วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 32.1 การสื่อสาร

ความท้าทายที่สำคัญในวิชาชีพสัตวแพทย์

เผยแพร่แล้ว 28/02/2023

เขียนโดย Cara McNeill และ Ewan McNeill

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Português , Español และ English

สัตวแพทย์ต้องพบเจอกับความท้าทายในชีวิตการทำงานเป็นประจำทุกวัน มันสามารถช่วยได้มากหากได้ทราบว่าเพื่อนร่วมอาชีพคนอื่นต่างประสบความท้าทายแบบเดียวกันไม่ว่าจะอยู่ที่ใด หากเราสามารถทำความเข้าใจกับเกี่ยวกับปัญหาคที่สัตวแพทย์ทุกคนต้องเผชิญนั้นจะช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้ดีขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกันและกัน

อ้างอิง: Shutterstock

ความท้าทายที่สำคัญในวิชาชีพสัตวแพทย์

ประเด็นสำคัญ

วิชาชีพสัตวแพทย์เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของสัตว์ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เกี่ยวข้องมากมายซึ่งล้วนแต่มีทัศนคติ จุดมุ่งหมายและความกังวลที่แตกต่างกัน


ยิ่งพวกเราเข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัฏจักรนี้มากขึ้นเท่าไร พวกเราก็จะยิ่งสามารถทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายได้ดีขึ้นเท่านั้น


สำหรับสัตวแพทย์ส่วนใหญ่การทำงานในทางปฏิบัตินั้นอาจจะทำให้เกิดความเครียดหรือ “จุดที่เจ็บปวด” (pain points) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสัตวแพทย์ทั่วโลกต่างก็มีจุดที่เจ็บปวดที่คล้ายกันมาก


การรับรู้และความเข้าใจในความท้าทายต่างๆนี้เป็นขั้นตอนแรกในการรับมือกับปัญหา แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการตระหนักถึงความเครียดและความกังวลที่ผู้เกี่ยวข้องคนอื่นๆได้พบเจอด้วย


บทนำ

โลกใบนี้ที่พวกเราอาศัยอยู่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยหลายๆอย่างซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีและการทดลองต่างๆ การเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นในสังคมเล็กๆของเรานั้นก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ความท้าทายหลักที่พวกเราเผชิญในฐานะสัตวแพทย์นั้นก็คือความปรารถนาที่จะทำให้สัตว์มีสุขภาพที่แข็งแรงและมีความสุขมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ซึ่งเป็นความท้าทายที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลยนับตั้งแต่มีอาชีพนี้ขึ้นมาบนโลก แต่ชีวิตของสัตวแพทย์เมื่อ 20 ปีที่แล้วก็ไม่เหมือนกับชีวิตของสัตวแพทย์ในวันนี้ด้วยเหตุผลหลายประการ สัตวแพทย์ในปัจจุบันนั้นมีความรู้เกี่ยวกับสัตว์ที่ต้องรักษามากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยและมีความพร้อมในการจัดการกับโรคในสัตว์ได้ดีกว่าสัตวแพทย์รุ่นก่อนๆ ดังนั้นจึงไม่มีทางหลีกหนีความจริงที่ว่าสัตวแพทย์หลายคนมีภาระงานประจำวันที่ค่อนข้างเครียด ซึ่งสัตวแพทย์บางคนอาจรับมือกับความเครียดเหล่านี้ได้ดีกว่าคนอื่นๆ แต่อัตราการลาออกจากงานที่สูงและผลด้านลบต่อสุขภาพจิตของสัตวแพทย์จำนวนมากนั้นก็เป็นตัวบ่งชี้ถึงคำเตือนว่าสัตวแพทย์ในศตวรรษที่ 21 นั้นต้องแบกรับภาระสิ่งเหล่านี้คู่ไปกับผลตอบแทน

เมื่อไม่นานมานี้ Royal Canin ได้ทำการสำรวจระดับนานาชาติเพื่อดูข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโลกของแมวและสุนัขในปัจจุบัน ซึ่งมีหนึ่งในงานวิจัยคือปัญหาและความกังวลหรือที่บางครั้งเรียกกันว่า “จุดที่เจ็บปวด” (pain points) ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต่างๆที่อยู่ในแวดวงสัตว์เลี้ยงนั้นมักประสบพบเจอ บทความสั้นๆนี้จะช่วยรีวิวข้อค้นพบที่สำคัญบางประการที่มีความสัมพันธ์กับด้านสัตวแพทย์และจะช่วยแนะนำแนวทางเชิงบวกได้

