บทนำ
สัตวแพทย์จบการวินิจฉัยการตั้งท้องด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ หันไปยิ้มและแสดงความยินดีกับเจ้าของสุนัขเป็นภาพที่พบได้บ่อยในสถานพยาบาลสัตว์ แต่เรื่องราวทั้งหมดยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น บทสนทนาที่เกิดขึ้นต่อไปเป็นสิ่งสำคัญมาก ส่วนหนึ่งของการสนทนาจะเกี่ยวข้องกับโรคที่พบในลูกสุนัข การดูแลลูกสุนัขแรกเกิด รวมถึงการเน้นย้ำหลักการสำคัญว่า “การป้องกันดีกว่าการแก้ไขและการรักษา” ซึ่งในบทสนทนามักกล่าวถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัขรวมอยู่ด้วย ในทางปฏิบัติแล้วผลิตภัณฑ์ทดแทนนมถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลหลังคลอดแต่มีคำถามมากมายตามมาเช่น ควรเลือกผลิตภัณฑ์ตัวใด ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงมีอะไรบ้าง เมื่อใดที่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมและใช้อย่างไร บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบคำถามเหล่านั้นและเพิ่มความมั่นใจแก่สัตวแพทย์ในการแนะนำผลิตภัณฑ์ทดแทนนมในสถานพยาบาลได้
ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัขที่ดี่ที่สุดควรมีคุณสมบัติอย่างไร
โภชนาการที่เหมาะสม
เจ้าของสุนัขส่วนมากเข้าใจว่านมทุกชนิดสามารถนำมาใช้เลี้ยงลูกสุนัขได้ไม่ว่าจะเป็นนมสดในตู้เย็น นมผงสำหรับทารก นมที่ปรุงจากสูตรในอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถพบได้หากเจ้าของสุนัขไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องจากสัตวแพทย์มากพอ สิ่งที่สำคัญคือการให้เจ้าของรับทราบว่านมสุนัขนั้นมีความจำเพาะเจาะจงอย่างมาก เพราะอุดมไปด้วยพลังงาน แร่ธาตุเช่นแคลเซียมและฟอสฟอรัส รวมถึงโปรตีนมากกว่านมของสัตว์ชนิดอื่น(ตารางที่ 1) สังเกตได้ว่านมวัวและนมแพะ(นมแพะนั้นได้รับความนิยมสูงจากข้อมูลในอินเตอร์เน็ต)มีองค์ประกอบที่แตกต่างจากนมสุนัข ทั้งยังขาดความสมดุลทางโภชนาการที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของลูกสุนัข
ตารางที่ 1 องค์ประกอบของนมสุนัข นมวัว และนมแพะ
ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสำหรับทารกไม่แนะนำให้ใช้ในสุนัขเช่นเดียวกันเพราะมีแป้งเป็นส่วนประกอบที่ช่วยทำให้นมข้นขึ้น เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตและทำให้ทารกรู้สึกอิ่ม อย่างไรก็ตามลูกสุนัขแรกเกิดขาดเอนไซม์สำคัญที่ช่วยในการย่อยแป้ง(amylase และ maltase) 1 จึงควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ทางทฤษฎีนั้นสามารถปรุงผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัขจากสูตรในอินเตอร์เน็ตที่บ้านเองได้แต่ใช้เวลาและค่อนข้างยากเพราะต้องทำให้มั่นใจว่าคุณสมบัติต่างๆนั้นถูกต้องไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางโภชนาการ ความสะอาด และ osmolality ทำให้ความเสี่ยงนั้นไม่คุ้มค่ากับการลงมือทำ หากเจ้าของสุนัขยืนยันที่จะปรุงผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัขขึ้นด้วยตนเองควรปรึกษาสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อให้แน่ใจว่าสูตรอาหารที่ใช้นั้นมีความเหมาะสม
