจากประเมินความรุนแรงของภาวะ proteinuria แล้ว สัตวแพทย์ต้องทำการหาสาเหตุว่ามาจาก pre-renal renal post renal หรือ fucntional proteinuria (Table 1) Pre-renal proteinuria เกิดเมื่อมีปริมาณโปรตีนขนาดเล็กในกระแสเลือดสูงเกินกว่าที่หน่วยไตจะดูดกลับเข้ามาใน renal tubule ได้ post-renal proteinuria เกิดเมื่อมีความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่ ureter bladder urethra หรือทางเดินระบบสืบพันธุ์ส่งผลให้โปรตีนจากใน plasma หลุดเข้ามาในปัสสาวะ functional proteinuria เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของไต ที่พบได้มากสุดในแมวคือภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดจากสาเหตุอื่นหรือไม่มีสาเหตุในแมวสูงอายุ 4

 

ตาราง 1 การจำแนกและสาเหตุของ proteinuria รวมถึงการทดสอบเพื่อวินิจฉัย proteinuria ที่ต้องพิจารณาในการประเมินแมวที่มีภาวะ proteinuria
FeLV = Feline Leukemia Virus; FIV = Feline Immunodeficiency Virus; FIP = Feline Infectious Peritonitis; ICGN = Immune-complex glomerulonephritis; IRIS; International Renal Interest Society 
สาเหตุ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Pre-renal Proteinuria
  • Hemoglobinuria
  • Myoglobinuria
  • Immunoglobulin light chains
  • Complete blood count
  • Biochemistry panel
  • Visualization of the urine supernatant color
  • Urine protein electrophoresis
Functional proteinuria
  • ความอันโลหิตสูง
  • อาการชัก
  • อาการไข้
  • การออกกำลังที่มากเกินไป
  • การวัดความดันโลหิตแบบ indirect
  • อุณหภูมิร่างกาย
Renal proteinuria
ICGN:
 
  • การติดเชื้อ (FeLV, FIV, FIP)
  • ไม่ทราบสาเหตุ

Non-ICGN:

 

  • โรตไตเรื้อรัง (IRIS ระดับ 1-4)
  • Acute kidney injury
  • Glomerular sclerosis or atrophy
  • Amyloidosis
  • Polycystic kidney disease
  • Renal dysplasia
  • Renal lymphoma หรือมะเร็งชนิดอื่น
  • ตรวจ serum creatinine และ/หรือ symmetric dimethylarginine (SDMA) ร่วมกับ urine specific gravity
  • การตรวจคัดกรอง FeLV และ FIV
  • อัลตราซาวด์ช่องท้อง
  • การตรวจชิ้นเนื้อไตด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและ immunofluorescence
Post-renal proteinuria
  • นิ่ว
  • เนื้องอกหรือมะเร็ง
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ
  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจเพาะเชื้อปัสสาวะ
  • ภาพรังสีช่องท้องหรืออัลตราซาวด์
  • การตรวจวิเคราะห์นิ่ว

 

หากสามารถตัดสาเหตุของ proteinuria แบบ pre-renal post-renal และ functional ได้แล้ว ให้พิจารณาสาเหตุจาก renal proteinuria โดยอาจมีสาเหตุอยู่ที่ glomerulus หรือ ท่อไต หรืออาจเกิดจากทั้งสองตำแหน่งร่วมกันก็ได้ แต่ glomerular proteinuria พบได้บ่อยกว่าในแมวที่มี UPC > 1.0 5 จัดอยู่ในกลุ่ม immune-complex glomerulonephritis (ICGN) หรือ non-ICGN ขึ้นอยู่กับว่ามี immune-complex ที่ glomerulus หรือไม่ แต่หากพบว่าค่า UPC ต่ำกว่านี้ก็ยังไม่สามารถตัดสาเหตุจาก glomerulus ออกได้ 6 ต้องตรวจยืนยันได้โดยการตัดชิ้นเนื้อไปย้อมสี immunofluorescence และส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน

โรคไตวายเรื้อรังหรือ CKD คือสาเหตุที่พบได้บ่อยในกรณี non-ICGN renal proteinuria แมวที่เป็นโรค CKD จะพบ glomerular proteinuria บ่อยที่สุด ตามมาด้วย mixed proteinuria และ tubular proteinuria จากการทำ gel electrophoresis 7 สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เจาะจงของ tubule และ glomerulus ที่พบในจุลพยาธิวิทยาของไตในแมวที่มีภาวะ CKD 8 CKD (IRIS stage 1) ระยะแรกอาจเกิดเสียความเสียหายต่อ renal tubule ส่งผลให้เกิด tubular proteinuria สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิด renal proteinuria ได้แก่ renal neoplasia dysplasia glomerulosclerosis atrophy และ acute kidney injury ที่มีสาเหตุจาก hypoxic injury การได้รับสารพิษโดยการกิน(ethylene glycol ดอกลิลลี่) ความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่น amyloidosis polycystic kidney disease ก็เป็นอีกสาเหตุที่ต้องทำการวินิจฉัยแยกแยะสำหรับ renal proteinuria

Schematic diagram of a normal glomerulus. Glomerular basement membrane = orange; capillary walls = yellow; mesangium = blue.

รูป 1 แสดงถึง glomerulus ที่ปกติ โดย glomerular basement membrane = สีส้ม ผนังเส้นเลือดฝอย = สีเหลือง และ mesangium = สีน้ำเงิน © Sandrine Fontègne

ICGN เป็นโรคภูมิคุ้มกันที่พบ immune complex ไปฝังตัวที่ glomerulus ของไต ตำแหน่งที่เกิดการฝังตัวมีได้หลายที่ ได้แก่ glomerular basement membrane (membranous glomerulonephropathy) luminal surface ของผนังเส้นเลือดฝอย (membranoproliferative glomerulonephropathy) และที่ mesangium (mesangioproliferative glomerulonephritis) (รูป 1) แมวที่เป็น ICGN ควรได้รับการตรวจหาโรคติดเชื้อโดยเฉพาะการติด retrovirus ในการศึกษาแบบย้อนกลับพบว่าแมวกลุ่มที่เป็น ICGN จะมี UPC ratio สูง (> 2) และ มีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าแมวกลุ่มที่เป็น non- ICGN นอกจากนี้หากตรวจพบ UPC ratio > 3.8 จะมีความไว (ร้อยละ 91.9) และความจำเพาะ (ร้อยละ93.5) ในการระบุภาวะ ICGN ในแมว 9 แมวที่เป็น ICGN มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะ hypoalbuminemia และนำไปสู่ cavitary effusion หรือ pitting edema ตรงข้ามกันกับแมวที่เป็น CKD 5

(ตาราง 1) สรุปขั้นตอนการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการวินิจฉัยภาวะ proteinuria ในแมวโดยจะขึ้นกับผลจากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย อาการทางคลินิกที่สงสัย การย้อมชิ้นเนื้อไตด้วยสี immunofluorescence จากนั้นส่องโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านเพื่อยืนยันภาวะ ICGN ควรพิจารณาใช้ในแมวที่มีโรคลุกลามรวดเร็วหรือมีภาวะ proteinuria ที่เด่นชัด ข้อควรระวังในการตรวจชิ้นเนื้อไตคือภาวะ hypertension hydronephrosis anemia coagulopathy renal cystic disease และ CKD ระยะสุดท้ายที่มีค่า creatine > 5 mg/dL (442 µmol/L)

การรักษา

การรักษา pre-renal post-renal และ functional proteinuria ต้องจัดการกับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะ proteinuria กรณีที่เป็น renal proteinuria การรักษาอาจต้องใช้การยับยั้ง renin-angiotensin-aldosterone system (RASS) ร่วมกับการคุมอาหาร และอาจต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันในบางกรณี

การยับยั้ง RAAS

The renin-angiotensin-aldosterone system and the sites of action for the most commonly used inhibitors in cats.

รูป 2 ระบบ renin-angiotensin-aldosterone และจุดที่ยายับยั้งออกฤทธิ์ที่ใช้บ่อยในแมว

Renin-angiotensin-aldosterone system เป็นระบบการทำงานของฮอร์โมนที่ควบคุมความต้านทานของผนังหลอดเลือด ความดันโลหิต และสมดุลน้ำ-อิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย (รูป2) ยาสองกลุ่มที่นิยมใช้ในการยับยั้ง RASS ในแมวคือ angiotensin converting enzyme (ACE) inhibitor และ angiotensin receptor blocker (ARB) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดจะลดภาวะ proteinuria แตกต่างกันที่กระบวนการของการออกฤทธิ์