Cara McNeill

สิ่งที่สำคัญคือต้องเห็นคุณค่าของลูกค้าที่มีความกังวลและปัญหาของตนเองซึ่งอาจไม่ค่อยตรงกับของสัตวแพทย์เท่าไรนัก อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่พวกเราในฐานะสัตวแพทย์อาจไม่ทันได้คิดถึง

Cara McNeill

เครือข่ายที่เชื่อมโยงกับเจ้าของสัตว์

วัฏจักรหรือส่วนแบ่งการตลาดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงทั้งหมดนั้นประกอบไปด้วยผู้เกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งผู้เกี่ยวข้องบางคนอาจจะเห็นได้ชัดมากกว่าคนอื่น แต่แน่นอนว่าศูนย์กลางทั้งหมดจะอยู่ที่เจ้าของสัตว์เลี้ยง (โดยทั่วไปจะเป็นบุคคล คู่รักหรือครอบครัว) ซึ่งพวกเขาเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับบุคคลอื่นๆที่แตกต่างกันและบางครั้งก็อาจจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ผู้เกี่ยวข้องในที่นี้อาจหมายถึง “บุคคลหรือองค์กรที่มีความสนใจหรือความกังวลในบางสิ่งบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือธุรกิจ” ซึ่งความสนใจในที่นี้อาจเป็นเรื่องการเงิน กฎระเบียบหรืออารมณ์ตามธรรมชาติ รวมไปถึงการรวมปัจจัยต่างๆเหล่านี้เข้าด้วยกัน ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องที่อยู่รอบๆเจ้าของสัตว์เลี้ยงนั้นจะไม่ได้มีเพียงแค่สัตวแพทย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักเพาะพันธุ์สัตว์ ศูนย์พักพิงสัตว์ ผู้ค้าปลีกและผู้ผลิต (ได้แก่ ร้านขายสัตว์เลี้ยง บริษัทขายอาหารสัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง) ผู้ให้บริการอื่นๆ (เช่น ช่างตัดขน คนดูแลสัตว์เลี้ยง) สมาคมพัฒนาและเพาะพันธุ์สุนัข รวมไปถึงหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ (รูปที่ 1)

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของสัตว์เลี้ยง

รูปภาพที่ 1 แสดงถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของสัตว์เลี้ยง โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยงทั่วไปจะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านี้ในช่วงเวลาต่างๆของชีวิตสัตว์เลี้ยง และจะมีความสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านี้แตกต่างกันไป
อ้างอิง: Shutterstock

จุดเริ่มต้นเกิดจากการที่คนแต่ละคนล้วนมีมุมมองต่อโลกเป็นของตนเอง โดยเรามักจะเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางและเห็นสิ่งอื่นๆหมุนรอบตัวเอง ปัญหาคืออาจจะเป็นเรื่องยากที่คนๆหนึ่งจะมองโลกจากมุมมองของคนอื่น ผู้เกี่ยวข้องแต่ละรายจะมีมุมมองและแรงจูงใจเป็นของตนเองเช่นเดียวกัน โดยเมื่อพวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรหรือบุคคลอื่นๆก็อาจจะมีความตึงเครียดหรือ “จุดที่เจ็บปวด” ปรากฏชัดขึ้นมาในความสัมพันธ์นั้นๆ หนึ่งในวิธีรับมือกับปัญหานี้คือการนำแนวคิดของ “เศรษฐศาสตร์แห่งความสัมพันธ์กัน” (economics of mutuality) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่าเนื่องจากผู้เกี่ยวข้องทุกคนในทุกภาคส่วนนั้นมีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกัน ดังนั้นเราควรพยายามทำความเข้าใจถึงทัศนคติ จุดมุ่งหมายและความกังวลของกันและกันให้ดียิ่งขึ้นไป หากเราสามารถทำงานเพื่อลดความเครียดที่อาจจะเกิดขึ้นในทุกความสัมพันธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่มีความเกี่ยวข้องในท้ายที่สุด