Osmolality คือสิ่งสำคัญ
Osmolality คือแรงดันออสโมติกที่เกิดจากอนุภาคซึ่งละลายอยู่ในน้ำนม หากมีอนุภาคที่มี osmolality สูงในปริมาณมากเข้าสู่ทางเดินอาหารลูกสัตว์ที่เกิดใหม่อาจเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะถ่ายเหลว (osmotic diarrhea) ได้ จากการที่ร้อยละ 84 ของลูกสุนัขประกอบด้วยน้ำ
4 จึงควรหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าวโดยเฉพาะช่วงแรกเกิด แลคโตสจะส่งผลต่อ osmolality ของน้ำนมทำให้นมโคและนมแพะซึ่งมีปริมาณแลคโตสสูงเทียบกับนมสุนัขนั้นเป็นตัวเลือกที่ไม่เหมาะสมแก่ลูกสุนัข
ตัวเลือกที่เหมาะสม
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัขวางจำหน่ายมากมายให้เลือกใช้ สิ่งสำคัญที่สุดคือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ควรมีความใกล้เคียงกับนมสุนัขมากที่สุด แต่มีรายงานว่าในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้นสำหรับบางผลิตภัณฑ์
2
Boutigny L, Grellet A, Feugier C, et al. Effect of energy supplementation between birth and 3 weeks on growth rate in puppies. In Proceedings, 19th Congress European Society of Veterinary and Comparative Nutrition (ESVCN) 2016, Berlin, Germany.
Boutigny L, Grellet A, Feugier C, et al. Effect of energy supplementation between birth and 3 weeks on growth rate in puppies. In Proceedings, 19th Congress European Society of Veterinary and Comparative Nutrition (ESVCN) 2016, Berlin, Germany.
Boutigny L, Grellet A, Feugier C, et al. Effect of energy supplementation between birth and 3 weeks on growth rate in puppies. In Proceedings, 19th Congress European Society of Veterinary and Comparative Nutrition (ESVCN) 2016, Berlin, Germany.
Boutigny L, Grellet A, Feugier C, et al. Effect of energy supplementation between birth and 3 weeks on growth rate in puppies. In Proceedings, 19th Congress European Society of Veterinary and Comparative Nutrition (ESVCN) 2016, Berlin, Germany.
Boutigny L, Grellet A, Feugier C, et al. Effect of energy supplementation between birth and 3 weeks on growth rate in puppies. In Proceedings, 19th Congress European Society of Veterinary and Comparative Nutrition (ESVCN) 2016, Berlin, Germany.
5 สัตวแพทย์จึงต้องตรวจสอบให้มั่นใจ ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมบางยี่ห้ออาจเติมส่วนผสมเพิ่ม(ตารางที่ 2 ) ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัขโดยมากตอบโจทย์ความต้องการได้ดีและมอบความสะดวก สร้างความสบายใจแก่เจ้าของสุนัข จึงควรแนะนำให้ใช้ในลูกสุนัขที่มีความจำเป็นเสมอ ผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีสองรูปแบบได้แก่ของเหลวและรูปแบบผงซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน
ตารางที่ 2 องค์ประกอบเพิ่มเติมที่พบในผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัข
ผลิตภัณฑ์รูปแบบของเหลวนั้นใช้งานง่ายกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะอยู่ในรูปแบบพร้อมใช้ ไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมการ เพียงแค่ทำการอุ่นเล็กน้อยก่อนป้อนลูกสุนัข นอกจากนี้ยังช่วยหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อยในกรณีของผลิตภัณฑ์รูปแบบนมผงนั่นคือการที่เจ้าของสุนัขเติมน้ำมากเกินไป(นมที่ได้จะเจือจางมากกว่าปกติ)หรือน้อยเกินไป(นมที่ได้จะเข้มข้นมากกว่าปกติ)
6 อย่างไรก็ตามเมื่อเปิดบรรจุภัณฑ์แล้วควรเก็บผลิตภัณฑ์รูปแบบของเหลวไว้ในตู้เย็นไม่นานจนเกินไป คำแนะนำโดยทั่วไปคือทิ้งหลังจากเปิดใช้แล้วภายใน 72 ชั่วโมง
ในทางตรงกันข้ามผลิตภัณฑ์รูปแบบนมผงสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า โดยมากสามารถเก็บได้นาน 1 เดือนหลังเปิดบรรจุภัณฑ์ จากที่กล่าวด้านบนว่ามีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดในการชงที่ส่งผลต่อค่า osmolality ได้ ทำให้ลูกสุนัขมีภาวะท้องผูกหรือถ่ายเหลวตามมา อย่างไรก็ตามการที่ผลิตภัณฑ์รูปแบบผงทำให้สามารถควบคุม osmolality ของนมที่ได้มีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาทางโภชนาการบางอย่างที่จะกล่าวเป็นลำดับถัดไป
สาเหตุที่ทำให้ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสำหรับลูกสุนัข
สาเหตุจากแม่สุนัข
การไม่มีน้ำนมและพฤติกรรมของแม่สุนัข
เจ้าของสุนัขอาจจำเป็นต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์ทดแทนนมในบางครั้งเพื่อให้ลูกสุนัขแรกเกิดได้กินอย่างเพียงพอ บางกรณีอาจเกิดจากการที่ลูกสุนัขไม่มีแม่ ยกตัวอย่างเช่นการเกิดอุบัติเหตุ หรือปัญหาการวางยาสลบเพื่อทำการผ่าคลอด ถึงแม้จะเป็นปัญหาที่พบไม่บ่อยนักแต่หากเกิดขึ้นจะทำให้แม่สุนัขไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ อีกกรณีหนึ่งคือลูกสุนัขแรกเกิดถูกนำมาทิ้งที่ศูนย์พักพิงสัตว์ซึ่งองค์กรเหล่านี้มักพบเหตการณ์ดังกล่าวในกรณีของลูกแมวกำพร้าบ่อยกว่า ทำให้การมีผลิตภัณฑ์ทดแทนที่เหมาะสมนั้นสำคัญมาก พฤติกรรมการละเลยลูกของแม่สุนัขนั้นสำคัญเช่นเดียวกันโดยแม่สุนัขบางตัวอาจละเลยลูกสุนัขในขณะที่บางตัวอาจแสดงพฤติกรรมการกัดทำร้ายลูกของตัวเอง แม่สุนัขที่คลอดลูกครอกแรก(primiparous bitch) มีความเสี่ยงในการเกิดปัญหานี้สูงกว่า 12 รวมถึงพบมากในสุนัขบางสายพันธุ์เช่น English bull terrier 13 เจ้าของสุนัขควรตระหนักถึงความเสี่ยงในการเกิดปัญหาเพื่อที่จะแก้ไขได้ทันท่วงที
ปัญหาเกี่ยวกับการให้นม
กรณีที่แม่สุนัขไม่สามารถผลิตน้ำนมได้นั้นจำเป็นต้องมีการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัขอย่างแน่นอน แต่อาจตัดสินได้ยากขึ้นหากเกิดปัญหาที่ไม่ชัดเจนอย่างเช่นเต้านมอักเสบเฉียบพลัน(acute mastitis) การอักเสบนี้อาจเกิดได้ทันทีหลังการคลอดหรือช่วงสามสัปดาห์หลังคลอดซึ่งเป็นช่วงที่มีการผลิตน้ำนมสูงที่สุด 14 อาการทางคลินิกสามารถพบการอักเสบที่เต้านมหนึ่งเต้าหรือมากกว่าร่วมกับการเปลี่ยนสีของน้ำนมเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง อาการทั่วไปอื่นๆได้แก่ อ่อนเพลีย มีไข้ แสดงอาการไม่สบายตัวเมื่อลูกสุนัขดูดนมอาจพบได้แต่ไม่ทุกครั้ง สิ่งสำคัญคือเจ้าของสุนัขต้องหมั่นตรวจเต้านมแม่สุนัขเป็นประจำทุกวัน