ACE inhibitor จะยับยั้ง angiotensin converting enzyme ในกระบวนการของ RASS ยาในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้คือ enalapril และ benazepril ข้อควรระวังคือ enalapril มีโอกาสสะสมได้ในกรณีที่โรคไตมีความรุนแรงสูงจึงต้องระมัดระวังการใช้กับแมวที่อยู่ใน CKD ระยะท้าย ARB จะยับยั้งการทำงานของ angiotensin 2 โดยจับกับตัวรับ ยาที่ใช้มากที่สุดในกลุ่มนี้คือ telmisartan เพราะมีการทำงานโดยเลือกจับแต่ type 1 receptor โดยไม่ยับยั้ง type 2 receptor ทำให้มีผล renoprotective effect อยู่ ผลดีของการใช้ telmisartan ตามที่กล่าวมาทำให้เป็นยาที่น่าเลือกใช้มากกว่ากลุ่ม ACE inhibitor ในการรักษา renal proteinuria ในบางประเทศได้มีการขึ้นทะเบียนให้ใช้เป็นยาในการรักษาภาวะ hypertension ในแมว โดยเป็นรูปแบบยาน้ำ นอกจากนี้ telmisartan ยังให้ผลดีกว่า ACE inhibitor ในการรักษา renal proteinuria ระยะยาว 10

ขนาดในการรักษาของยา ACE inhibitor และ ARB ควรเริ่มจากขนาดที่แนะนำและค่อยๆเพิ่มจนกว่าจะได้ผลการรักษาที่พึงพอใจ (ตาราง2) ผลข้างเคียงของการยับยั้ง RAAS คือ hypokalemia และอาจเกิดความดันโลหิตต่ำถ้าใช้ในขนาดสูง ทั้งยังมีรายงานว่าพบภาวะไตวายเฉียบพลัน แต่ไม่ค่อยพบในแมวที่รักษาด้วย telmisartan 11

ยาทั้งสองกลุ่มลด glomerular filtration rate จึงควรใช้ในสัตว์ป่วยที่มีภาวะ azotemia และผลิตปัสสาวะได้ปริมาณเพียงพอที่ไม่อยู่ในภาวะอันตราย

 

ตาราง 2 ยายับยั้ง RAAS ที่นิยมใช้ในแมวที่มีภาวะ renal proteinuria มีทั้งขนาดยาที่ใช้ในช่วงแรกและการปรับขนาดยาเพิ่ม
ตัวยา ขนาดยาที่ใช้ในช่วงแรก การปรับขนาดยาเพิ่ม
Benazepril/Enalapril
0.25-0.5 mg/kg PO ต่อวัน สามารถให้ q12H ได้
เพื่มได้อีก 0.25-0.5 mg/kg จนถึงปริมาณยาสูงสุดต่อวันที่ 2 mg/kg
Telmisartan 
1 mg/kg PO q24  เพิ่มได้อีก 0.5 mg/kg จนถึงปริมาณยาสูงสุดต่อวันที่ 3 mg/kg

การคุมอาหาร

การศึกษาผลการคุมอาหารต่อการจัดการภาวะ proteinuria ในแมวมีไม่มากนัก 12 แต่มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการให้อาหารเปียกที่มีปริมาณโปรตีนปานกลาง (ร้อยละ 27.6 บนพื้นฐานวัตถุแห้ง) แก่แมวที่มีภาวะ proteinuria เป็นเวลา 1 ปี เทียบกับการให้อาหารเปียกที่มีโปรตีนสูง (ร้อยละ 51.7 บนพื้นฐานวัตถุแห้ง) จะช่วยลดภาวะ proteinuria รวมถึงความเสียหายต่อ glomerulus ลงได้ 13 แนะนำให้เลือกอาหารที่มีปริมาณโปรตีนปานกลางในแมวที่มีภาวะ proteinuria แต่ต้องเฝ้าระวังผลของการขาดโปรตีน เช่น โลหิตจาง hypoalbuminemia น้ำหนักลด และกล้ามเนื้อฝ่อลีบ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความอยากอาหารลดลง

ปริมาณพลังงานที่ได้รับในแต่ละวันเป็นอีกเรื่องที่ต้องคอยสังเกตเฝ้าระวังเพื่อป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบและน้ำหนักลด หากแมวไม่สามารถกินอาหารได้มากเพียงพออาจต้องพิจารณาสอดท่อ feeding tube โดยวิธี esophagostomy ร่วมกับการประเมินสภาพแห้งน้ำของแมวและปรับตามความเหมาะสมเช่นการให้อาหารเปียก (ความชื้นมากกว่าร้อยละ70) การให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำหรือใต้ผิวหนัง