ระบบนิเวศของเจ้าของสัตว์ (pet-owner ecosystem) นั้นได้ถูกกล่าวถึงไปแล้วในข้างต้น แต่ผู้เกี่ยวข้องแต่ละรายในเครือข่ายที่ว่ามานี้จะมีระบบนิเวศเป็นของตัวเองอีกที ทั้งนี้บุคคลที่แตกต่างกันย่อมมีวัตถุประสงค์ ความกังวลและแรงบันดาลใจที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นในโลกของสัตวแพทย์ ผู้เกี่ยวข้องของเราไม่ได้มีเพียงแต่กลุ่มลูกค้าและสัตว์เลี้ยงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบริษัทยาและอุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการวินิจฉัย สถานศึกษา และเจ้าหน้าที่ที่สนับสนุนสัตวแพทย์ในที่ทำงาน (เช่น พยาบาล ช่างเทคนิคต่างๆ และทีมบริหาร) (รูปภาพที่ 2) โดยความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างกลุ่มต่างๆเหล่านี้อาจจะนำมาซึ่งความขังแย้งและความกังวลใจอีกครั้งได้

 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆโดยมองจากมุมมองที่มีสัตวแพทย์เป็นศูนย์กลาง

รูปภาพที่ 2 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆโดยมองจากมุมมองที่มีสัตวแพทย์เป็นศูนย์กลาง
อ้างอิง: Shutterstock

ผลการสำรวจ

การสำรวจประกอบไปด้วยแนวทางในหลายแง่มุม แต่จากมุมมองของพวกเราการสำรวจนี้ได้มองเข้าไปในเชิงลึกเกี่ยวกับโลกของสัตวแพทย์และความสัมพันธ์ของสัตวแพทย์กับเจ้าของสัตว์ โดยมีความตั้งใจคือการระบุจุดที่เจ็บปวดหลักที่ผู้เกี่ยวข้องต่างๆมี รวมไปถึงวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ประเมินปัญหา จากนั้นจึงช่วยให้บุคคลและองค์กรใช้ความเป็นเหตุและผลตัดสินปัญหาเหล่านี้และปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆที่ต้องพบเจอได้ สัตวแพทย์ 250 คนจากหลายประเทศได้เข้าร่วมการสำรวจในครั้งนี้ (สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส จีน ไทย สวีเดน และโปแลนด์) โดยการวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่าสัตวแพทย์ในทุกประเทศมีความเครียดและเป็นความเครียดแบบเดียวกัน จุดที่เจ็บปวดเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 หมวดหมู่หลักๆ ได้แก่ ความรู้ (knowledge) และสุขภาพส่วนบุคคล (personal health) การเงิน (financial) รวมถึงความสัมพันธ์ (relationships) โดยความกังวลที่เกิดขึ้นในแต่ละหมวดหมู่มีดังนี้

  • ในหมวดหมู่ความรู้และสุขภาพ สัตวแพทย์จำนวนมากระบุว่างานบริหารที่น่าเบื่อเป็นปัญหาหลัก โดยพบว่างานเอกสารระดับสูงและการจัดการที่จำเป็นหลายอย่างนั้นถือเป็นภาระที่หนักหน่วง ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือการสูญเสียอารมณ์ในการทำงาน ซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานที่ยากหรือเครียดหรือการจัดการกับการตายของสัตว์ เป็นความจริงที่ว่าสัตวแพทย์หลายๆคนรู้สึกว่าพวกเขาทำงานอย่างโดดเดี่ยว (in isolation) เข่น การทำงานโดยปราศจากการสนับสนุนจากทีมงานหรือหัวหน้างานนั้นมักจะถูกอ้างอิงถึงพร้อมกับภาระงานที่มากซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นเวลานาน
  • มุมมองทางการเงินนั้นรวมไปถึงข้อเท็จจริงที่ว่าสัตวแพทย์หลายคนเชื่อว่าพวกเขามี “ข้อตกลงที่ไม่ดี” (bad deal) ในเรื่องของการจ้างงาน พวกเขารู้สึกว่าได้รับผลตอบแทนที่ต่ำสำหรับการใช้เวลาหลายชั่วโมงในมหาวิทยาลัยเพื่อรับมือการศึกษาที่ยากลำบากเป็นเวลาหลายปี ปัจจัยอื่นๆยังรวมไปถึงแนวคิดที่ว่าการแข่งขันทางออนไลน์สำหรับบริการและผลิตภัณฑ์ทางสัตวแพทย์นั้นไม่ยุติธรรม โดยจากผู้ตอบแบบสอบถามหลายคนได้กล่าวว่าราคาของผู้ค้าปลีกทางอินเตอร์เน็ตนั้นต่ำเกินไป และปัญหาที่สำคัญอีกอย่างคือสัตวแพทย์นั้นรู้สึกเครียดเมื่อลูกค้าปฏิเสธการรักษาโดยอ้างเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งอาจเป็นเพราะเจ้าของสัตว์เลี้ยงมองว่าค่ารักษาพยาบาลแพงเกินไป โดยลืมไปว่าบริการสุขภาพของประเทศ (country’s national health service) นั้นได้รับเงินสนับสนุนจากภาษีหรือประกันสุขภาพซึ่งไม่มีและไม่เหมือนกับในสัตว์เลี้ยง
  • สำหรับปัญหาด้านความสัมพันธ์ สัตวแพทย์หลายคนได้ระบุถึงความจริงที่ว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้านั้นทำให้เกิดความกังวลต่างๆมากมาย สัตวแพทย์ส่วนใหญ่ต้องการจัดการกับปัญหาของสัตว์เลี้ยงมากกว่ามนุษย์ และบ่อยครั้งที่เจ้าของมักไม่ฟังคำแนะนำที่ได้รับจากสัตวแพทย์ การเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ของ “ผู้เชี่ยวชาญ” (expert websites) และบริการทางโซเชียลมีเดียต่างๆเป็นจำนวนมากนั้นทำให้ทุกคนและใครก็ตามสามารถเขียนแสดงความคิดเห็นได้ ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นที่ถูกหรือผิดเพียงใดก็ตาม เจ้าของสามารถมาถึงคลินิกแล้วแจ้ง (หรือแจ้งผิด) เกี่ยวกับปัญหาของสัตว์เลี้ยง โดยสัตวแพทย์สามารถรับรู้ได้ว่านี่เป็นการท้าทายต่อตำแหน่งและสถานะของพวกเขา สิ่งเหล่านี้สร้างความเครียดให้กับสัตวแพทย์หลายๆคนเนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าควรได้รับความเคารพจากลูกค้ามากกว่านี้ ความกังวลอื่นยังได้แก่การที่เจ้าของหลายคนดูเหมือนจะไม่รู้จักวิธีดูแลสัตว์เลี้ยงของตนเองหรือแม้แต่วิธีหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดพื้นฐานในการดูแลสัตว์เลี้ยงเลย
Ewan McNeill