เต้านมอักเสบสามารถส่งผลกระทบต่อลูกสุนัขได้อย่างมาก ทำให้ลูกสุนัขแคระแกร็น ถ่ายเหลว ลำไส้อักเสบ การรักษาเต้านมอักเสบทำได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะ ตัวยาที่ถูกเลือกใช้เป็นอันดับแรกได้แก่กลุ่ม cephalosporins 15 สำหรับการดูแลลูกสุนัขนั้นมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำให้ลูกสุนัขดูดนมแม่ต่อไประหว่างการรักษาหากแม่สุนัขไม่แสดงอาการเจ็บเมื่อลูกดูดนมเพื่อป้องกันภาวะน้ำนมคั่ง(galactostasis) ที่อาจส่งผลลบต่อประสิทธิภาพการรักษา ยาปฏิชีวนะสามารถถูกขับออกทางน้ำนมซึ่งอาจช่วยป้องกันลูกสุนัขจากผลของเต้านมอักเสบได้(แต่ผลเสียของยาปฏิชีวนะต่อลูกสุนัขนั้นอาจทำให้เกิดภาวะขาดความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ถ่ายเหลว และลำไส้อักเสบได้ สัตวแพทย์จึงต้องพิจารณาผลดีและผลเสียก่อนเลือกวิธีการจัดการ) ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญอีกกลุ่มหนึ่งแนะนำให้ย้ายลูกสุนัขทั้งครอกออกแล้วป้อนผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่สุนัขแทนช่วงที่กำลังรักษาเต้านมอักเสบ สาเหตุมาจากการที่ลูกสุนัขนั้นมีความบอบบางและสามารถเสียชีวิตได้ง่าย การให้ลูกสุนัขดูดนมที่มีการปนเปื้อนอาจเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น เพื่อป้องกันการคั่งของน้ำนมในแม่สุนัขอาจใช้ยากลุ่ม dopaminergic เช่น cabergoline เพื่อหยุดการสร้างน้ำนม 16
การแก้ปัญหาทั้งสองวิธีที่กล่าวข้างต้นมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป สัตวแพทย์ควรพิจารณาวิธีโดยยึดเอาสุขภาพของลูกสุนัขเป็นหลัก เหนือสิ่งอื่นใดหากลูกสุนัขแสดงอาการป่วย ควรหยุดการให้ดูดนมจากแม่สุนัขแล้วเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมทันที
กลุ่มอาการภาวะน้ำนมเป็นพิษ(toxic milk syndrome) เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่ต้องเฝ้าระวัง อาจพบลูกสุนัขบางตัวจากในครอกมีอาการถ่ายเหลวหรือลำไส้อักเสบโดยที่แม่สุนัขไม่แสดงอาการทางคลินิกของเต้านมอักเสบ ลูกสุนัขที่ป่วยจะมีลักษณะแคระแกร็น ปวดท้องหลังกินนม บางครั้งอาจพบลูกสุนัขเพียงตัวเดียวจากในครอกที่แสดงอาการทางคลินิกในขณะที่ตัวอื่นปกติดี จากการศึกษาไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่าอาจเกี่ยวข้องกับเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ(subclinical mastitis) 17 ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากการส่องน้ำนมผ่านกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลที่เพิ่มขึ้น(มักไม่ใช่วิธีที่ปฏิบัติเป็นประจำในงานสถานพยาบาลสัตว์) เต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการควรอยู่ในข้อวินิจฉัยแยกแยะทุกครั้งเมื่อลูกสุนัขไม่สบาย แม้ว่าจะมีเพียงหนึ่งตัวในครอกที่แสดงอาการ เมื่อพบความผิดปกติควรแยกลูกสุนัขตัวดังกล่าวแล้วป้อนด้วยผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัข หากพบว่าลูกสุนัขตัวอื่นเริ่มแสดงอาการผิดปกติควรย้ายลูกสุนัขทั้งครอกออกจากแม่สุนัขแล้วป้อนด้วยผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัขทั้งหมด