ยากดภูมิคุ้มกัน

การรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันมีคำแนะนำให้ใช้เมื่อผลการตรวจชิ้นเนื้อไตพบว่าเป็น ICGN ที่มีภาวะ proteinuria รุนแรง และไม่มีข้อจำกัดในการให้ยากดภูมิคุ้มกัน 14 มีการศึกษาที่พบว่าแมวที่เป็น ICGN และได้รับยากดภูมิคุ้มกันจะมีอายุขัยที่ยาวนานขึ้น โดยมีอัตรามีชีวิตรอดเฉลี่ยที่ 204 วัน เทียบกับ 34 วัน เมื่อไม่ได้รับยา 5 ยากดภูมิคุ้มกันที่นิยมให้ในแมวคือ mycophenolate mofetil monotherapy (8-10 mg/kg PO q12H) สามารถใช้ร่วมกับ prednisolone ระยะสั้นในกรณีที่มีอาการรุนแรง แมวค่อนข้างทนต่อยานี้ได้ดี แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงอันได้แก่ท้องเสีย, การกดไขกระดูก และการติดเชื้อ 15 ระยะเวลาการรักษาอยู่ที่ประมาณ 8-12 สัปดาห์

การเฝ้าระวัง proteinuria

ควรทำการวัดความดันโลหิต ตรวจหาระดับ serum creatinine และ serum potassium ภายใน 7 วัน หลังจากที่เริ่มให้ยายับยั้ง RAAS หรือหลังการปรับขนาดของยา ทำการตรวจปัสสาวะและ UPC ในอีก 4-6 สัปดาห์ถัดมาเพื่อติดตามผลการรักษา นัดสัตว์ป่วยกลับมาเพื่อตรวจซ้ำทุก3-6 เดือน เมื่อสามารถปรับขนาดยาจนสัตว์ป่วยมีอาการคงที่แล้ว

ถึงแม้ว่าจะไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความแปรปรวนของค่า UPC ในแมว แต่จากการศึกษาในสุนัขพบว่าสามารถแตกต่างกันได้ร้อยละ 35-80 ในแต่ละครั้งขึ้นกับความรุนแรงของภาวะ proteinuria ค่า UPC มีแนวโน้มจะสูงกว่าในตัวอย่างที่เก็บที่โรงพยาบาลเทียบกับเก็บตัวอย่างที่บ้าน 16 นอกจากนี้ยังสามารถเกิด false positive ได้จากการปนเปื้อนของเลือดเมื่อทำการเก็บตัวอย่างปัสสสาวะโดยวิธี cystocentesis ในแมว การตรวจ UPC จึงต้องทำจากปัสสาวะที่มี inactive urine sediment ผ่านการเก็บโดยวิธีเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ (รองเก็บหรือ cystocentesis) เป้าหมายของการรักษา proteinuria คือการให้ค่า UPC ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50

ภาวะ proteinuria เป็นภาวะที่มีความสำคัญทางคลินิกและควรหาสาเหตุของการเกิดโดย CKD เป็นสาเหตุของ renal proteinuria ที่พบได้บ่อยที่สุดในแมว และสามารถเกิดได้ตั้งแต่อยู่ในระยะแรกเริ่ม มักพบ ICGN ได้บ่อยในแมวที่มีภาวะ proteinuria โดยเฉพาะในแมวที่ยังอายุน้อย แมวที่มีภาวะ proteinuria เด่นชัด และแมวที่ติดเชื้อ retrovirus การเฝ้าติดตามภาวะ proteinuria โดยใช้ค่า UPC ด้วยวิธีการเก็บปัสสาวะวิธีเดียวกันอย่างสม่ำเสมอทำให้สามารถประเมินผลการรักษาได้

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำแบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ได้ที่นี่

ทำแบบทดสอบ VET-CE

แหล่งอ้างอิง

  1. King JN, Tasker S, Gunn-Moore DA, et al. Prognostic factors in cats with chronic kidney disease. J Vet Intern Med 2007;21(5):906-916.
  2. Jepson RE, Brodbelt D, Vallance C, et al. Evaluation of predictors of the development of azotemia in cats. J Vet Intern Med 2009;23(4):806-813.
  3. International Renal Interest Society. Staging of CKD. Available at: http://www.iris-kidney.com/pdf/003-5559.001-iris-website-staging-of-ckd-pdf_220116-final.pdf#page=7. Accessed Nov 11, 2019.