สัตวแพทย์มากกว่าร้อยละ 40 ของทั้งหมดที่ทำแบบสำรวจนี้กล่าวว่าการบริหารเป็นปัญหาหลักของพวกเขา ในขณะที่ร้อยละ 20-40 อ้างถึงเหตุผลอื่นๆ ได้แก่ ภาระงานและความเครียด ร่วมกับรายได้ที่ต่ำและความเต็มใจที่จะจ่ายเงินของลูกค้า

Ewan McNeill

แบบสำรวจได้ระบุปริมาณความท้าทายต่างๆโดยให้ผู้ทำแบบสอบถามจัดอันดับความกังวล 2 อันดับแรก ดังที่แสดงในรูปภาพที่ 3 โดยรวมแล้วพบว่ามากกว่าร้อยละ 40 ของสัตวแพทย์ทั้งหมดที่ทำแบบสอบถามดังกล่าวระบุว่าการบริหารเป็นปัญหาอันดับ 1 ในขณะที่ร้อยละ 20-40 ระบุถึงปัญหาอื่นๆที่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆของความเครียดที่พบได้ในงาน ซึ่งได้แก่ ปริมาณภาระงานโดยรวมและระดับความเครียด รายได้ที่ค่อนข้างต่ำและการที่ลูกค้าไม่เต็มใจจะจ่ายค่าบริการ รวมไปถึงการมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับเจ้าของสัตว์เลี้ยงซึ่งอาจทำให้เกิดการไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ สัตวแพทย์น้อยกว่าร้อยละ 20 นั้นได้อ้างถึงความสัมพันธ์กับผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ (เช่น เพื่อนร่วมงานในที่ทำงานหรือนักเพาะพันธุ์สัตว์) ความเครียดจากการการุณยฆาตหรือการห่วงความปลอดภัยของตนเองเก็ป็นข้อกังวลหลักด้วยเช่นกัน มีความเห็นพ้องต้องกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสัตว์เลี้ยงว่าการติดต่อหรือมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของบ่อยครั้งเป็นเรื่องที่ยากลำบาก แม้ว่าจะไม่ใช่จุดที่เจ็บปวดอันดับหนึ่งสำหรับทุกคนก็ตาม

โดยสรุปคืออาชีพสัตวแพทย์นั้นจะมีความหลงใหลในเรื่องสวัสดิภาพสัตว์เหมือนกัน แต่ความยากลำบากในการที่จะส่งต่อและทำความหลงใหลเหล่านี้ให้สำเร็จนั้นอาจจะนำไปสู่ความเครียดอย่างมากทั้งต่อบุคคลและทีมงานในคลินิก โดยปกติแล้วสัตวแพทย์มักจะยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลางและให้ความสำคัญกับสถานภาพของตนเองเป็นหลัก รวมถึงสัตวแพทย์หลายๆคนนั้นมีวัฒนธรรมการบริการลูกค้า (customer service culture) ที่ค่อนข้างจำกัด การดำเนินธุรกิจและการติดต่อจัดการกับมนุษย์นั้นไม่ได้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย (comfort zone) ของสัตวแพทย์เสมอไป และสำหรับใครหลายๆคนยุคดิจิทัลก็ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามไม่ใช่โอกาส ข้อสรุปโดยรวมคือพวกเราในฐานะสัตวแพทย์มีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดและไม่สมบูรณ์แบบกับผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก

จุดที่เจ็บปวดอันดับต้นๆที่สัตวแพทย์ต้องประสบเวลามีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า

จุดที่เจ็บปวดอันดับต้นๆที่สัตวแพทย์ต้องประสบเวลามีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า (ข้อมูลจากการสำรวจของ Royal Canin)
(หมวดหมู่; สีชมพู=ความกังวลเรื่องการเงิน สีเทา=ความรู้และสุขภาพ สีขาว=ความสัมพันธ์)

เจ้าของสัตว์เลี้ยง

ก่อนที่พวกเราจะไปไกลกว่านี้ การพิจารณาความเครียดและความกังวลหลักสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยงตามที่เปิดเผยโดยแบบสำรวจนั้นก็ยังเป็นประโยชน์อยู่ เพราะสิ่งสำคัญคือเราเห็นคุณค่าของลูกค้าที่มีความกังวลและมีปัญหาของตนเองซึ่งอาจไม่ค่อยตรงกับปัญหาของสัตวแพทย์สักเท่าไรและไม่ใช่สิ่งที่พวกเราในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสัตว์เลี้ยงอาจจะคิดได้เสมอไป (รูปภาพที่ 4) มีการสำรวจเจ้าของสัตว์ทั้งหมด 800 คนและพบจุดร่วมต่างๆซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทกว้างๆเหมือนกับการสำรวจในสัตวแพทย์ โดยอย่างน้อยที่สุดแต่ไม่ใช่ทั้งหมดก็คือความกังวลของเจ้าของนั้นมีผลกระทบต่อจุดที่เจ็บปวดของวิชาชีพสัตวแพทย์ หนึ่งในประเด็นหลักคือ ร้อยละ 50-70 ของเจ้าของสัตว์ทั้งหมดที่ทำการสำรวจนั้นมีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาสัตว์เลี้ยง (รวมถึงค่าธรรมเนียมแพทย์) ร้อยละ 16 ของเจ้าของที่ถูกถามคำถามดังกล่าวระบุว่าพวกเขาเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับสัตวแพทย์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และเกือบร้อยละ 50 ของประสบการณ์ที่ไม่ดีเหล่านี้เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย (รูปภาพที่ 5) ข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตต่างๆก็เป็นหนึ่งในความกังวลเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ความรู้สึกผิดของเจ้าของเมื่อต้องทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ที่บ้านขณะไปทำงาน รวมถึงความยุ่งยากทั่วไปที่เกิดจากกิจวัตรประจำวันในการเลี้ยงสัตว์อีกด้วย

ความวิตกกังวลอื่นๆ เช่น ความกังวลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงของพวกเขาในช่วงวันหยุด (ไม่ว่าจะเป็นความกังวลเกี่ยวกับการขนส่ง ศูนย์พักพิงสุนัข หรือที่พักในช่วงวันหยุดก็ตาม) ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 30-50 ได้ระบุถึงไว้ ขณะเดียวกันเจ้าของร้อยละ 5-20 ได้กล่าวถึงความรู้สึกผิดจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากสัตว์เลี้ยงหรือความอับอายจากพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง (รวมถึงการร้องเรียนจากเพื่อนบ้าน) (รูปภาพที่ 4)

จุดที่เจ็บปวดอันดับต้นๆที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงได้อ้างถึง โดยจัดแบ่งตามหมวดหมู่