  4. Acierno MJ, Brown S, Coleman AE, et al. ACVIM consensus statement: guidelines for the identification, evaluation, and management of systemic hypertension in dogs and cats. J Vet Intern Med 2018;32(6):1803-1822.
  5. Rayhel L, Quimby J, Cianciolo R, et al. Outcomes, clinicopathologic, and histopathologic characteristics of feline proteinuric kidney disease: 61 cases (abstract NU03). In; Proceedings. American College of Veterinary Internal Medicine Congress 2019. Phoenix, AZ, USA.
  6. Lees GE, Brown SA, Elliott J, et al. Assessment and management of proteinuria in dogs and cats: 2004 ACVIM Forum Consensus Statement (small animal). J Vet Intern Med 2005;19(3):377-385.
  7. Giraldi M, Paltrinieri S, Scarpa P. Electrophoretic patterns of proteinuria in feline spontaneous chronic kidney disease. J Feline Med Surg 2020;22(2):114-121.
  8. Brown CA, Elliott J, Schmeidt, et al. Chronic kidney disease in aged cats: clinical features, morphology, and proposed pathogeneses. Vet Pathol 2016;53(2):309-326.
  9. Rossi F, Aresu L, Martini V, et al. Immune-complex glomerulonephritis in cats: a retrospective study based on clinicopathological data, histopathology and ultrastructural features. BMC Vet Res 2019;15(1):303.
  10. Sent U, Gossi R, Elliott J, et al. Comparison of efficacy of long-term oral treatment with telmisartan and benazepril in cats with chronic kidney disease. J Vet Intern Med 2015;29(6):1479-1487.
  11. Coleman AE, Brown SA, Traas AM, et al. Safety and efficacy of orally administered telmisartan for the treatment of systemic hypertension in cats: results of a double-blind, placebo-controlled, randomized clinical trial. J Vet Intern Med 2019;33(2):478-488.
  12. IRIS Canine GN Study Group Standard Therapy Subgroup, Brown S, Elliott J, et al. Consensus recommendations for standard therapy of glomerular disease in dogs. J Vet Intern Med 2013;27 Suppl 1:S27-43.
  13. Adams LG, Polzin DJ, Osborne CA, et al. Influence of dietary protein/calorie intake on renal morphology and function in cats with 5/6 nephrectomy. Lab Invest 1994;70(3):347-357.
  14. IRIS Canine GN Study Group Established Pathology Subgroup, Segev G, Cowgill LD, et al. Consensus recommendations for immunosuppressive treatment of dogs with glomerular disease based on established pathology. J Vet Intern Med 2013;27 Suppl 1:S44-54.
  15. Slovak JE, NF Villarino. Safety of oral and intravenous mycophenolate mofetil in healthy cats. J Feline Med Surg 2018;20(2):184-188.
  16. Shropshire S, Quimby J, Cerda R. Comparison of single, averaged, and pooled urine protein:creatinine ratios in proteinuric dogs undergoing medical treatment. J Vet Intern Med 2018;32(1):288-294.
Stacie C. Summers

Stacie C. Summers

Dr. Summers is board certified in small animal internal medicine and is currently an assistant professor at Oregon State University อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 30.1 เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

การตรวจคัดกรองภาวะไตวายเรื้อรังในแมวระยะเริ่มต้น

โรคไตเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยในการป่วยและการตายของแมวสูงอายุ...

โดย Jonathan Elliott และ Hannah J. Sargent

หมายเลขหัวข้อ 30.1 เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

การจำกัดปริมาณโปรตีนในแมวที่มีภาวะ ไตวายเรื้อรัง (CKD)

การจำกัดปริมาณโปรตีนในอาหารสำหรับแมวที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง...

โดย Nick Cave และ Meredith J. Wall

หมายเลขหัวข้อ 30.1 เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

ภาวะ Proteinuria ที่เกิดจาก Hypertrigly-ceridemia ในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer

ภาวะ proteinuria ที่เกิดจาก hypertriglyceridemia เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ Miniature Schnauzer แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก บทความนี้จะมาสรุปถึงวิธีการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโดย Dr. Eva Furrow

โดย Eva Furrow

หมายเลขหัวข้อ 30.1 เผยแพร่แล้ว 31/03/2021

การตรวจภาพวินิจฉัยไตในแมวเพื่อการคัดกรองเบื้องต้น

อัลตราซาวด์เป็นเครื่องมือที่สถานพยาบาลสัตว์ต่างๆ มีใช้มากขึ้นในปัจจุบัน...

โดย Gregory Lisciandro