จุดที่เจ็บปวดอันดับต้นๆที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงได้อ้างถึง โดยจัดแบ่งตามหมวดหมู่ ถึงแม้ว่าปัญหาค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสัตว์ซึ่งรวมถึงค่ารักษาพยาบาลจะเป็นปัญหาหลัก แต่ก็ยังมีประเด็นอื่นๆอีกมากมายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสัตวแพทย์ (ข้อมูลจากการสำรวจของ Royal Canin)
(หมวดหมู่; สีชมพู=ความกังวลเรื่องการเงิน สีเทา=ความรู้และสุขภาพ สีขาว=ความสัมพันธ์)

แล้วพวกเราได้อะไรจากการสำรวจเหล่านี้ เนื่องด้วยการเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยง (pet ownership) โดยทั่วไปก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับมนุษย์แล้ว เราในฐานะสัตวแพทย์ควรหยุดและตระหนักว่าการมีสัตว์เลี้ยงนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องตรงไปตรงมาเสมอไป ผลการสำรวจได้ช่วยให้เราเข้าใจในสิ่งที่เจ้าของสัตว์อาจต้องพบเจอทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากการเข้ารับบริการในคลินิก ยกตัวอย่างเช่น ความไม่เข้าใจกันระหว่างสัตวแพทย์ที่รู้สึกว่าเงินเดือนนั้นน้อยเกินไปกับเจ้าของสัตว์ที่รู้สึกว่าการไปคลินิกรักษาสัตว์นั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่จะต้องปรับปรุงการสื่อสารระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายให้ดียิ่งขึ้น

ที่น่าสนใจคือผลการสำรวจได้ระบุถึงมุมมองแง่บวกบางประการที่อาจจะนำมาให้กำลังใจกับผู้ประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ได้ โดยร้อยละ 94 ของเจ้าของนั้นไว้วางใจในสัตวแพทย์ของพวกเขา และร้อยละ 92 รู้สึกพึงพอใจกับบริการที่ได้รับ ถึงแม้ว่าเจ้าของบางคนจะบอกว่าพวกเขาพบว่าสัตวแพทย์มีความหยิ่งยโสและเจ้ากี้เจ้าการ แต่พวกเขาก็มองว่าสัตวแพทย์นั้นมีความรู้ ทั้งนี้เจ้าของไม่เชื่อว่าสถานะของวิชาชีพสัตวแพทย์ในสังคมปัจจุบันกำลังอ่อนแอลง

ร้อยละ 16 ของเจ้าของเคยมีประสบการณ์แย่ๆกับสัตวแพทย์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

รูปภาพที่ 5 ร้อยละ 16 ของเจ้าของเคยมีประสบการณ์แย่ๆกับสัตวแพทย์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยร้อยละ 51 ของเจ้าของที่มีประสบการณ์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านสัตวแพทย์ (ข้อมูลจากการสำรวจของ Royal Canin)

วิถีทางในอนาคต

มักจะมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่านักศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ได้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรของสัตวแพทย์อย่างมากมายที่มหาวิทยาลัยนั้นกลับได้เรียนทักษะอื่นๆที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ถึงแม้จะมีข้อเท็จจริงที่ว่าด้วยวิชาชีพสัตวแพทย์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการรักษาสัตว์เป็นหลักก็ตาม แต่ปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับเจ้าของสัตว์นั้นก็ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสวัสดิภาพสัตว์และเพื่อลดความเครียดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย เพราะฉะนั้นศิลปะของการสื่อสารที่ดีนั้นควรจะเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของหลักสูตรสัตวแพทย์ในระดับปริญญาตรี สัตวแพทย์จึงควรทบทวนทักษะของการสื่อสารที่ดีเป็นประจำและพยายามอย่างหนักเพื่อรักษาและพัฒนาทักษะเหล่านี้ไว้ ความเชี่ยวชาญทางธุรกิจขั้นพื้นฐานและความเข้าใจพื้นฐานว่าการปฏิบัติอย่างไรที่จะได้ผลตอบแทนนั้นก็ดูเหมือนจะเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สัตวแพทย์จะต้องสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับกิจวัตรประจำวันได้ โดยเราสามารถใช้ผลสำรวจเรื่องสิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดสำหรับสัตวแพทย์ (รูปภาพที่ 6) เพื่อเลือกหัวข้อที่ตัวเราได้ระบุเป็นหลัก จากนั้นจึงวางแผนเพื่อลดผลกระทบของปัญหา อีกทั้งยังมีความจำเป็นต่อสุขภาพจิตและร่างกายของเราที่จะต้องรู้วิธีคลายเครียดหากพบว่าตัวเองถูกกดดันจากงานอย่างหนักและสามารถขอความช่วยเหลือจากภายนอกที่เหมาะสมได้เมื่อยามจำเป็น แม้ว่าอาชีพสัตวแพทย์จะมีความก้าวหน้าและสามารถสนับสนุนกันเองได้ แต่ก็เป็นอาชีพที่จำเป็นจะต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาต่อในอนาคตอย่างปฏิเสธไม่ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามการที่สัตวแพทย์แต่ละคนยังมีแนวทางเชิงรับในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงพอ แสดงให้เห็นว่าพวกเราในฐานะสัตวแพทย์ควรที่จะทำงานอย่างแข็งขันเพื่อมองอาชีพของเราในเชิงบวกและพัฒนาแนวทางเชิงรุกเพื่อสุขภาพจิตและร่างกายของพวกเราเองด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาสัตวแพทย์และสัตวแพทย์จบใหม่ควรที่จะตระหนักถึงความเครียดที่มาพร้อมกับงานและควรหาทางป้องกันไม่ให้เกิดจุดที่เจ็บจุดขึ้นดีกว่าที่จะรอให้เกิดจุดที่เจ็บปวดจนกระทบกับงานและก่อให้เกิดปัญหา แต่จำเป็นที่จะต้องมีวิธีการจัดการแบบองค์รวม การตระหนักถึงจุดที่เจ็บปวดที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆประสบนั้นจะช่วยให้สัตวแพทย์แต่ละคนเข้าใจปัญหาบางอย่างได้ดีขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านั้นอาจจะพัฒนาไปสู่ความไม่ไว้วางใจ ความคับข้องใจหรือมีอารมณ์เชิงลบเกิดขึ้นได้

พวกเราควรจะมุ่งเน้นไปที่จุดแข็งของอาชีพและกังวลเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆที่เรามีอิทธิพลเพียงเล็กน้อยให้น้อยลง ยกตัวอย่างเช่น การขายผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงทางออนไลน์นั้นไม่ใช่แหล่งรายได้หลักของเรา และเราไม่ควรที่ต่อสู้กับผู้ค้าที่มีเงินทุนและทรัพยากรในการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นที่น่าสนใจมากเกินไป ในทำนองเดียวกันนั้น เราสามารถตอบโต้ผู้เชี่ยวชาญทางออนไลน์ได้โดยเสนอคำแนะนำทางคลินิกที่ดีและคุ้มค่ากับเงินที่ลูกค้าเสียไป การเน้นไปที่จุดแข็งและทำในสิ่งที่เราถนัดจะช่วยให้เราสร้างความผูกพันระหว่างเจ้าของสัตว์และคลินิกได้เป็นอย่างดี และจะช่วยส่งเสริมความยั่งยืนของบุคคลทั้งภายในสถานพยาบาลสัตว์และภาคธุรกิจ

 แผนภูมิแสดงจุดที่เจ็บปวดที่สำคัญสำหรับสัตวแพทย์ตามที่ระบุได้จากแบบสำรวจ

รูปภาพที่ 6 แผนภูมิแสดงจุดที่เจ็บปวดที่สำคัญสำหรับสัตวแพทย์ตามที่ระบุได้จากแบบสำรวจ โดยมีการจัดอันดับเพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อกังวล 2 อันดับแรก พบว่าร้อยละ 53 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดระบุว่างานด้านบริหารเป็นข้อกังวลอันดับหนึ่งหรือสอง การจัดเป็นหมวดหมู่ยังช่วยให้เราพิจารณาได้ว่าจุดที่เจ็บปวดใดส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเรามากที่สุดและยังช่วยให้เราสามารถหาวิธีที่จะช่วยลดหรือปรับตัวให้เข้ากับปัญหาเหล่านี้ได้ (ข้อมูลจากการสำรวจของ Royal Canin)

สรุป

ท้ายที่สุดแล้วหากสามารถช่วยลดความเจ็บปวดที่สัตวแพทย์ต้องเผชิญได้ก็จะช่วยทำให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีขึ้น บุคคลต่างๆมีความพึงพอใจมากขึ้นและสามารถสื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆได้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเจ้าของสัตว์เลี้ยง มีคนเคยกล่าวว่า “โลกที่เราต้องการในวันพรุ่งนี้เริ่มต้นที่วิธีการทำธุรกิจของเราในวันนี้” พวกเราต้องจดจำแนวคิดของเศรษฐศาสตร์แห่งความสัมพันธ์กันซึ่งก็คือหากเรามีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น เราก็จะได้ประโยชน์ร่วมกัน สิ่งนี้จะนำไปสู่โลกที่ดีขึ้นสำหรับสัตว์เลี้ยงซึ่งก็เป็นเป้าหมายเดียวกันสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับภาคสัตว์เลี้ยงทั่วทุกมุมโลก

ผู้เขียนขอขอบคุณ Yassine El Ouarzazi จาก EoM Solutions สำหรับคำแนะนำและแนวทางในการเขียนบทความนี้

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำเเบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ภายในวันที่ 15 ก.พ. - 15 เม.ย. 2023 ทำเเบบทดสอบ VET-CE
Cara McNeill

Cara McNeill

ดร. MacNeill ได้รับวุฒิการศึกษาด้านสัตวแพทยศาสตร์จาก University of Glasgow และใช้เวลา 5 ปีในการทำงานปฏิบัติงานคลินิกในหลายแขนงก่อนที่จะมุ่งเน้นงานคลินิกสัตว์เล็ก ในขณะนี้เขาเป็นสัตวแพทย์ประจำสถานพยาบาลในศูนย์ราชการของเมือง โดยมีความสนใจพิเศษในด้านรังสีวิทยาและจักษุวิทยา แต่เขาก็ยังหาเวลาที่จะทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทที่เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเชิงธุรกิจตามความต้องการของสัตวแพทย์ เขายังเป็นผู้ร่วมเผยแพร่กับสำนักพิมพ์ระดับมืออาชีพ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าบรรณาธิการของ Veterinary Focus ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา อ่านเพิ่มเติม

Ewan McNeill

Ewan McNeill

ดร. MacNeill ได้รับวุฒิการศึกษาด้านสัตวแพทยศาสตร์จาก University of Glasgow และใช้เวลา 5 ปีในการทำงานปฏิบัติงานคลินิกในหลายแขนงก่อนที่จะมุ่งเน้นงานคลินิกสัตว์เล็ก ในขณะนี้เขาเป็นสัตวแพทย์ประจำสถานพยาบาลในศูนย์ราชการของเมือง โดยมีความสนใจพิเศษในด้านรังสีวิทยาและจักษุวิทยา แต่เขาก็ยังหาเวลาที่จะทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทที่เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเชิงธุรกิจตามความต้องการของสัตวแพทย์ เขายังเป็นผู้ร่วมเผยแพร่กับสำนักพิมพ์ระดับมืออาชีพ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าบรรณาธิการของ Veterinary Focus ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 32.1 เผยแพร่แล้ว 24/10/2023

ระเบียบปฏิบัติในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ ตอนที่ 1

บทความนี้เป็นบทความตอนที่ 1 จากทั้งหมด 2 ตอน โดยผู้เขียนได้พิจารณาถึงระเบียบปฏิบัติในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ และสาเหตุว่าทำไมระเบียบปฏิบัติเหล่านี้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยในการดำเนินกิจการคลินิกรักษาสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดย Philippe Baralon , Antje Blättner และ Pere Mercader

หมายเลขหัวข้อ 32.1 เผยแพร่แล้ว 24/10/2023

ระเบียบปฏิบัติในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ ตอนที่ 2

ในบทความตอนที่ 2 นี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงวิธีการกระตุ้นทีมงานและการประสบความสำเร็จในการออกแบบและใช้ระเบียบปฏิบัติในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์

โดย Philippe Baralon , Antje Blättner และ Pere Mercader

หมายเลขหัวข้อ 32.1 เผยแพร่แล้ว 28/05/2023

การใช้ยาต้านจุลชีพในลูกสุนัขและแมว

เราควรเลือกใช้ยาต้านจุลชีพที่เป็นปัญหาในลูกสุนัขและแมวอย่างไร บทความนี้ J. Scott Weese ได้เสนอคำแนะนำเชิงปฏิบัติสำหรับสถานการณ์ทั่วไปในสถานพยาบาลสัตว์เล็ก

โดย J. Scott Weese

หมายเลขหัวข้อ 32.1 เผยแพร่แล้ว 25/05/2023

ความสำคัญของ DHA ในลูกสุนัข

บทความนี้ถูกเขียนขึ้นโดย Russ Kelley ผ่านการรวบรวมงานวิจัยต่างๆที่มีสมมติฐานว่า กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (DHA) นั้นมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกายอย่างไรบ้าง และเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของโภชนาการสำหรับลูกสุนัข

โดย Russ Kelley